19 ส.ค. 2022 เวลา 03:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จะเป็นอย่างไร ? เมื่อมนุษย์อาศัยนอกโลกได้ด้วยแรงโน้มถ่วงเทียม
จากกระแส Climate change ประชากรล้น ทรัพยากรหมดและภัยพิบัติมากมายที่เกิดขึ้นในโลก ทำให้หลายๆ ฝ่ายเริ่มมีความคิดในการอพยพคนบางส่วนไปอาศัยนอกโลก ไอเดียเหล่านี้ปรากฏทั้งในภาพยนตร์และวรรณกรรมมากมาย แต่แน่นอนว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับการนำมนุษย์ไปอยู่ดาวอื่นจริงๆ
1
โดยโครงการงานวิจัยที่ Art of นำมาเล่าให้ฟังในวันนี้นั้นมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นความร่วมมือของ Kyoto University และ Kajima Construction ซึ่งหัวใจหลักของโครงการคือการทำ ‘แรงโน้มถ่วงจำลอง’ นั่นเอง
1
โครงการวิจัยนี้ชื่อว่า ’The Glass’ มีรูปทรงทรงกรวย ตั้งอยู่ที่ดวงจันทร์และดาวอังคาร ซึ่งตั้งใจให้ประกอบไปด้วยปัจจัยพื้นฐานทั้งหลายเช่น ที่อยู่อาศัย ต้นไม้ น้ำ ไปจนถึงโครงสร้างสังคม
3
แต่การที่จะทำให้คนสามารถอยู่บนดาวอื่นได้อย่างยั่งยื่นนั้น ยังมีปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ‘แรงโน้มถ่วง’ ซึ่งดาวอังคารและดวงจันทร์นั้นมีค่าแรงโน้มถ่วงต่ำมาก
ค่าที่ต่ำนี้ส่งผลต่อระบบร่างกายของเราโดยตรง เด็กที่เกิดบนดาวเหล่านี้อาจไม่สามารถเดินได้อย่างปกติบนโลก และผลกระทบอื่นๆ ที่อาจตามมา
ทีมจึงได้คิดสิ่งที่เรียกว่า ‘แรงโน้มถ่วงเทียม Artificial Gravity’ ซึ่งตามหลักการแล้วจะทำให้พื้นที่ใน The Glass นี้มีแรงโน้มถ่วงที่เท่ากับพื้นโลก ทำให้คนใช้ชีวิตได้ปกติและกลับโลกเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดได้จากแรงเหวี่ยงหมุนรอบตัวของทรงกรวยนี้เอง (1 รอบทุกๆ 20 วินาที)
1
ซึ่งรูปร่างที่เห็นเป็นลักษณะทรงกรวยนั้นเกิดผืนดินม้วนเป็นผืนเดียวกันนั่นเอง มีรัศมี 100 เมตรและสูง 400 เมตร มีแหวนที่อยู่รอบๆ ที่เป็นรางให้ยานเดินทางจากที่อื่น
3
ทีมวิจัยตั้งเป้าว่าอยากทดลองสร้างบนดวงจันทร์ภายในปี 2050 แต่คิดว่ากว่าจะทำจนสำเร็จ ก็อาจใช้เวลาอีก 100 ปีเลยทีเดียว
หากใครอยากดูคลิปวีดีโอเต็มๆ ไปดูกันได้ที่
งานวิจัยนี้ทำให้แอดมินนึกถึงสถานีอวกาศในตอนท้ายของหนังเรื่อง Interstella ซึ่งไม่ว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นสิ่งช่วยจุดประกายงานวิจัยนี้หรือไม่ แต่ก็น่าคิดว่าถึงแม้จินตนาการบางอย่างในตอนนี้มันอาจเพ้อฝัน แต่ใครจะรู้ว่ามันอาจจะเป็นจริงในเวลาไม่นานก็เป็นได้
โฆษณา