Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จิด.ตระ.ธานี #ให้ภาพเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
16 ส.ค. 2022 เวลา 17:15 • ปรัชญา
#ธรรมะชิวๆ : อริยสัจ 4 อธิบายแบบง่าย สไตล์ จิด.ตระ.ธานี
#อริยสัจสี่ ประกอบด้วย 1. ทุกข์ 2. สมุทัย 3. นิโรธ 4. มรรค เป็นหนทางหลักและหนทางสำคัญที่นำไปสู่ #การดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา แต่....จำเป็นต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า แต่ละคำๆ หมายถึงอะไรกันแน่ ขออธิบายง่ายๆ แบบที่ผมพอเข้าใจนะครับ
#ทุกข์ : อะไรคือทุกข์? หลายคนคงมีนิยามเกี่ยวกับความทุกข์กันไปหลากหลายแบบ (เพราะในโลกนี้ คงไม่มีใครหรอกที่ไม่เคยทุกข์ จริงมั้ย?) แต่คำสอนของพระพุทธองค์ จงใจชี้เฉพาะเจาะจงลงไปเลยว่า ตัวทุกข์จริงๆ ก็คือ กาย กับ ใจ ของเรานี่แหละ ที่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ของแท้เลย
#สมุทัย : ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะยังมีความหลงผิด (ภาษาพระเรียกว่า #อวิชชา แปลง่ายๆ ว่า “ความไม่รู้วิชา” แล้วไม่รู้วิชาอะไร? ก็ไม่รู้วิชาที่พุทธองค์สอน เรื่องการดับทุกข์ไงล่ะ) ทำให้คิดว่า กายนี้ ใจนี้ คือของดีของวิเศษ จึงหลงสร้าง #ตัณหา (แปลว่า ความอยาก) ขึ้นมา เพื่อให้กายและใจนี้มีความสุข บลาๆ
แต่...เพราะกายและใจนี้ มันเป็นทุกข์ด้วยตัวของมันเอง ไปทำให้สุขถาวรไม่ได้หรอกครับ ได้ก็แค่ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็เวียนกลับมาทุกข์อีก ซึ่ง “ความอยากนี้” เป็นต้นเหตุของการก่อภพก่อชาติ วนเวียนไปเรี่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้นสักที
#นิโรธ : คือการดับทุกข์ หากสามารถดับเหตุของการเกิดตัณหาได้ ทุกข์ก็จะดับลงไปเอง ด้วยวิธีการคือ อาศัยศึกษาลงไปให้ลึกซึ้งจนถึงแก่นแกนไปเลยว่า กายนี้ ใจนี้ มันเป็นของดีของวิเศษจริงๆ หรือไม่ แต่.....เอาจริงๆ นะ สุดท้ายสิ่งที่คนเราหลงรักมากที่สุดก็คือ “ใจ” ไม่ใช่กายหรอก
เคยฟังครูบาอาจารย์ท่านเล่าให้ฟัง เรื่องคนที่ป่วยหนักมากๆ จนไม่อยากจะเอากายนี้ไว้แล้ว เพราะมันเห็นโทษ มันทรมาน อยากจะทิ้งไปเสียดื้อๆ ไม่อยากเก็บไว้ทำยาอีก เป้าหมายก็เพื่อให้ใจเป็นอิสระ มีความสุข เพราะยังหลงเชื่อว่า หากกายนี้สูญสลายลงไปแล้ว ใจจะเป็นอิสระและมีความสุขทันทีเมื่อนั่น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างมากเลยหนา...ออเจ้า
เพราะสิ่งที่สร้างกายขึ้นมาคือ “ใจ” จ้ะ เหตุเพราะใจยังมีความทะยานอยาก ก็จะสร้างรูป (คือกาย) ใหม่ๆ ขึ้นมาอีกเรื่อยๆ
#มรรค : แปลว่า “ทาง” #มรรคมีองค์แปด จึงแปลว่า “ทางทั้ง 8” นั่นเอง สรุปรวมๆ คือการดำรงชีพด้วยกาย วาจา และใจ ที่ดี ที่งาม ที่ชอบ (คือไม่ผิดศีลธรรม และมีใจตั้งมั่นแน่วแน่ เพื่อมุ่งไปสู่การดับทุกข์นั่นเอง) เรื่ององค์มรรคทั้ง 8 นี่ ครูบาอาจารย์ท่านเคยพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า เหมือนกับแมงมุมมี 8 ขา ต้องเดินไปพร้อมๆ กัน ถึงจะเดินได้สะดวก จริงไหม? จะขาดขาข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้
ท่านยังพูดอีกว่า #สัมมาสมาธิ (คือสมาธิที่ปฏิบัติถูกต้อง ตามหลักวิปัสสนา) จะเหมือนกับภาชนะ เพื่อให้องค์มรรคทั้ง 7 ที่เหลือ ได้รวมอยู่ในที่เดียวกัน จนสามารถเกิดพละกำลังขนาดใหญ่ ทำลายล้างกิเลสให้ทะลุทะลวงลงไปได้ โดยต้นตอของกิเลสที่ว่า ก็คือตัณหาหรือความอยาก นั่นเองจ้ะ
จริงๆ ที่พุทธศาสนามีคำสอนแยกย่อยอะไรต่างๆ ลงไปมากมาย ก็เพื่อให้สอดคล้องกับจริตของแต่ละคน แต่เรื่องสำคัญที่สุดที่เป็นหัวใจเลยก็คือ ต้องเข้าใจให้ได้ก่อนว่า อะไรคือตัวทุกข์ที่แท้จริง (เฉลยคือ กาย+ใจ ที่พวกเราแบกๆ กันไว้นี่แหละ ข้อเท็จจริงคือทุกข์โคตรๆ) และอะไรคือหนทางสู่การดับทุกข์ได้อย่างสนิทสิ้นเชิง แบบไม่ให้มีเหลือเชื้อใดๆ กลับมาปะทุได้อีก
มีประโยคนึงที่ผมชอบ ตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้และสามารถประหารกิเลสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว ท่านอุทานขึ้นว่า นี่แน่ะ!.. #นายช่างปลูกเรือน (หมายถึง ตัณหา) เรารู้จักท่านอย่างลึกซึ้งดีแล้ว ต่อไปนี้...ท่านจะไม่สามารถปลูกเรือน (ในใจ) เราได้อีก (หมายถึง เมื่อช่างปลูกเรือนคือตัณหา ได้ถูกเราค้นพบจนเปิดเผยตัวตนอย่างล่อนจ้อนแล้ว เรารู้ทันหมดทุกๆ กระบวนท่า ทำให้ช่างนั้นจะไม่สามารถปลูกเรือนได้อีกต่อไป คือถูกไล่ตะเพิดไปเรียบร้อย) จำได้ไม่ครบทุกๆ คำนะครับ แต่คร่าวๆ ก็ประมาณนี้
อีกเรื่องที่อยากฝากไว้คือ ตัณหา (หรือความอยาก) ซึ่งเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งปวง ไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง แต่..ถูกเราหลงสร้างขึ้นมาด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) คำพูดที่ว่า ทำลายตัณหา ฆ่าตัณหา อะไรๆ ทำนองนี้ เป็นการเปรียบเทียบเชิงอุปมาเท่านั้น เหมือนกับเมื่อความสว่างได้สาดแสงลงมาเมื่อใด ความมืดที่เคยมีอยู่ ก็อันตรธานไปเท่านั้นเอง จึงเกิดสำนวนว่า #ขี่กวางตามหากวาง หมายถึงยิ่งพยายามวิ่งไล่ไขว่คว้าหาว่า ตัณหาๆ มึงอยู่ไหนๆ กูจะไปฆ่ามึ้งงงงง..... หาไปจนสุดหล้าฟ้าเขียว สุดขอบจักรวาล ยังไงๆ ก็ไม่มีทางเจอหรอก
มีแต่จะต้อง....เข้าไปสำรวจภายในกาย ภายในใจของตัวเราเองนี้แหละ ที่ดัน...หลงสร้างตัณหาขึ้นมาเอง (เพราะความโง่) ถึงจะเจอ สำคัญคือต้องใช้กำลังของปัญญาในการค้นหา .....ไม่ใช่วิธีการคิดๆ เอานะ แต่ต้องใช้ปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนา ที่อยู่เหนือพ้นจากความคิดขึ้นไป บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็เรียกว่า “ตัวรู้” มั่งหรือ “ผู้รู้”
เราจะใช้ “ผู้รู้” นี้เพื่อทำความรู้จักตัณหาให้ลึกซึ้งลงไปว่า มันคืออะไรกันแน่ (สมมุติว่า “ตัณหาเป็นช่างไม้” เราก็ต้องรู้จักลงไปให้หมดจดเลยว่า ช่างไม้เลือกใช้ไม้อะไร จากป่าไหน ใช้อายุไม้เท่าไหร่ มีวิธีเข้าไม้ ใสไม้ ทาสี ตอกตะปู วางโครงสร้างอะไรยังไง ถึงจะประกอบขึ้นมาเป็นเรือนได้ คือต้องรู้จักทุกๆ อย่างให้หมดจดจริงๆ) บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็ว่า นิพพานก็อยู่ตรงปลายจมูกนี่แหละ แต่...ทำไมน้อ? กี่หมื่นปี กี่แสนชาติ ก็ยังไม่เคยเห็น
จู่ๆ ที่โผล่มาเล่าเรื่องอริยสัจ 4 เพราะเห็นข่าวที่ชวนหงุดหงิดอีกแล้ว (คือผมยังไม่บรรลุใดๆ ทั้งสิ้นนะครับ เป็นคนธรรมดาๆ ที่ถูกกิเลสโจมตีอยู่ทุกวัน) เพราะวันอังคารที่ 16 ส.ค. 2565 ผู้นำประเทศ ได้โชว์ความท็อปฟอร์มแบบจั๊ดง่าว.ว.ว....อีกแล้ว จากการตอบคำถามผู้สื่อข่าวหลังประชุม ครม. ประเด็นเรื่อง ค่าไฟแพง ข้าวของแพง ในยุคนี้ว่า
“คือมันขึ้นก็ต้องขึ้น มันขึ้นจากอะไร ก็ไปดูสาเหตุ ไปดูสาเหตุแห่งปัญหา ไปศึกษาธรรมะซะบ้าง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เรียนซะบ้าง”
คือ.......มันเกี่ยวอะไรกันฟร่ะ? กับ อริยสัจ 4 (ลองไล่อ่านทวนที่ผมอธิบายมาข้างต้นนะครับ) ถึงพุทธจะใช้หลักแบบวิทยาศาสตร์ในการอธิบายการแก้ปัญหาคือ ต้องหาต้นตอให้เจอเสียก่อนถึงจะดับปลายเหตุลงได้ แต่....มันเป็นเรื่องปัจเจก แถมยังเน้นเรื่องสติปัญญาเพื่อดับทุกข์จากภายในอีก
แต่ปัญหาปากท้อง ความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจในการแก้ปัญหาสิ มันถึงจะเข้าเรื่องกัน คือ...ยิ่งฟังยิ่งมวนท้องว่า...มันออกมาจาก “ปากของผู้นำสูงสุดของประเทศ” ได้ยังไง? เหมือนเราถามไก่..แต่ได้คำตอบแบบวัวๆ แบบนี้ แล้วมันจะรอดมั้ย? เวรกรรมแท้...น้อ
จิด.ตระ.ธานี : #เล่าสู่กันฟังนะครับ
#Jitdrathanee
ที่มาโพสต์ต้นเรื่อง PPTV :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/posts/pfbid02a9XqoEQrCJnCnU2QgMARG13zHh7Fpcqv5nkcLugiRFQgMXnnDuEbaWCGWE8a3ExDl
facebook:
www.facebook.com/jitdrathanee
Youtube:
www.youtube.com/Jitdrathanee?sub_confirmation=1
instagram:
www.instagram.com/jitdrathanee
twitter:
https://twitter.com/jitdrathanee
website:
www.jitdrathanee.com
blockdit:
www.blockdit.com/jitdrathanee
ธรรมะ
ทุกข์
พุทธศาสนา
3 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าสู่กันฟังนะครับ
3
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย