Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
16 ส.ค. 2022 เวลา 16:47 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#ไม่มีเต้านมไม่เป็นมะเร็งเต้านม
สวัสดีครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ หมอมีเรื่องราวเกี่ยวกับการผ่ตัดเอาเต้านมออกทั้งหมดเพื่อป้องกันการเป็นมะเร็งเต้านมมาฝากทุกคนกันครับ
วันหนึ่งที่หมอออกตรวจคนไข้ตามปกติ มีคุณยายท่านหนึ่งบอกหมอว่า “ยายกลัวการเป็นมะเร็งเต้านมมากๆ อยากให้ผมอช่วยผ่าตัดเอาเต้านมทั้งสองข้างออกให้หน่อย ยายจะได้ไม่เป็นมะเร็งเต้านม” คุณผู้หญิงบางท่านก็คงมีความคิดแบบนี้อยู่ใช่ไหมครับ งั้นวันนี้เรามาคุยกันว่า เมื่อไรที่เราจะต้องผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้ง2ข้างเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม แล้วคนทั่วๆไปต้องผ่าตัดแบบนี้ไหม เรามาคุยกันครับ
การผ่าตัดเต้านมสออกทั้ง2ข้างเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม เราเรียกว่า PROPHYLACTIC MASTECTOMY เป็นการผ่าตัดเอาเต้านมออกทั้งสองข้างในคนไข้กลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม เนื่องจากคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมสูงในชั่วชีวิตของเธอ
คนไข้ที่มีความเสี่ยงที่สามารถเข้ารับการผ่าตัดตัดเต้านมออกเพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม มีดังนี้
1.มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวสายตรง เช่น ยาย แม่ ลูกสาว พี่สาว โดยเฉพาะถ้าญาติที่เป็นเกิดโรคมะเร็งตอนอายุน้อยกว่า40ปี
2.ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1, BRCA2, PALB2, CDH1, PTEN, TP53 ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคต
3.เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน โดยคนไข้กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้างสูงกว่าปกติอย่างมาก
4.เคยได้รับรังสีรักษาเพื่อรักษาโรคที่บริเวณทรวงอกในช่วงอายุ น้อยกว่า 30 ปี
5.มีการกระจายตัวของหินปูนเต้านมมากมายทำให้สามารถแยกได้ยากระหว่างหินปูนปกติและหินปูนที่เป็นมะเร็งเต้านม
โดยข้อดีของการผ่าตัด PROPHYLACTIC MASTECTOMY นี้คือ
1.ลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม – เพราะไม่มีเต้านมแล้ว
2.สามารถแก้ไขทรงเต้านมที่ผิดปกติได้ เนื่องจากการผ่าตัดเอาเต้านมออกจะต้องได้รับการเสริมสร้างเต้านมใหม่หลังผ่าตัดเพื่อความสวยงาม
3.ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการคัดกรองมะเร็งเต้านมอีกต่อไป – เนื่องจากไม่มีเต้านมแล้ว
และข้อเสียของการผ่าตัดก็มีดังนี้
1.ไม่ได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตเมื่อเทียบกับคนปกติ
2.ชาที่หน้าอกหลังผ่าตัด
3.พักฟื้นหลังผ่าตัดค่อนข้างนาน
4.เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น แผลอักเสบติดเชื้อ น้ำเหลืองคั่ง เลือดคั่ง เส้นประสาททรวงอกบาดเจ็บ เป็นต้น
ถ้าคุณมีความเสี่ยงอย่ารอช้า
รีบเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาแนวทางการรักษา
ก่อนที่คุณจะเป็นมะเร้งเต้านมนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
ไลฟ์สไตล์
สุขภาพ
เรื่องเล่า
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าเรื่องมะเร็งเต้านม
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย