19 ส.ค. 2022 เวลา 04:37 • ปรัชญา
ประวัติของผักตบชวา
True History of Water Hyacinth
เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ” ซึ่งหมายความถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากจุดเล็กๆแต่กลับส่งผลสะเทือนกว้าง จนก่อให้เกิดเหตุการณ์สำคัญหรือเรื่องราวใหญ่โตที่คาดไม่ถึง
True History of Water Hyacinth อ่านที่นี่จ้ะ เพราะบางที Wikipedia ก็มั่วข้อมูล เช่นว่าผักตบชวาแพร่พันธ์ุออกไปเพราะน้ำท่วมวังสระปทุมทำให้ผักตบชวาแพร่ลงไปในแม่น้ำลำคลองเป็นต้นทำให้มีคนบางกลุ่มถึอโอกาสใช้ข้อมูลผิดๆออกมาโจมตีเจ้าของวังให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทในขณะนี้ก็มี
ผักตบชะวาเข้ามาเมืองไทยที่กรุงเทพฯครั้งแรก พ.ศ. 2444 คือราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชะวา พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ทรงนำต้นเข้ามา เนื่องด้วยทรงโปรดมาก เพราะดอกดูสวยงามคล้ายดอกกล้วยไม้”
ไม่ใช่เฉพาะท่านผู้นำคนปัจจุบันหรอกนะที่ต้องมาหัวเสียกับ ‘ผักตบชวา’ ว่าเจออยู่ที่บ้านใครทำไมไม่เก็บเอาไปทิ้ง? เสียจนต้องออกมาขู่ว่า ถ้าผักตบชวามีอยู่ในบ้านใครจะปรับต้นละ 100 บาท เพราะในอดีตสยามประเทศไทยแห่งนี้ ก็เคยมีกฎหมายเกี่ยวกับการกำจัดผักตบชวากันเลยทีเดียว
กฎหมายฉบับที่ว่า ก็คือ ‘พระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456’ ซึ่งบังคับใช้ในสมัยรัชกาลที่ 6
ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็คือ ให้ทุกคนช่วยกันคนละมือ คนละไม้ เก็บผักตบชวาที่อยู่ในอาณาบริเวณพื้นที่ของตนเองไปทำลายทิ้งเสียให้หมด คล้ายๆ กับที่ท่านผู้นำถามว่าทำไมไม่ช่วยกันในปัจจุบันนี้นั่นแหละ โดยหากไม่กำจัดทิ้งคนบ้านนั้นจะต้องความผิดลหุโทษ ปรับเงินไม่เกิน 10 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 7 วัน ไม่ก็ทั้งจำทั้งปรับ
ยิ่งไปกว่านั้นคือถ้าใครปลูก เลี้ยง ปล่อยให้ ผักตบชวา งอกงามในพื้นที่ของตนเอง หรือเอาผักตบชวาไปทิ้งในห้วยหนองคลองบึงสาธารณะ หรือที่อื่น จะมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว
ครั้งหนึ่งคนในประเทศนี้จึงอาจจะย้ายที่นอนไปอยู่ในคุกแบบงงๆ ถ้าวันดีคืนดีมีผักตบชวามาเคาะประตูที่ท่าน้ำบ้านท่าน แต่รัฐในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้นหรอกนะครับ เพราะท่านก็เข้าใจหัวอกของคนที่อยู่ๆ ผักตบชวาก็ลอยเป็นแพมาอยู่หน้าบ้านดีว่า มันเยอะ
มากเสียจนลำพังกำลังคนในแต่ละครอบครัวของพวกเขานั้นก็อาจจะเก็บกันได้ไม่หวาดไม่ไหว ในพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงระบุไว้ด้วยว่า ถ้าเจ้าผักนี่มันเยอะมากเกินกำลังคนในบ้านจริงๆ ก็ให้เจ้าพนักงานรัฐในท้องที่ ระดมกำลังราษฎรมาลงแขกช่วยกันกำจัดเจ้าผักตัวร้ายนี้ไปเสียให้สิ้น
ที่สำคัญคือพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวระบุเอาไว้ชัดเจนเลยด้วยซ้ำไปว่า การกำจัดผักตบชวา นี้ไม่ใช่แค่เอาไปทิ้ง หรือให้สัตว์เลี้ยงกินก็ได้ แต่เอาไปผึ่งบนบกเสียให้แห้ง แล้วค่อยเผาไฟทิ้งด้วยเท่านั้น เรียกได้ว่า ต้องการกำจัดแบบถอนรากถอนโคนกันเลยทีเดียว
กฎหมายฉบับนี้จึงสะท้อนให้เราเห็นได้ว่า ที่จริงแล้ว แม้กระทั่งรัฐในโลกเมื่อร้อยกว่าปีเศษๆ ก็ยังตระหนักได้เลยว่า ปัญหาเรื่องผักตบชวาไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่แค่มันลอยเท้งเต้งเข้าไปในเขตบ้านใครแล้วช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ก็กำจัดมันได้หมด ซึ่งก็ไม่มีหมดขนาดที่มีมาตรการระบุชัดออกมาเป็นกฎหมายเมื่อ 104 ปีที่แล้ว ประเทศไทยทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ให้ท่านผู้นำได้ออกมาบ่นดังๆ เลยแล้วกัน
ที่เรียกว่า ‘ผักตบชวา’ ก็เพราะคนไทยเราอิมพอร์ตเข้ามาจากเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมักจะกล่าวกันว่า ‘สมเด็จพระพันปีหลวง’ คือสมเด็จพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้นำเข้ามา แต่ ผศ. ดร. ชัชพล ไชยพร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อ้างไว้ในบทความของท่านเรื่อง ‘สืบปมข้อกล่าวหา ใครนำ ผักตบชวา เข้ามาในเมืองไทย’ ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมว่า ตามประวัติในหนังสือ ‘ตำนานไม้ต่างประเทศบางชนิดของเมืองไทย’ ที่พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) แต่งขึ้นนั้น ท่านเจ้าคุณระบุถึงประวัติของผักตบชวาในไทยเอาไว้ ดังนี้
“ผักตบชะวาเข้ามาเมืองไทยที่กรุงเทพฯครั้งแรก พ.ศ. 2444 คือราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ทรงนำต้นเข้ามา เนื่องด้วยทรงโปรดมาก เพราะดอกดูสวยงามคล้ายดอกกล้วยไม้”
เจ้านายองค์ที่เจ้าคุณวินิจฯ ระบุไว้ก็คือ พระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา หรือพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ที่ชาววังยุคนั้น ออกพระนามว่า ‘พระอัครชายาพระองค์เล็ก’ หรือ ‘ท่านองค์เล็ก’ เป็นพระมเหสีอีกพระองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 5 ไม่ใช่สมเด็จพระพันปีหลวงเสียหน่อย?
แถมความตรงนี้ตรงกับข้อมูลที่ ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เคยเล่าเป็นเกร็ด แล้ว ผศ. ดร. ชัชพล คนเดิม เอามาอ้างอิงไว้ในบทความเรื่องเดิมของท่าน เอาไว้ว่า
“พระอัครชายาฯ ได้ตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ประพาสชวา ท่านหญิงพูนทรงเล่าประทานว่า เจ้าพี่องค์เล็กท่านเห็นว่าดอกผักตบสวยดี เลยเอาต้นผักตบต้นเล็กๆ ใส่ในขันสรงพระพักตร์ทองคำ มีน้ำเลี้ยงกันตาย โดยทรงไว้ในห้องสรงในเรือพระที่นั่ง”
ดังนั้นผู้ที่นำ ผักตบชวา เข้ามาในประเทศไทย จึงน่าจะเป็น พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ไม่ใช่สมเด็จพระพันปีหลวง เพราะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนกว่า ตามที่ท่านเจ้าคุณวินิจฯ ว่าไว้ในหนังสือของท่านนั่นแหละ
นอกจากนี้ ท่านเจ้าคุณวินิจฯ ยังกล่าวถึงการแพร่กระจายของผักตบชวาไว้ต่างจากข่าวลือ ที่มักเชื่อกันว่า ผักตบชวาแพร่กระจายออกมานอกวัง เมื่อน้ำท่วมกรุง จึงทำให้ผักเจ้ากรรมนี้หลุดออกจากวังสระปทุม แต่ท่านเจ้าคุณท่านนี้ระบุเอาไว้ว่า
“ภายหลังเข้ามาได้ราว ๕-๖ ปี ผักตบชะวาก็ไปปรากฏขึ้นที่กรุงเก่าเป็นครั้งแรก ภายหลังรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาศกรุงเก่าในปีเดียวกันนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ชาวกรุงเก่าเรียกผักตบชะวาครั้งนั้นว่า ‘ผักตามเสด็จ’
ผักตบชะวาขึ้นไปเชียงใหม่ราว พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยพญาจัน (บุญยืน) แห่งนครเชียงใหม่ เป็นผู้นำพันธุ์ขึ้นไปทางเรือ ในเวลานั้นผักตบชะวาที่กรุงเทพฯ ยังไม่แพร่หลาย นัยว่าต้องไปขอจากในวังที่เรียกกันว่าผักตบชะวานั้น ก็เพราะผักนี้ได้มาจากชะวา ชาวเชียงใหม่เรียกผักตบชะวาว่า ‘บัวลอย’ ”
ถ้าการแพร่กระจายของผักตบชวาจะเป็นอย่างที่ท่านเจ้าคุณวินิจฯ ว่าไว้นั้นก็ไม่แปลก เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ผักตบชวา ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่แต่ดั้งเดิมในเกาะชวา แต่มาจากทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเจ้าคุณท่านนี้ระบุชัดๆ ลงไปเลยว่า ‘บราซิล’ แต่คนไทยเราเรียกตามถิ่นที่นำเข้ามาคือ เกาะชวาก็เท่านั้น
ตอนแรกที่เจ้าผักอเมริกาใต้นี้ ถูกอิมพอร์ตเข้าไปในชวาจะเป็นเมื่อไหร่? และทำไมก็ไม่รู้? แต่ถ้าจะเป็นด้วยเหตุผลเรื่องความงาม และเป็นของแปลกหายากในยุคโน้นก็ไม่เห็นจะแปลกตรงไหน เพราะเมื่อแรกนำเข้ามาในสยาม พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ก็ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้
และก็ไม่ได้มีเฉพาะแค่ ไทย กับชวา หรอกนะครับ ที่เมื่อแรกหลงรูปแล้วจึงเกิดปัญหากับเจ้าผักนี่ในภายหลัง เพราะปัญหาเดียวกันก็เกิดในดินแดนเพื่อนบ้านของเราอย่าง ที่ตนเลสาปเขมร ในประเทศกัมพูชา หรือไกลออกไปในออกไปในทวีปแอฟริกาอย่าง ประเทศรวันดา ที่เจ้าอาณานิคมคือ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งลามปามออกไปถึง ทะเลสาปวิคตอเรีย ที่
ครอบคลุมพื้นที่ประเทศแทนซาเนีย เคนย่า และอูกันดา ทั้งที่เพิ่งจะมีคนเคยเห็นเจ้าผักตบชวาในทะเลสาปใหญ่แห่งนี้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2531 เท่านั้นเอง แต่ปัจจุบันเรื่องการควบคุมปริมาณผักตบชวา กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทะเลสาปแห่งนี้ไปซะแล้ว ไม่ต่างอะไรกับปัญหาเดียวกันในประเทศเอธิโอเปีย ที่มีรายงานคนพบเห็นเจ้าผักชนิดนี้ลอยเท้งเต้งอยู่ในน้ำครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ. 2508 เท่านั้น
แต่ปัญหาเดียวกันนี้ก็เกิดในประเทศมหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา แถมกลายเป็นเรื่องใหญ่ระดับวาระแห่งชาติทีเดียวด้วยนะครับ
ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2427 ในฐานะของขวัญจากชาวญี่ปุ่น เนื่องในงานแฟร์ที่ชื่อ World Cotton Centennial แล้วหลังจากนั้นแม่น้ำหลุยเซียน่าก็ประสบปัญหาผักตบชวาลอยเต็มแม่น้ำ ทั้งกีดขวางทางคมนาคม อุดตันไม่ระบาย แย่งอ็อกซิเจนสัตว์น้ำ และอีกสารพัดไม่ต่างจากที่ไทยเผชิญ ถึงขนาดเคยมีการเอาน้ำมันราดลงบนน้ำมันผักตบชวาพวกนี้แต่ก็ไม่เวิร์ค
จนปี พ.ศ. 2453 ก็เกิดมีคนผุดพุทธิไอเดียขึ้นมาว่า จะเสนอให้มีการนำเข้าฮิปโปโปเตมัสจากแอฟริกา เข้ามาเพื่อจัดการกินเจ้าผักสวะนี่เสียให้หมดแม่น้ำ แถมเนื้อเจ้าฮิปโปฯ พวกนี้ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารให้กับประชาชนชาวอเมริกาได้อีกด้วย ซึ่งโปรเจคนี้รู้จักกันในชื่อ ‘American Hippo Bill’
แต่สุดท้าย อภิมหาโปรเจ็คที่คิดได้ยังไง? โปรเจ็คนี้ก็มีปัญหานะครับ เพราะว่ามีการยกตัวอย่างการนำสัตว์ท้องถิ่นแอฟริกาเข้าไปในยุโรปแล้วเกิดปัญหามาก่อน ผลก็คือแพ้โหวตไปเพียงหนึ่งเสียง เจ้าฮิปโปเลยอดสวาปามผักตบชวาไปด้วยประการฉะนี้
ส่วนผักตบชวาก็ยังมีอยู่ที่อเมริกา และกลายเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ต้องเฝ้าระวังการขยายพันธุ์อย่างเข้มงวด
‘ปัญหาผักตบชวา’ จึงไม่ได้เป็นแค่ ปัญหาเล็กๆ ที่เจออยู่หน้าคลองบ้านใครก็เก็บเอาไปทิ้ง แต่ต้องมีการวางแผนการจัดการที่ดี และเป็นระบบต่างหาก
ผักตบชวาต้น
เกะกะชลก็จนหทัย
กีดขวาง ณ ทางไหล
กรุกระแสจะแลมิเห็น
ว่าวัชพืชโทษ
มิประโยชน์ก็โดดประเด็น
เน่าหมักประจักษ์เหม็น
ขณะคิดระอิดระอา
แท้ดอกจะออกงาม
พิศะตามมิทรามมิซา
ม่วงครามอร่ามตา
ดุจะอัญมณีมนัส
แล้วแต่,จะแลมอง
จะตริตรองสนองถนัด
มองโทษก็โทษชัด
ตริประโยชน์ก็โปรดถวิล
(อินทวงศ์ ฉันท์)
โฆษณา