19 ส.ค. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) เป็นนักคิด นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส นักเขียนรางวัลโนเบลวรรณกรรมปี 1957 เขามีมุมมองและโลกทัศน์ที่แปลกจากที่เราคุ้นเคย
7
เขามองว่าโลกเราช่างไร้สาระ (absurd) และชีวิตมนุษย์ก็ไร้สาระ เราถูกกรอกหูมาแต่เกิดว่า ชีวิตต้องมีสาระ มีความหมาย เราต้องแสวงหาความหมาย สาระ หรือคุณค่านั้น เพื่อทำให้ชีวิตมีความหมาย มีเหตุผลของการดำรงอยู่
2
แต่ ‘สาระ’ อาจเป็นภาพลวงตาที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เช่นเดียวกับความยุติธรรม และอีกหลาย ๆ นามธรรมที่นำหน้าด้วย ‘ความ’
1
เราเกิดมา เรียนหนังสือ ทำงาน ทรมานกับรถติด แต่งงาน ทำงาน มีลูก แก่ตัว เกษียณ แล้วตาย เราเดินชีวิตไปตามครรลองที่สังคมตั้งให้เราเดิน ทำตามกติกาค่านิยมที่สังคมบอกให้เราทำ
1
กามูส์เห็นว่าการหาความหมายเป็นการตั้งคำถามผิดแต่แรก เพราะจักรวาลไร้จุดประสงค์ ไร้ความหมาย และไร้เหตุผล ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่บอกว่า เรามาอยู่ในโลกนี้ด้วยเหตุผลหรือความหมายอะไร หรือถ้ามี เราก็ไม่รู้ เพราะเกินสติปัญญาของเรา ความหมายทั้งหมดที่เราบอกกัน มาจากการคิดเองเออเอง
4
เขาเห็นว่ามันไม่มีคุณค่าสากล ไม่มีแผนของพระเจ้า ทุกอย่างเกิดขึ้นเช่นนั้นเอง และเป็น random (ส่งเดช)
1
ชีวิตไร้สาระ ไร้ความหมาย
นี่ก็คือแนวคิดของปรัชญาไร้สาระ (Absurdism)
มัน ‘absurd’ เพราะคนพยายามสร้างหรือหาความหมายจากเรื่องที่ไม่มีความหมาย
2
มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ชอบจัดระเบียบ พยายามเหลือเกินที่จะเข้าใจทุกอย่างในชีวิต จนหลงทาง
แล้วเราควรทำยังไง?
กามูส์เห็นว่ามนุษย์เรามีแค่สามทางเลือกเท่านั้นคือ 1 หนีจากมัน 2 หลบซ่อนใต้ความเชื่อ และ 3 อยู่กับมัน
‘หนีจากมัน’ คือฆ่าตัวตายไปเสียจากโลกนี้
‘หลบซ่อนใต้ความเชื่อ’ คือซ่อนตัวใต้ร่มศาสนาหรือลัทธิความเชื่อ นี่ก็อาจเป็นเหตุผลที่โลกเรามีลัทธิต่าง ๆ มากมาย สร้างชุดความเชื่อบางอย่างให้เราเกาะยึดเหมือนเกาะขอนไม้กลางทะเล เรารู้สึกสบายใจขึ้น และไม่ต้องคิดมาก
ส่วน ‘อยู่กับมัน’ คือยอมรับมัน
1
ในทางเลือกแรก กามูส์เห็นว่าการฆ่าตัวตายคือ ‘การสารภาพ’ ว่าชีวิตไม่คุ้มที่จะดำเนินต่อไป มันเป็นการเลือกอย่างหนึ่งที่จะออกไปพ้นจากวิถีไร้สาระ แต่กามูส์ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าตัวตาย เขาเห็นว่าควรใช้ชีวิตให้ถึงที่สุดอย่างเต็มที่
ก็มาถึงประโยค "ผมควรฆ่าตัวตาย หรือว่าดื่มกาแฟสักถ้วย"
1
ประโยคเต็มคือ “Should I kill myself, or have a cup of coffee? But in the end one needs more courage to live than to kill himself.”
ข้อความนี้มาจากนวนิยายเรื่อง A Happy Death ของเขา
1
ตรงกับคำของเซเนกา นักปรัชญาสายสโตอิกคนหนึ่งที่ว่า “บางครั้งการมีชีวิตอยู่ก็คือการแสดงความกล้าหาญ”
2
การมีชีวิตอยู่ต้องใช้ความกล้าหาญกว่าฆ่าตัวตาย
1
มองแบบนี้ก็จะเห็นว่า การดื่มกาแฟต้องใช้ความกล้าหาญกว่าฆ่าตัวตาย!
เพราะความทุกข์มิได้อยู่ที่โลกกระทำต่อเรา แต่อยู่ที่เรากระทำต่อตัวเอง
5
นี่ก็คือหลักพุทธ การปรุงแต่งทำให้เกิดทุกข์
กามูส์ยกตัวอย่างตำนานกรีกเรื่องซิซีฟัส (Sisyphus) ซิซีฟัสเป็นกษัตริย์แห่งเอพไฟรา กระทำผิดเรื่องโกงความตายสองครั้ง จึงต้องคำสาปลงโทษให้เข็นก้อนหินใหญ่ขึ้นเขา เมื่อใกล้ถึงยอด หินจะร่วงลงมาทุกครั้ง แล้วต้องเข็นขึ้นไปใหม่ ต้องทำอย่างนี้นิรันดร์
1
การแบกหินขึ้นเขาลงเขาซ้ำ ๆ กันย่อมเป็นเรื่อง 'ทุกข์'
แต่กามูส์มองอีกมุมหนึ่งว่า ขณะที่ใคร ๆ ก็คิดว่าซิซีฟัสเคราะห์ร้ายเหลือเกิน ต้องทำงานเข็นหินขึ้นภูเขา และจะล้มเหลวเสมอ แต่ใครเล่าบอกว่าเขาต้องทุกข์ล่ะ? หากซิซีฟัสยอมรับว่าทั้งหมดนี้ไร้สาระ เขาก็อาจแบกหินไปอย่างมีความสุขได้ เพราะความสุขเกิดจาก ‘ปัจจุบันขณะ’ ของการเข็นหิน
4
บางทีบางชั่วยามขณะเข็นหิน อาจมีผีเสื้อสองสามตัวบินมาเกาะแขน อาจมีเสียงนกร้องอ่อนหวาน อาจมีลมเย็นละมุนพัดโชยมา อาจมีแสงแดดอ่อนอาบร่าง
1
โลกมิได้ทุกข์ทุกขณะที่เข็นหิน
1
ในโลกที่น่าจะเป็นทุกข์ก็มีสุขได้ ถ้ารู้จักใช้ชีวิต ถ้าใช้ชีวิตเป็น
1
Enjoy the process!
2
เอนจอยการแบกหินระหว่างทาง ไม่ใช่นึกถึงแต่ภาพที่หินที่จะกลิ้งตกลงมาในอนาคต
1
ดังที่เซเนกาบอกว่า “จงใช้ชีวิตทันที และนับทุกๆ วันเป็นชีวิตเอกเทศ”
2
การหนีทุกข์โดยการฆ่าตัวตายจึงแสดงว่าใช้ชีวิตไม่เป็น
คนที่ใช้ชีวิตเป็นจะเลือกดื่มกาแฟ
1
แต่เพิ่มไอศกรีมอีกถ้วยก็เยี่ยม
1
(สนใจอ่านเรื่องปรัชญาไร้สาระ - Absurdism อ่านเพิ่มได้จากหนังสือ เหตุผลที่ตื่นขึ้นมาในตอนเช้า)
โฆษณา