17 ส.ค. 2022 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
'การรถไฟ' เตรียมทดสอบใช้หัวรถจักร EV วิ่งเป็นครั้งแรก
1
หากพูดถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลายคนคงรู้ว่าเป็นองค์กรอายุมากกว่า 100 ปีที่มีจุดเริ่่มต้นถูกก่อตั้งขึ้่นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เริ่มเปิดการเดินรถไฟเส้นทาง สถานีกรุงเทพ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตร ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 จนถึงปัจจุบันสามารถขยายเส้นทางไปครอบคลุมทั่วคลุมได้ทั่วประเทศ
ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะในปัจจุบันเกิดสถานการณ์ราคาน้ำมันของโลกที่กำลังเป็นช่วงราคาขาขึ้น รวมถึงกระแสการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยิ่งทำให้หลายองค์กรเร่งปรับตัวหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันหรือพลังฟอสซิลเพิ่มขึ้น
1
ทำให้ รฟท. ไม่สามารถฝืนกระแสโลกได้ จึงเริ่มเห็นการขยับในช่วงเดือน ก.ค. ปี 2564 ที่ผ่านมา โดยประกาศความร่วมมือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ผู้ทำธุรกิจด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทนเปิดตัวยานยนต์ไฟฟ้ากับ China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (CRCCSA) เพื่อร่วมกันในการพัฒนา "หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้า" ที่ใช้สำหรับรถไฟ ของ รฟม. เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
1
'หัวรถจักร EV' คันแรกเดินทางถึงไทยแล้ว
โดยหลังใช้ระยะเวลาทำงานผ่านไป 1 ปี ในที่สุดผลของความร่วมมือในครั้งนี้เริ่มสำเร็จออกมาให้เห็นแล้ว ซึ่งวันที่ 17 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา บริษัท CRRC Dalian ในกลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีนที่เป็นพันธมิตรร่วมผลิตหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าที่ ซึ่งได้ส่งหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV ที่พัฒนาเสร็จแล้วเดินทางมาถึงประเทศไทยให้ส่งถึงมือของ รฟท.
3
ในขั้นตอนต่อไปเตรียมร่วมมือกับพันธมิตรอีกแห่งคือ บริษัท เอเซียเอนจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด (AES) ผู้เชี่ยวชาญด้านการซ่อมบำรุงรถไฟ เพื่อประกอบติดตั้งระบบแบตเตอรี่โดยหัวรถจักร EV คันนี้เป็นรถจักรคันแรกในการพัฒนารถไฟระบบ Battery Train ที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นรถจักรไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่นั่นเอง
EA ชี้ 'หัวรถจักร EV' ช่วยลดต้นทุนพลังงานได้ 40%
โดย 'อมร ทรัพย์ทวีกุล' รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ในฐานะพัฒนานวัตกรรมระบบชาร์จของ "หัวรถจักร EV" ได้ให้ข้อมูลว่า หลังจากที่ EA ได้รับมอบหัวรถจักรพลังงานไฟฟ้าหรือรถจักร EV มาแล้วจาก CRRC Dalian ในขั้นตอนต่อไปวางแผนร่วมมือกับภาควิชาการ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(มทร.) อีสาน
มีแผนเตรียมจะทดสอบระบบสับเปลี่ยนขบวน (Shunting) ให้กับ รฟม. ที่สถานีบางซื่อภายในปีนี้ โดยหัวรถไฟ EV สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กิโลเมตร สามารถประหยัดต้นทุนพลังงานได้ 40% เมื่อเปรียบเทียบกับหัวรถดีเซล เป็นตามนโยบาย EV on Train ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
'หัวรถจักร EV' ชาร์จไฟได้เร็วภายใน 1 ช.ม.
2
“ถือเป็นก้าวแรกของ EA ในการจับมือกับพันธมิตรในจีน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตรถไฟ ขณะที่ EA มีความพร้อมในออกแบบและพัฒนานวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge สอดคล้องยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Asian Logistics Hub”
สำหรับ EA ได้ออกแบบพัฒนานวัตกรรมระบบชาร์จ Ultra Fast Charge ในเวลา 1 ช.ม. ในระยะแรก และ Battery Swapping Station เพื่อการสลับเปลี่ยนแบตเตอรี่ในเวลาไม่เกิน 10 นาที เพื่อลดเวลาการรอชาร์จ และนำมาขยายผลใช้งานในระบบขนส่งได้จริง สามารถขยายผลยกระดับการขนส่งโดยสารเมืองรอง สามารถรองรับการใช้งานทุกระดับ และนำไปพัฒนาระบบ Light Rail Transit (LRT) สำหรับขนส่งตัวเมือง
ผู้บริหารของ EA ยังให้มุมมองต่อว่า Electritication กำลังเป็นเทรนด์โลกในการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่ไฟฟ้า เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของประเทศไทยเอื้อให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นของคนไทยที่ทัดเทียมกับนานาชาติได้อย่างก้าวกระโดด EA
1
โดยคาดหวังว่าหัวรถจักร EV จะกลายเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างอุตสาหกรรมและมูลค่าให้ กับประเทศไทยบนพื้นฐานความยั่งยืน เพราะ เป็นเทคโนโลยี Zero emission ไม่ก่อให้เกิด PM2.5 เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลด carbon footprint ที่เป็นพันธกิจของประเทศไทยในเวทีโลก COP26 นับเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งสำคัญนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19-20
2
ติดตามข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการเงิน ของ #Spotlight เพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ : https://www.amarintv.com/spotlight
ยูทูป : https://bit.ly/31rtDUM
อินสตาแกรม : https://www.instagram.com/spotlight_biz
โฆษณา