17 ส.ค. 2022 เวลา 04:35 • การศึกษา
"Lean Process" เมื่อกระบวนการทำงานปราศจากไขมันส่วนเกิน !!
สวัสดีค่ะ ห่างหายกันไปนาน เพราะแอดกำลังมุ่งมั่นออกกำลังกายอยู่ 555
เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายแล้ว ก็มักจะนึกถึงคำว่า ลีน / ฟิต / เฟิร์ม /กระชับ ให้หุ่นสวยปราศจากไขมัน รูปร่างเพรียวลม แข็งแรง
กระบวนการทำงาน หรือ Business Flow ก็เช่นเดียวกัน !!
คำว่า "ลีน" หรือ "Lean" ในที่นี้ ในด้านธุรกิจ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า "Lean Management" มักจะคุันหูในแวดวงอุตสาหกรรมกันเป็นอย่างดี
Lean Management : คือ การพัฒนากระบวนการทำงานให้มีแต่ขั้นตอนงานที่สำคัญ ลดงานที่ไม่จำเป็น และงานเพิ่มต้นทุนลง เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และส่งมอบสินค้า บริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
ระบบ Lean เริ่มต้นมาจาก Toyota Way เป็นเทคนิคที่ใช้กำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการผลิต โดยเน้นไปที่การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
นอกจากนี้ ระบบ Lean ยังช่วยพัฒนาเป้าหมายองค์กร / คน และ กระบวนการทำงาน อีกด้วย
จะเห็นว่าการพัฒนา 3 ปัจจัยนี้ เป็นพื้นฐานของ Operational Risk ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจาก คน (People) กระบวนการ (Process) ระบบงาน (System)
https://cio-wiki.org/wiki/File:Operational_Risk_Events.png
หลายๆครั้ง Incident หรือ Loss ที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน มีขั้นตอนที่ละเอียดยิบย่อย ส่งผลให้พนักงานไม่เข้าใจขั้นตอนการทำงานอย่างแท้จริง หรือไม่แตกฉานว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ทำไปเพื่ออะไร
การนำระบบ Lean เข้ามาปรับใช้ พัฒนากระบวนการอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้พนักงานทราบว่า ในงานชิ้นนี้เราต้องการผลลัพธ์อะไร และต้องทำงานอย่างไรเพื่อให้ได้ผลนั้น มีกระบวนการอะไรที่ไม่จำเป็น สามารถตัดมันออกไปได้หรือไม่ สามารถลดระยะเวลาในการทำงานได้ และเอาเวลาที่เหลือไปพัฒนาด้านอื่น
นอกจากนี้ ระบบ Lean ยังช่วยเรื่องการบริหารจัดการคนอีกด้วย เช่น กรณีที่บริษัทอาจจ้างพนักงานเพื่อทำงานชิ้นหนึ่ง 10 คน แต่เมื่อวิเคราะห์กระบวนการแล้วอาจจะใช้คนเพียง 6 คน ดังนั้น คนอีก 4 คนที่เหลือสามารถเพิ่มผลผลิต หรือทำงานอื่นๆได้อีก เป็นการพัฒนาศักยภาพของคนให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนากระบวนการ หรือ พัฒนาคนในองค์กร ก็ยังไม่สำคัญเท่าการวางแผนงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรตั้งแต่ตั้น
เราควรเข้าใจก่อนว่าองค์กรมุ่งเน้นจะเติบโตไปในด้านใด มีวิสัยทัศน์ มีภารกิจอะไร แล้วจึงกำหนดแผนงานภายในฝ่ายของตนเองให้ตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กร
จากนั้นจึงเริ่มวิเคราะห์กระบวนการในฝ่ายงานว่ามีส่วนใดที่ต้องได้รับการพัฒนา รวมถึงบุคคลากรในฝ่ายมีความรู้ ความสามารถเพียงที่จะก้าวทันตามภารกิจขององค์กรแล้วหรือไม่
และนี่คือแนวทาง Lean Management ที่จะช่วยให้การบริหาร Operational Risk ทำได้ง่ายขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก
และท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Clip นี้
สวัสดีค่ะ
โฆษณา