16 ส.ค. 2022 เวลา 14:15 • ท่องเที่ยว
➡️ พุมเรียง​ ⬅️🔸ผมมาที่วัดธารน้ำไหลหนแรก ก็สมัยที่ท่านพุทธทาส ยังอยู่ &​ แม้ไม่ได้ฟังเทศฟังธรรมอะไร ที่ลานหินโค้ง​ แต่ก็ทันได้กราบท่าน จากนอกกุฎิ ส่วนงานเขียนท่าน ก็พอมีอยู่บ้าง พอกับ CD ที่สะดวกใช้เปิดฟัง​ ตอนขับรถ
▪️
🔸แต่ที่คิดว่าได้ธรรมะ เห็นสัจจะ รู้อนัตตา จากมหาเถระ ผู้ประกาศตนเป็นทาส แห่งพระศาสนารูปนี้ คือคราวได้อ่านพินัยกรรม​​ ซึ่งไม่ต่างการแสดงธรรม​ ในวาระสุดท้าย​ เมื่อปี​ 2536​
▪️
🔸ลงมาใต้ทำธุระหนล่าสุด เป็นธุระ ที่ใช้เวลาเพียงครึ่งวัน ก็ทำได้เสร็จ แถมบินไป​ - บินกลับได้ง่ายๆ แต่ผมเลือก จะใช้เวลา 6 วัน 5 คืน เพื่อใช้เวลาที่เกินมา ได้ไปในหลาย​สถานที่ ที่อยากจะไป ซึ่งรวมถึงชุมชนเล็กๆ ชื่อพุมเรียง ตรงนี้ด้วย​
▪️
🔸ลงรูปสถานที่ๆไป​ เขียนใต้รูปไว้นิดหน่อย ที่เกี่ยวพัน​ &​ มีเรื่องราวของมหาเถระ​ ผู้ถูกยกย่อง ไปทั่วทุกดินแดน ของผู้คนที่รักสงบ​ มีสันติ​ และมีปัญญาด้วย (ทุก) พระศาสนา
▪️
🔸จนถูกเชิดชู​โดย​ unesco ให้เป็นหนึ่งบุคคลสำคัญของโลก​ ทั้งด้านการศึกษา, ศาสนา, วัฒนธรรม และสันติภาพ เป็น​ "คู่มือมนุษย์" เป็น​ "ตัวกูของกู" เป็น​ "สวนโมกข์ ทำไม สวนโมกข์" เป็นพระธรรมโกศาจารย์ เป็นพุทธทาสภิกขุ​
▪️พระบรมธาตุไชยา▪️
🔸หมายเหตุ : สำหรับผู้สนใจ​ ในงานเขียน​ บทธรรมะ & พินัยกรรม​ รวมถึงขั้นตอนปฎิบัติไปตามพินัยกรรม​ ของท่าน​พุทธทาส หาอ่านได้ทั่วไป​ ตามสื่อสาธารณะ.
▪️
⬆️ อาคารไม้ 2 ชั้น ในตลาดอำเภอพุมเรียง จ.สุราษฎร์ธานี หลังนี้ คือบ้านเกิดของ “เงื่อม พานิช” หรือต่อมาคือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ปัจจุบันเปลี่ยนมือ จากคนในสกุลพานิช ไปนานแล้ว
▪️
⬆️ อาคารเรียน​ใน​วัดโพธาราม (วัดเหนือ) อ.พุมเรียง อดีตสถานที่ร่ำเรียนของ “เงื่อม พานิช” (พุทธทาส อินทปญฺโญ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จฯวัดนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2432 ก่อนเสด็จฯ​ ประพาสมลายู รวมถึงที่เจ้าฟ้าภาณุรังสี ฯ เคยเสด็จมาก่อนหน้า ในปี พ.ศ. 2427 เป็นอีกหลักฐาน​แสดงให้เห็นถึง ความสำคัญของไชยา
▪️
⬆️ วัดอุบล (วัดนอก) อ.พุมเรียง สถานที่อุปสมบท ของท่านพุทธทาส เมื่อปี พ.ศ.2469​ ... วัดอุบล​ เป็นวัดเก่าจากสมัยอยุธยา คราวสงคราม 9 ทัพ​ ที่พม่าเข้าตีหัวเมืองทางใต้ ซึ่งรวมถึงไชยา​ ชาวเมืองได้ใช้​ วัดอุบล​ตรงนี้ เป็นที่ปักหลักต่อสู้ และเมื่อพม่าจับชาวบ้าน​ และพระสงฆ์ได้ ก็นำไปขังไว้​ ในพระอุโบสถวัดพุมเรียง ที่อยู่ติดกัน แล้วจุดไฟเผา เมื่อสงครามสงบ ชาวบ้านได้นำเถ้ากระดูก ในพระอุโบสถวัดพุมเรียงนั้น มาบรรจุไว้​ ในเจดีย์หน้าพระอุโบสถ​ วัดอุบลตรงนี้
▪️
⬆️ วัดพุมเรียง (วัดใหม่) เป็นวัดที่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน ในสงคราม 9 ทัพ (สมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อพม่าจับชาวบ้าน และพระสงฆ์ได้ ก็จับขังไว้ ในพระอุโบสถนี้ และเผาเสียทั้งหมด​ รวมถึงส่วนอื่น​ๆภายในวัด ที่ถูกเผาทำลายลง​... เมื่อสงครามสงบ ชาวบ้านได้ร่วมกัน ซ่อมสร้าง​ และบูรณะวัดขึ้นใหม่ จนได้รับพระราชทาน​ วิสงคามสีมา ในเวลาต่อมา สมัยรัชกาลที่ 3
▪️
⬆️ มีเจดีย์สีทอง วัดพุมเรียง​ ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ต่างเจดีย์บรรจุกระดูกชาวบ้านแห่งพุมเรียง ที่วัดอุบล ส่วนรอบพระอุโบสถ นอกจากจะมีพระบรมธาตุไชยาจำลองแล้ว ยังมีเจดีย์บรรจุอัฐิ​ อื่นๆอีกมาก รวมถึงเจดีย์เก็บอัฐิ ของพระครูยาภิวัฒน์ อาจารย์ผู้สอนบาลี ให้แก่ท่านพุทธทาส และที่วัดพุมเรียงนี้เอง เมื่อท่านพุทธทาสได้อุปสมบทจากวัดอุบลแล้ว ก็มาจำพรรษา อยู่ที่วัดพุมเรียงแห่งนี้
▪️
⬆️ สังคมของชาวพุมเรียง ที่ไชยาตรงนี้ เป็นสังคมที่เกื้อกูล สงบสุขกันมายาวนาน ภาพวัดพุทธ ตั้งอยู่คนละฟากถนนกับมัสยิดมุสลิม ก็เป็นภาพคุ้นตา ภาพเด็กหญิงสาวมุสลิมสวม “กาเฮงกลูบง หรือฮิญาบ เป็นเพื่อน​ เดินมากับเด็กนักเรียนพุทธ ก็เป็นอีกเรื่องชินตา ซึ่งรวมถึงผ้าไหมแห่งพุมเรียง ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นผ้าพุมเรียง ที่ยืนอยู่ในระดับแถวหน้า ของผ้าไหมชนิดดีของไทย​
▪️
⬆️ ไชยา​เป็นเมืองใหญ่​ และไม่ใช่ใหญ่อยู่แค่แถวนี้​ เพราะนี่คืออดีตศูนย์กลาง ของอาณาจักรศรีวิชัย​ ครอบคลุมพื้นที่​ ไปทั้งมลายู​ ถึงเตมาเส็กสิงค์โบร์ จนถึงสุมาตรา
▪️Fort Canning Singapore▪️
⬆️ ผมเคยเห็น ป้ายเหล็กเขียนรายละเอียด ติดไว้ที่ป้อมปราการโบราณ​ ที่ถูกป้อมปืนฝรั่งอังกฤษ​ สร้างทับไว้ ที่​ Fort Canning ท้ายเกาะสิงค์โปร์ เขียนไว้ชัดว่า​ นี่คือ​ ancient canning belong to Srivijaya (Siam)​ และเพื่อนชาวสิงค์โปร์ ที่พาผมขึ้นมาดู บอกมาสั้นๆว่า "นี่คือหลักฐานเดียว ที่สิงคโปร์ยอมรับว่า เคยอยู่ใต้การปกครองของสยาม (ศรีวิชัย)
▪️
⬆️ กลุ่มนักเรียน ขณะฟังธรรม บริเวณลานหินโค้ง​ @ สวนโมกขพลาราม เป็นกิจกรรมทางศาสนา ที่คนรุ่นหนึ่ง สนับสนุน & ส่งเสริม ให้คนอื่นรุ่นหนึ่ง ได้รับรู้ถึงแก่นธรรม​ เพื่อเป็นประโยชน์ เป็นปัญญา​ ใช้ประคับประคอง​ ใช้ป้องกันกายใจตัว ในวันหน้า เมื่อเติบโต
▪️
▪️
📸 All Photos ▪️ by Tui Kajondej
ภาพถ่ายต่างกรรมต่างวาระ
⭕ หน้ากาก Trump
⭕ อังกฤษ & Royal Thai Embassy
🌸 เขียนทุกเรื่องด้วยความสนุก เพื่อความสุขของผู้เขียน และไว้สะสมเรื่องเขียน ในมุมสนุกตรงนี้ 🌸

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา