3 ก.ย. 2022 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แทบทุกคนที่อยู่ในเส้นทางการลงทุนในกองทุนรวมคงเคยเห็นตัวย่อภาษาอังกฤษ 3 ตัวอย่าง NAV กันมาบ้าง
แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า NAV คืออะไร มีวิธีดูอย่างไร แล้วสำคัญยังไงกับนักลงทุนอย่างพวกเราบ้าง
1
NAV คืออะไร ดูยังไง?
เราเลยจะพาไปดูกันว่า NAV คืออะไรกันแน่ แล้วเรามีวิธีการดู NAV อย่างไรบ้าง
NAV ย่อมาจาก Net Asset Value หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
คือ มูลค่าทรัพย์สินที่เกิดจากการหักลบกันระหว่าง มูลค่าของสินทรัพย์ที่เราลงทุนอยู่ตามราคาตลาด รวมกับเงินสด และผลตอบแทนสะสมที่กองทุนรวมได้รับจากการลงทุน ลบกับค่าใช้จ่ายและหนี้สินของกองทุนรวมนั้น เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายทะเบียน และค่าผู้ดูแลผลประโยชน์
โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะเป็นผู้คำนวณราคา NAV และเปิดเผยให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปทราบทุกสิ้นวันทำการ เพื่อให้สะท้อนถึงมูลค่าที่เป็นจริงตามสภาวะตลาดที่ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยจะประกาศเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” เราจึงสามารถนำค่า NAV นี้ไปเปรียบเทียบกับมูลค่าต่อหน่วยลงทุนในตอนที่เราเริ่มลงทุน เพื่อดูว่าการดำเนินงานของกองทุนในตอนนี้ได้กำไรหรือขาดทุนได้อีกด้วย
NAV (Net Value Asset)
แล้วเราควรดู NAV ยังไง
ในประเทศไทยของเรา ทุกกองทุนเมื่อเริ่มต้นขายวันแรกจะมี “มูลค่าหน่วยลงทุน” อยู่ที่ 10 บาทต่อหน่วย เท่ากันหมด เพราะฉะนั้นเมื่อค่า NAV ที่ประกาศเมื่อสิ้นวันทำการมีค่าลดลงต่ำกว่า 10 บาทต่อหน่วย ก็แปลว่ากองทุนนั้นมีผลการดำเนินการที่ขาดทุน และในทางกลับกันหากค่า NAV มีค่ามากกว่า 10 บาทต่อหน่วย ก็แปลว่ากองทุนนั้นได้กำไรจากการลงทุนนั่นเอง
1
เพราะฉะนั้นการดูค่า NAV ในการเลือกลงทุนในกองทุนต่างๆ จึงไม่ใช่การมองหากองทุนที่มีค่า NAV ต่ำที่สุด แต่เราจะต้องดูแนวโน้มของค่า NAV จากการลงทุนเป็นหลัก หรือถ้าพูดให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นก็คือถ้ากองทุนไหนมีค่า NAV ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องก็แปลว่ากองทุนนั้นมีผลการดำเนินการที่ขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
การดูค่า NAV
เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NAV
1. เห็นค่า NAV ต่ำๆ ต้องรีบช้อนซื้อเพราะแปลว่าเราได้หุ้นราคาถูก
ซึ่งนั่นอาจทำให้เราขาดทุนเพราะกองทุนกำลังอยู่ในช่วงขาลงก็เป็นได้ เราจึงควรดูแนวโน้มของค่า NAV ย้อนหลังเพื่อประกอบการลงทุน
1
2. กองทุนที่มีค่า NAV สูง จะการันตีว่าผลตอบแทนจากกองทุนนั้นจะสูงตามไปด้วย ซึ่งความจริงค่า NAV ไม่ได้เป็นการการันตีผลตอบแทนแต่อย่างใด แต่แนวโน้มของค่า NAV เป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เราเห็นว่ากองทุนนี้มีการจัดการกองทุนที่ได้กำไรหรือขาดทุนในช่วงเวลานั้น
1
3. ถ้าค่า NAV ลดลง แปลว่ากองทุนนั้นขาดทุน ซึ่งอาจจะไม่เสมอไป เพราะในความเป็นจริงจะมีกองทุนบางประเภทอย่างกองทุนที่จ่ายปันผล ค่า NAV สามารถลดลงได้หลังจากที่กองทุนมีการจ่ายปันผลออกมา เพราะเมื่อกองทุนมีผลกำไร กองทุนก็จะตัดจากมูลค่าหน่วยลงทุนหรือ NAV ออกมาเพื่อจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนซึ่งจะทำให้ค่า NAV ของกองทุนนั้นลดลงนั่นเอง
1
เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ NAV
เพราะค่า NAV ก็ไม่ได้เป็นตัวบอกทุกอย่างของกองทุน
สิ่งที่บ่งบอกว่ากองทุนนั้นคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ และผลการดำเนินงานในอนาคตของกองทุนนั้นจะเป็นอย่างไร ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ของกองทุนนั้นด้วยไม่ว่าจะเป็น
  • นโยบายการลงทุน
  • ความเสี่ยง
  • เงื่อนไขการลงทุน
  • ความน่าเชื่อถือของผู้จัดการกองทุน
  • ไปจนถึงเทรนด์ของสินทรัพย์ที่กองทุนของเราลงทุน
ว่าในช่วงนั้นสินทรัพย์นั้นมีการเติบโตดีหรือไม่ และเป้าหมายในการลงทุนของเรา ว่ากองทุนนั้นตอบโจทย์เป้าหมายการลงทุนของเรารึเปล่า เราถึงจะรู้ว่ากองทุนที่เราจะลงทุนนั้นคุ้มค่าสำหรับเราหรือไม่
เช่นอยากลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีก็ควรมองหากองทุนรวมที่ให้ผลประโยชน์ด้านภาษีอย่างกองทุน SSF หรือ RMF นั่นเอง
แต่ค่า NAV ก็ไม่ได้เป็นตัวบอกทุกอย่างของการลงทุน
ที่สำคัญวันนี้เราสามารถศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการลงทุนในกองทุนได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน K-My Funds ที่ทำได้ทั้งเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชม. พร้อมอัปเดตข่าวสารแวดวงการลงทุนทั่วโลก ช่วยให้การลงทุนง่ายยิ่งกว่าเดิม
📌 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ K-My Funds เพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3IloYVd
📲 สนใจลงทุน เริ่มต้นเพียง 500 บาท ผ่าน K-My Funds ตลอด 24 ชม.
#KAsset #KBankLive
โฆษณา