17 ส.ค. 2022 เวลา 04:59 • ความคิดเห็น
20 ข้อการทำงานบนเครื่องบินจากภาพยนตร์ “Emergency Declaration”
1
ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำการบ้าน ศึกษาสภาพการทำงานบนเครื่องบินได้ดีทีเดียว อาจจะมีรายละเอียดยิบย่อยที่ต่างออกไปจากความเป็นจริงอยู่บ้าง
4
เรามาดูกันค่ะว่าในภาพยนตร์ได้นำเสนอภาพการทำงานแบบใดบ้าง
1
1. ทันทีที่ลากกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน ลูกเรือมักจะกวาดตาดูความเรียบร้อยและสิ่งแปลกปลอมตามทางเดินบนเครื่องบินโดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเที่ยวบิน
2
2.การสื่อสารคือหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม
ก่อนทำการบินกัปตันต้องบรีฟเรื่องเส้นทางการบินและสภาพอากาศทุกครั้ง ในภาพยนตร์กัปตันได้อธิบายเรื่องการเตรียมน้ำมันสำรอง และการหลบหลีกสภาพอากาศแปรปรวนให้หัวหน้าลูกเรือฟัง เพื่อที่ว่าลูกเรือจะได้วางแผนจัดเตรียมการบริการได้เหมาะสม
3. ก่อนปิดประตูเครื่องบินต้องคอนเฟิร์มจำนวนผู้โดยสารทั้งหมดกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้โดยสารทุกคนอยู่บนเครื่องบินแล้ว
หากมีกรณีที่ผู้โดยสารมาไม่ทัน หรือว่ามาแต่เปลี่ยนใจไม่เดินทาง เจ้าหน้าที่ต้องนำสัมภาระของผู้โดยสารคนนั้นออกจากใต้ท้องเครื่อง ซึ่งอาจทำให้เที่ยวบินล่าช้าขึ้น แต่ก็เพื่อความปลอดภัยของทุกคนนั่นเอง
2
4. ในไฟลท์ที่มีชั่วโมงบินยาวนาน ระหว่างไฟลท์ต้องมีการจัดแบ่งเวลาพักบนเครื่องบิน เพื่อป้องกันอาการอ่อนล้าอันนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยทางการบิน
เนื่องจากชั่วโมงบินจากสนามบินอินชอนไปยังฮาวายใช้เวลายาวนาน ดังนั้นหลังจากเครื่องบินไต่ระดับไปถึงระดับที่ปลอดภัย นักบินคนหนึ่งจึงลาไปพัก
5. นักบินรับประทานอาหาร “คนละเมนู” เพื่อป้องกันการเกิดอาหารเป็นพิษจากอาหารเมนูเดียวกัน
4
โดยมากกัปตันมักได้รับเกียรติให้เลือกเมนูก่อนใคร
6. โดยทั่วไปนักบินจะ “สลับกัน” รับประทานอาหาร ไม่รับประทาน “พร้อมกัน” แบบที่เห็นในภาพยนตร์ เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมการบิน
7. วิธีการส่งถาดอาหารให้นักบินที่ถูกต้อง จะต้องส่งจากทาง ”ด้านข้าง” ฝั่งที่ติดกับหน้าต่างเครื่องบิน เนื่องจากพื้นที่ตรงกลางระหว่างที่นั่งนักบินนั้นมีแผงควบคุม จึงต้องระมัดระวังไม่ให้มีอาหารตกหล่น โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่อาจทำให้แผงควบคุมช็อตเสียหาย
2
Flight Global
8. ในบางสายการบิน ระหว่างไฟลท์นักบินจะไม่เปิดเผยตัวตนในชุดยูนิฟอร์มเมื่อออกมาจากห้องนักบิน โดยมักถอดสัญลักษณ์ขีดแสดงตำแหน่งที่บ่า หรือสวมเสื้อคลุมทับ เพื่อความปลอดภัยจากการโจมตีไฟลท์ด้วยการทำร้ายนักบิน
9. หลังเหตุการณ์ก่อการร้าย 911 ประตูห้องนักบินต้องถูกล็อคอัตโนมัติจากด้านในเสมอ แต่ในกรณีฉุกเฉิกเช่น นักบินหมดสติไม่ตอบสนอง ลูกเรือสามารถปลดล็อคประตูห้องนักบินจากด้านนอก ดังที่เราเห็นเพียงครู่หนึ่งในภาพยนตร์
10. หลังจากเหตุการณ์นักบินเยอรมันวิงส์ล็อคประตูจากด้านใน ก่อนนำเครื่องบินโหม่งโลกเสียชีวิตยกลำ หลายสายการบินได้ปรับกฎใหม่ ห้ามนักบินอยู่เพียงลำพังในห้องนักบิน หากมีนักบิน 2 คนแล้วคนหนึ่งต้องการเข้าห้องน้ำ ต้องเรียกลูกเรือเข้าไปนั่งด้านในจนกว่านักบินจะกลับมา
เนื่องจากการปลดล็อคจากทางด้านนอกนั้น สามารถถูกยกเลิกได้จากนักบินที่นั่งควบคุมอยู่ด้านใน
1
ปัจจุบันบางสายการบินได้ยกเลิกกฎนี้ไปแล้ว โดยปรับให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
11. ห้ามนักบินทิ้งห้องนักบินให้ว่างเปล่า แม้จะขับเคลื่อนด้วยระบบ Auto pilot
12. หากมีนักบินเหลือเพียงคนเดียว ต้องตามหา qualified pilot ที่มีบนเครื่องมาช่วยทำการบิน หรือเตรียมนำเครื่องบินลงจอดฉุกเฉินให้เร็วที่สุด ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละสายการบิน
1
13. มีห้องนอนสำหรับลูกเรือและนักบินอยู่บนเครื่องบินซึ่งแยกส่วนกัน ส่วนภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์นั้นเป็นการจำลองห้องนอนของลูกเรือบนเครื่องบินแบบโบอิ้ง 777
1
KLM Boeing777-300 crew rest
14. ลูกเรือสามารถ “ปฏิเสธ” การให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสารได้ เพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อยในห้องโดยสารดังที่เห็นในภาพยนตร์
หากผู้โดยสารเมาจนคุมสติไม่อยู่…
อาจเกิดเหตุการณ์ในข้อ 15 ตามมา
15. บนเครื่องบินมีอุปกรณ์ควบคุมผู้โดยสารที่ไม่ปฏิบัติตามกฎอย่างร้ายแรงและถูกประเมินว่าเป็นอันตรายต่อเที่ยวบินรวมถึงสวัสดิภาพของคนในไฟลท์
สิ่งนั้นคือ กุญแจมือหรือ restraint device ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายการบิน
ก่อนใช้งานต้องได้รับอนุญาตจากกัปตัน ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครอยากใช้งานอุปกรณ์นี้ การปะทะระหว่างการเข้าคุมตัวอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ อีกทั้งยังมีระเบียบปฏิบัติอื่นๆตามมาจนกว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นที่ปลายทาง เช่น ล็อคแล้วจะไม่มีการปล่อย ผู้ถูกคุมตัวจะไม่ได้รับอาหารและเครื่องดื่มตลอดไฟลท์ เป็นต้น
1
16. ปัจจุบันมีการให้บริการ wifi บนเครื่องบินในหลายสายการบิน ซึ่งมีราคาแพงมากดังที่ผู้โดยสารในภาพยนตร์ได้กล่าวไว้
บางสายการบินคิดราคาตามชั่วโมง
บางสายการบินคิดตามจำนวนดาต้าที่ใช้
ถ้าไม่เร่งด่วนมาก ดูหนังฟังเพลง นอนพักผ่อน
รอไปต่ออินเตอร์เนตที่ปลายทางน่าจะดีกว่า
2
17. บนเครื่องบินมียา/อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เช่น stethoscopeหรือหูฟังแพทย์ สายสวน อุปกรณ์ทำคลอด เข็มฉีดยา และยาสำหรับฉีด
1
ซึ่งหากไม่ใช่ Epipen การใช้เข็มฉีดยาต้องจะกระทำ
”โดยแพทย์” เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีเครื่องกระตุกหัวใจAEDและถังออกซิเจนสำหรับปฐมพยาบาล ในภาพยนตร์มีฉากที่พระเอกถามหัวหน้าลูกเรือว่าบนเครื่องนี้มีออกซิเจนทั้งหมดกี่ถัง
18. การควบคุมสติของลูกเรือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้โดยสารมักจะวิเคราะห์สถานการณ์จากการอ่านสีหน้าของลูกเรือก่อนใคร ในภาพยนตร์จะเห็นว่าหัวหน้าลูกเรือกำชับให้ลูกเรือทุกคนเก็บสีหน้าท่าทางไม่ให้ผู้โดยสารเป็นกังวล
19. นักบินถูกฝึกมาให้ตัดสินใจและแก้ไขเหตุการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้ทุกคนในเที่ยวบินปลอดภัยมากที่สุด เช่น
การควบคุมเครื่องบินที่ประสบปัญหากลางอากาศ การนำเครื่องลงจอดในสภาวะไม่ปกติ
การเลือกสถานีปลายทางที่เหมาะสมสำหรับเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการตัดสินใจว่าจะอพยพหรือไม่อพยพออกจากเครื่องบิน
20. การสั่นสะเทือนเกิดขึ้นในทุกเที่ยวบิน แตกต่างกันที่ระดับความรุนแรง อาจจะเบาจนไม่รู้สึกถึงอันตราย หรืออาจจะกระเด้งรุนแรงจนไม่สามารถทรงตัวยืนอยู่ได้
ดังนั้นการเก็บสัมภาระในล็อคเกอร์ที่กำหนดไว้ รวมถึงการรัดเข็มขัดนิรภัยไว้ตลอดเวลา สามารถป้องกันการบาดเจ็บอันเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน หรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้เครื่องบินสูญเสียการควบคุม
1
และนี่ก็คือส่วนหนึ่งที่เห็นในภาพยนตร์ Emergency Declaration ภาพยนตร์ระทึกขวัญที่เล่นกับจิตใจคน ชวนลุ้นจนแทบนั่งไม่ติดตลอดการรับชม
บอกเลยว่าคุ้มค่าตั๋ว
รีบไปดูก่อนหนังออกจากโรงภาพยนตร์นะ
1
สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ
โฆษณา