15 ส.ค. 2022 เวลา 07:43 • ท่องเที่ยว
ปราสาทบันทายสรี (Prasat Banteay Srei) ตอนที่ 3
หลังคาซุ้มประตูหน้าบันชั้นที่ 1
เครื่องบนชั้นหลังคาของซุ้มประตูหน้าบันชั้นที่ 1 ที่สลักภาพ "พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ" ชั้นบนจะเห็นเป็นรอยบากของหินเพื่อวางคานไม้ ซึ่งปัจจุบันคานไม้ ผุพังลงไปหมดแล้ว บนคานไม้ คงวางกระเบื้องกาบูหรือกระเบื้องไม้ไผ่ (มีลักษณะเป็นรูปตัวยู) ต่อมาเมื่อไม้ผุหักพังลงมา กระเบื้องก็ตกลงมาแตกด้วย
ผังซุ้มประตูเป็นรูปกากบาท หลังซุ้มประตูเป็นทางดำเนินหรือทางเดินซึ่งสงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์หรือบุคคลชั้นสูง คนธรรมดาใช้ประตูด้านข้าง ทางเดินขนาบไว้ด้วยประติมากรรมรูปเสาหินมีปลายบนเป็นรูปดอกบัวตูมเรียกว่า "เสานางเรียงหรือ เสานางจรัล" (ในโพสต์นี้ไม่ได้ใส่รูป เสานางเรียงไว้) ในภาษาเขมรเรียกว่า "ไนจุมมวล" สันนิษฐานว่า ทำไว้เพื่อบอกขอบเขตทางเดิน ลักษณะเหมือนพัฒนามาจากเสาประดับโคมให้แสงสว่าง
ข้อมูลมาจาก "หนังสือ 30 ปราสาทขอมในเมืองพระนคร โดย ภภพพล จันทร์วัฒนกุล"
ได้ไปเที่ยวที่นี่มาหลายครั้ง ก็ไปถ่ายภาพมาทีละจุดสองจุด อ่านหนังสือเล่มไหนเจอเรื่องอะไร ก็ไปดูใหม่ ไปมาหลายครั้งแล้ว ภาพก็ยังมีได้เรื่อยๆ ปราสาทบันทายสรี เป็นปราสาทขนาดเล็ก แต่ภาพแกะสลักยังคงสวยงาม และมีเรื่องเล่าจากภาพเยอะมาก จริงๆ
จะเขียนเรื่องราว ภาพแกะสลักในปราสาทบันทายสรี ในตอนที่ 4 ต่อไป ค่ะ
หน้าบันภาพ "พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และกรอบหน้าบัน ที่รอยบากหินเป็นร่องเพื่อวางคานไม้ รองรับมุงหลังคากระเบื้อง ที่ปราสาทบันทายสรี
โฆษณา