17 ส.ค. 2022 เวลา 12:30 • ประวัติศาสตร์
[English Below]
ประมาณ123 ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนราชดำเนินสำหรับเสด็จพระราชดำเนินระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต ซึ่งถนนราชดำเนินนั้นแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ “ราชดำเนินนอก”, “ราชดำเนินกลาง”, และ “ราชดำเนินใน” โดยมีพระยาเทเวศวรวงศ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นผู้ออกแบบ ทั้งนี้ พระองค์ได้รับแรงบันดาลใจจากถนนชองป์ เอลิเซ่ ในระหว่างคราวที่เสด็จประพาสยุโรป
ถนนราชดำเนินนับเป็นถนนที่มีความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของประชาชนอีกด้วย เพราะมีหลายครั้งที่ประชาชนใช้ถนนราชดำเนินเป็นสถานที่ในการจัดการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ 2535 หรือการชุมนุมในช่วงพ.ศ. 2552-2553
Around 123 years ago, King Rama V. had ordered the construction of a new road as a transportation route between the Grand Palace and Dusit Palace. The road was formally named "Ratchadamnoen Avenue'' (Royal's Ways) after His Majesty's generous request to create it so he could travel between the Grand Palace and Dusit Palace.
It was designed and constructed by Phraya Thewet Wongwiwat, Chancellor of the Ministry of Public Works, and is split into three sections called "Ratchadamnoen Nok," "Ratchadamnoen Klang," and "Ratchadamnoen Nai." Apart from improving transportation in Bangkok, the other reason that King Rama V decided to construct this new road is that he was inspired by Champs Elysees during his travels to European countries.
Ratchadamnoen Avenue is also a historical street of the people, as it is also the place where many important events such as "1973 Thai popular uprising" , "Black May (1992)" , or People's protest during 2009-2010 occur.
โฆษณา