Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
18 ส.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ข่าวการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของไทย นำไปสู่คำถามที่ถกเถียงกันในสังคมหลายข้อ
ซึ่งแท้จริงแล้ว คำถามในประเด็นนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ในหมู่นักเศรษฐศาสตร์เอง
ก็มีการถกเถียงเรื่องนี้กันอยู่ตลอด ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตัวเอง
ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
📌 ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำ
โดยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (บางคนอาจจะไม่เห็นด้วยให้มีการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำด้วยซ้ำ) ก็มักจะให้เหตุผลว่า
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นการแทรกแซงกลไกของตลาด ทำให้มีคนว่างงานจำนวนมากขึ้น และทำให้สินค้าและบริการมีราคาสูงขึ้น
1
เพราะคนฝ่ายนี้เชื่อว่า ค่าจ้างแรงงานถูกกำหนดผ่านกลไกของตลาดอยู่แล้ว
ค่าจ้างแรงงานที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง ก็คิดมาจากผลิตภาพแรงงานของลูกจ้างอยู่แล้ว ถ้าทำงานได้เก่ง สร้างผลผลิตได้มาก ก็ย่อมได้ค่าจ้างมากตามไปเอง
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ “ผลิตภาพแรงงาน (labor productivity)” หรืออาจจะเรียกว่า ความสามารถที่ลูกจ้างจะสร้างผลผลิตของไทยเติบโตต่ำกว่าในอดีต
ซึ่งถ้าพิจารณาแต่ปัจจัยนี้อย่างเดียวก็อาจจะคิดได้ว่า นายจ้างก็ไม่อยากจะปรับขึ้นเงินเดือนมากเท่าในอดีตแล้ว
ยิ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อาศัยจำนวนแรงงานจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมอาหาร ก็มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากกว่าจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ
ซึ่งปัญหาในลักษณะแบบนี้ก็ยังไปเกิดขึ้นที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดอันดับหนึ่งของโลกปัจจุบันอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย ที่ก็มีประเด็นการขึ้นค่าแรงไปสู่ 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงอยู่
ที่มีการประเมินโดย the Congressional Budget Office (CBO) ว่า การขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำครั้งนี้จะทำให้มีคนตกงานกว่า 1.4 ล้านคน
อย่างไรก็ดี ก่อนจะตัดสินใจว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่ดีทั้งหมด เราลองไปดูความเห็นของฝ่ายที่สนับสนุนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกันบ้างครับ
📌 ฝ่ายที่สนับสนุนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายสนับสนุนบอก คือ อำนาจการซื้อของคนน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้นตามไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ
อย่างตัวอย่างในประเทศอเมริกา มีการคาดการณ์กันว่า คน Gen Z ที่กำลังจะเริ่มทำงานในปัจจุบัน มีอำนาจการซื้อของต่างๆ ต่ำกว่า คนรุ่น Baby Boomers ถึง 80%
1
ในด้านคนไทยเอง รายได้ที่ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพก็ดูจะเป็นปัญหาเช่นกัน ส่วนหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนได้ คือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทย ที่ล่าสุดอยู่ประมาณ 90% ต่อ GDP แล้ว สูงสุดแห่งหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนา
ซึ่งฝั่งที่ให้ความสำคัญกับดัชนีเหล่านี้ ก็จะมองว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาทั้งโดยตรงต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ขั้นต่ำ ให้มีโอกาสได้จับจ่อยใช้สอยได้มากขึ้น และก็ยังอาจจะไปช่วยตั้งฐานให้ค่าจ้างที่อยู่เหนือขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไป ให้ถูกปรับสูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้แนวคิดของคนกลุ่มนี้ มักจะมาพร้อมกับความคิดที่ว่า กลไกตลาดไม่สามารถปรับได้อย่างเสรี บริษัทห้างร้านต่างๆ มีอำนาจการตั้งราคาสูงกว่าลูกจ้างด้วย ดังนั้นการเข้ามาแทรกแซงโดยรัฐในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ
จึงสมเหตุสมผล
ดังนั้น การตัดสินใจขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ต้องพิจารณาความคิดของทั้งสองฝ่ายข้างต้นอย่างเหมาะสม โดยในกรณีของไทย การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้คาดกันว่าจะขึ้น 5-8% ไปสู่ช่วงประมาณ 328 ถึง 363 บาท
แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็มองกันว่า ในระยะยาวแค่นี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนกินดีอยู่ดีอย่างถาวร หากความสามารถในการแข่งขันและผลิตภาพที่เกิดขึ้นจากแรงงานของเรายังเติบโตได้น้อยแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ซึ่งข้อนี้เป็นโจทย์ที่สำคัญกว่าภาครัฐและเอกชน ที่ต้องช่วยกันผลักดันให้เกิดโครงสร้างที่เหมาะสมในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยต่อไป เพื่อที่จะได้ยกระดับรายได้ของทั้งภาคบริษัทและแรงงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว...
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.forbes.com/advisor/personal-finance/minimum-wage-debate/
●
https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Articles/Doc_Lib_statisticsHorizon/labour%20productivity%20Index.pdf
●
https://tdri.or.th/2016/11/labour-productivity/
●
https://www.investopedia.com/articles/markets-economy/090516/what-are-pros-and-cons-raising-minimum-wage.asp
●
https://www.fastcompany.com/90778446/gen-z-vs-baby-boomers-purchasing-power
#APEC2022COMMUNICATIONPARTNER
ค่าแรง
แรงงาน
ตลาดแรงงาน
5 บันทึก
7
2
2
5
7
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย