30 ส.ค. 2022 เวลา 13:32 • หนังสือ
มัดรวมมาให้แล้ว เทคนิคบริหารเงินสำหรับทุกช่วงวัย ตั้งแต่เริ่มทำงานไปจนถึงอายุ 30+ และ 40+
รู้หรือไม่ว่าคนไทยจำนวนมากถึง 95% มีเงินไม่พอใช้ในช่วงวัยหลังเกษียณ และมีเพียง 5% เท่านั้นที่สามารถเกษียณได้แบบสบายๆ ไม่เป็นภาระลูกหลานและสังคม (สถิติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)
พอได้เห็นตัวเลขนี้ แอดมินก็กลับมาดูการเงินของตัวเอง แล้วตัดสินใจเลือกข้างทันทีว่าขออยู่เป็นคนส่วนน้อย 5% จะดีกว่า แต่ปัญหาก็คือ อายุ 40++ แล้ว ถ้าเพิ่งเริ่มตอนนี้ช้าไปมั้ย ยังทันรึเปล่านะ และต้องทำยังไงบ้าง ก็เลยเสิร์ชหาข้อมูลและได้ไปเจอคอร์สอิสรภาพทางการเงินของพี่กวี ชูกิจเกษม ซึ่งเป็นคอร์สฟรีที่ดีมากๆ พูดถึงเทคนิคการบริหารเงินของคนอายุเกิน 40
ดูไปดูมา … อ้าว … มีเทคนิคสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน และช่วงวัย 30+ ด้วยนี่นา เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว ไหนๆ ก็เข้ามาเรียนแล้ว สรุปรวมมาฝากทุกคนเลยก็แล้วกัน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ แอดมินก็อยากให้ทุกคนมีเงินใช้สบายๆ ไปตลอดชีวิต ไม่ต้องลำบากตอนแก่เนอะ ใครที่อายุยังน้อย เริ่มก่อน รวยกว่า ใช้เวลาในชีวิตให้เป็นประโยชน์กันนะ
รายละเอียดแอดมินใส่ให้ในแคปชันแต่ละภาพนะคะ
ถ้าชอบก็อย่าลืม share เก็บไว้อ่านหรือแบ่งปันให้เพื่อนๆ tag เพื่อน หรือคนที่คุณ ให้มาเริ่มสนใจวางแผนการเงินกันนะคะ
ใครสนใจอยากเรียนเต็มๆ ไปที่ link นี้เลยจ้า https://bit.ly/3c0g5EX
9 เทคนิคบริหารเงินสำหรับคนเริ่มทำงาน
ช่วงเพิ่งเรียนจบเริ่มต้นทำงานถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่ต้องใช้เงินของตัวเองไม่มีเงินพ่อแม่ให้ใช้เหมือนเมื่อก่อน การเริ่มต้นบริหารเงินอย่างถูกต้อง จะทำให้ชีวิตหลังจากนี้ง่ายขึ้น
1.อย่าซื้อของเพื่อสร้างความสนใจให้คนอื่น
เป็นตัวของตัวเอง หรือสร้างแรงดึงดูดจากความสามารถดีกว่าการซื้อของเพื่อสร้างความสนใจ เพราะคนอื่นจะสนใจเราไม่เกิน 1 ชั่วโมงก็ลืมแล้ว
2.ใช้ชีวิตกับสิ่งที่มีให้นานที่สุด
อย่าพยายามหาสิ่งใหม่ ใช้ของที่มีให้นานที่สุด ต้นทุนชีวิตจะถูกลง
3.ซื้อของให้เหมาะสมกับรายได้ อย่าสร้างหนี้
ถ้าจำเป็นต้องซื้อ ซื้อให้เหมาะสม พยายามอย่าเป็นหนี้ในช่วงเริ่มต้นทำงาน แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็นหนี้ ก็ให้หาวิธีปลดหนี้ให้ไวที่สุด
4.หาวิธีเติมความสุขแบบอื่น แทนการซื้อของ
ความสุขจากการซื้อของมักไม่ยั่งยืน การสร้างความสุขจากการให้ หรือการทำประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อตนเองจะยั่งยืนกว่า และไม่เสียเงินด้วย
5.กินอาหารไม่ต้องมื้อแพงมาก
อาหารที่ดีไม่จำเป็นต้องแพง การสังสรรค์มีได้ แต่ควรให้เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป อาจจะเดือนละ 1 ครั้งก็พอ
6.พยายามทำตัวให้ Minimal ที่สุด
การมีของน้อยชิ้นทำให้สามารถบริหารจัดการชีวิตได้ง่ายกว่า และประหยัดเงินกว่าด้วย โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นทำงาน ประหยัดได้มากก็เก็บเงินได้มาก
7.แบ่งเงินลงทุนผ่านกองทุนเกษียณต่างๆ
ถ้าบริษัทมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ใส่เต็มที่ และอย่าเอาออกมาใช้ หากย้ายบริษัทให้ลงทุนต่อ แต่ถ้าไม่มีก็อาจจะซื้อกองทุน หรือประกันที่เป็นระยะยาว เป็นการสร้างวินัยในการออม
8.ศึกษาการลงทุน เพื่อเพิ่มผลตอบแทน
อายุยังน้อยสามารถเสี่ยงได้มาก เพื่อผลตอบแทนที่มากกว่าข้อ 7 แต่ต้องศึกษาจนรู้จริงในสิ่งที่จะลงทุน และอย่ามองหาแต่การลงทุนที่รวยเร็ว เพราะจะทำให้ถูกความโลภเข้าครอบงำ
9.เก็บเงินส่วนหนึ่งเพื่อตามความฝันตัวเอง
ประหยัดและอดออมมามากแล้ว อย่าลืมแบ่งเงินซัก 5-10% เพื่อทำตามความฝัน เช่น ท่องเที่ยว เรียนต่อ หรือซื้อของที่อยากได้ เพื่อเติมความสุขให้ชีวิต
9 เทคนิคบริหารเงิน สำหรับคนวัย 30+
เมื่ออายุ 30 ทำงานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ชีวิตเริ่มนิ่ง จึงต้องเริ่มมีความชัดเจนทางการเงิน เพื่อไปถึงอิสรภาพทางการเงินให้ได้ก่อนเกษียณ
1.เป้าหมายทางการเงินต้องชัดเจน
ช่วงวัยนี้ต้องมีเป้าที่ชัดเจนแล้วว่า เราจะเกษียณเมื่อไหร่ จะทำงานอีกนานแค่ไหน หลังเกษียณจะมีชีวิตยังไง ใช้เงินเท่าไหร่ เพื่อวางแผนการเก็บเงินและผลตอบแทนให้ไปถึงเป้าหมาย
2.ซื้อบ้านและรถให้เหมาะกับรายได้
ในวัย 30 ควรเป็นช่วงของการเก็บเงินเพื่อนำไปลงทุน การเป็นหนี้ก้อนใหญ่ถือเป็นกับดักที่จะทำให้เราไปไม่ถึงเป้าหมาย แต่หากจำเป็นต้องเป็นหนี้ ระวังอย่าให้เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน
3.หารายได้จากหลายแหล่ง
รายได้หลักเราต้องรักงานที่ทำ แต่รายได้เสริมลองหางานที่รักหรือชอบ แล้วฝึกฝนเพื่อหารายได้จากมัน เช่น ขายของ ทำขนม งานเขียน หรือ YouTuber เป็นต้น เมื่อรายได้หลักเกิดมีปัญหาชีวิตจะได้ไม่ลำบาก
4.อย่าพยายามสร้างไลฟ์สไตล์ให้คนอื่นรัก
ไม่ว่าจะเป็นการคบเพื่อน หรือแฟน การต้องพยายามทำตัวให้รวยเพื่อให้คนอื่นมารัก มักเป็นความรักที่ไม่ยั่งยืน เป็นตัวของตัวเอง ให้เค้ารักที่เราเป็นเราดีกว่า
5.พยายามลดค่าใช้จ่ายรายเดือน
บางอย่างดูเหมือนเล็กๆ น้อยๆ เดือนละไม่กี่ร้อยบาท เช่น Netflix YouTube ค่าโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต แต่เมื่อรวมๆ กัน และหลายๆ เดือน เป็นปี ก็เป็นเงินไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นพยายามลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น
6.อย่าใช้บัตรเครดิตเกินตัว
ช่วงวัยนี้รายได้เริ่มมั่นคง อีกหนึ่งกับดักที่ต้องระวังคือบัตรเครดิต ที่มักเพิ่มวงเงินให้เราไปเรื่อยๆ หากใช้อย่างไม่มีสติจนหมุนเงินไม่ทัน ไม่สามารถจ่ายตามดีลได้ จะต้องเสียดอกเบี้ยมหาโหด 16-18%
7.เรียนรู้การลงทุนเพื่อสร้าง Passive Income
คนที่มีอิสรภาพทางการเงินจะเอาเงินไปซื้อสินทรัพย์ ส่วนคนที่ไม่มีอิสรภาพทางการเงินจะเอาเงินไปซื้อหนี้สิน ดังนั้นหากอยากมีอิสรภาพทางการเงิน ต้องเรียนรู้วิธีนำเงินไปลงทุนสร้าง Passive Income
8.เพิ่มเงินลงทุน ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น
เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่าติดกับดักใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามรายได้ แต่ควรนำรายได้ที่เพิ่มนั้นไปลงทุน เพราะเราไม่มีทางมีอิสรภาพทางการเงินได้เลย หากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามรายได้
9.สร้างเป้าหมายทางการเงินเพื่อครอบครัว
เช่นซื้อประกันให้ลูก หรือพ่อแม่ เพื่อไม่ให้การเงินต้องสะดุดหากเกิดเรื่องไม่คาดฝัน หรือการวางแผนเก็บเงินเพื่อการศึกษาของลูกตั้งแต่วันแรกที่คลอด ไม่ใช่ตอนลูกโตจะเข้าโรงเรียนแล้ว
ก่อนอื่นเลยต้องมี Mindset ว่า ไม่มีอะไรที่สายเกินไป ถึงจะอายุ 40 แต่ก็มีเวลาอีกตั้ง 20 ปี ในการวางแผนและบริหารเงิน เพื่อให้มีอิสรภาพทางการเงินก่อนเกษียณในอายุ 60 ปี
1.สำรวจตัวเองและทบทวนสิ่งที่ผ่านมา
หากถึงวัย 40+ แล้วเพิ่งเริ่มคิดเรื่องบริหารเงิน ต้องยอมรับความผิดพลาดของตัวเองก่อนว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเราพลาดอะไรไปบ้าง เพื่อสามารถวางแผน 20 ปีที่เหลือต่อจากนี้ได้
2.เริ่มวางแผนทางการเงิน
ถ้าเริ่มแล้วก็จริงจังกับแผนที่วางเอาไว้ อย่าลืมว่าเราเหลือเวลาอีกไม่มาก ต้องพยายามมากขึ้นกว่าเดิม และไม่ได้แค่วางแผนเพื่อตัวเอง ต้องวางแผนเผื่อครอบครัวด้วย ว่าต้องเก็บเท่าไหร่ ผลตอบแทนเท่าไหร่
3.อย่ายกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หากทำงานมาถึงอายุ 40 ปี ย่อมมีเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากในระดับนึง พยายามอย่ายกเลิก หรือเอาเงินออกมาใช้ ควรปล่อยให้สร้างผลตอบแทนในระยะยาว หากใครไม่มีอาจเริ่มมองหากองทุนสำหรับลงทุนระยะยาวเพื่อเกษียณ
4.สร้างแหล่งเงินฉุกเฉิน
ก่อนนำเงินไปลงทุนควรมีแหล่งเก็บเงินเผื่อฉุกเฉิน 6-12 เดือน ของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ที่สามารถนำออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เช่น ตกงาน หรือรายได้หายไป ทำให้เรามีเวลาคิดกับชีวิตมากขึ้น
5.หยุดสร้างหนี้ และเร่งปลดหนี้
อายุ 40 ไม่ควรสร้างหนี้ก้อนใหญ่เพิ่มแล้ว เพราะจะเป็นภาระที่หนักมากๆ หากมีหนี้เดิมอยู่พยายามเร่งปลดหนี้ เพื่อเอาเงินไปลงทุนเพื่อสร้างอิสรภาพทางการเงิน
6.สร้างหลักประกันสุขภาพ
หมายถึงการซื้อประกันชีวิต ที่หลายคนอาจจะมองข้าม แต่ลองคิดดูว่า ประกันรถเรายังซื้อได้ ทำไมไม่ซื้อประกันให้ตัวเองและครอบครัว และอายุ 40 เป็นช่วงสุดท้ายแล้วที่จะซื้อประกันได้
7.อย่าพึ่งเงินบำเหน็จบำนาญทางเดียว
เพราะนอกจากจะไม่พอใช้แล้ว ประกันสังคมอาจจะไม่มีเงินจ่ายให้เราในช่วงที่เกษียณ เพราะประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกันสังคมจะมีภาระที่ต้องจ่ายจำนวนมาก ที่ญี่ปุ่นต้องเลื่อนการเกษียณออกไปเป็น 65 ปี
8.ดูแลสุขภาพ
ดูแลย่อมดีกว่ารักษา อย่าลืมหาเวลาออกกำลังกาย ทานอาหารดี พักผ่อนดี ทำใจให้เบิกบาน เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
โฆษณา