Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Article
•
ติดตาม
19 ส.ค. 2022 เวลา 08:53 • การศึกษา
กยศ. กองทุนที่ผู้กู้กว่าครึ่งพร้อมเบี้ยว
ความสัมพันธ์แบบเจ้าหนี้ - ลูกหนี้ หรือการหยิบยืมเงินกันระหว่างคนด้วยกัน ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะถูกมองไปในแง่ลบกันเป็นส่วนใหญ่ จนคนพูดกันติดปากว่าถ้าอยากรักษาความสัมพันธ์กับใครยาว ๆ อย่าให้เขายืมเงิน หรือใครรู้สึกว่าชีวิตดีเกินไปอยากรู้สึกต่ำต้อยลองให้ใครสักคนยืมเงิน แล้วรับบทบาทเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เงินแม้เป็นเงินของตัวเอง
แต่แปลกที่ความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้ไม่ได้เกิดกับแค่ระดับบุคคลเท่านั้น แต่กลับเกิดขึ้นกับองค์กรของภาครัฐ นั่นก็คือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยจุดประสงค์ของกองทุนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืม สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือส่งเสริมนักศึกษาในสาขาที่ขาดแคลนหรือมีความต้องการในการพัฒนาประเทศ เป็นกองทุนที่เกิดขึ้นเพื่อให้โอกาสกับผู้เรียนได้จริง แต่การดำเนินงานนั้นกลับประสบกับปัญหามาอย่างยาวนาน
ตัวเลขปี 2563 กยศ.ให้กู้ยืมแก่นักเรียน นักศึกษา เป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 581,087 คน เป็นวงเงินกว่า 32,608 ล้านบาท โดย กยศ.อนุมัติการกู้สำหรับผู้มีความประสงค์กู้เงินสูงถึง 90.42% แสดงให้เห็นว่ากฎเกณฑ์ของ กยศ.นั้นไม่ได้ยุ่งยากทำให้การอนุมัติกู้ที่ผ่านได้ไม่ยากนัก ตอบสนองผู้ที่ต้องการได้เป็นอย่างดี
แต่การให้กู้ที่ดีต้องไปดูแค่ว่าปล่อยกู้ได้เท่าไหร่แต่ต้องพิจารณาการจ่ายคืนหนี้ด้วย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของ กยศ. ในปี 2563 บรรดาผู้กู้ยืมทั้งหมด 5,828,391 คน เป็นผู้กู้ยืมในหมวดผู้กู้ยืมกลุ่มดำเนินคดีจำนวน 1,243,023 คน คิดเป็น 21.33 % ซึ่งส่วนใหญ่มีผิดนัดชำระหนี้ติดต่อกัน ทำให้กองทุนขาดโอกาสในการนำเงินส่วนนี้ไปให้กู้ต่อหรือได้รับเงินก้อนช้ากว่าที่ควร อีกทั้งต้องเสียต้นทุนในการสืบทรัพย์และยึดทรัพย์ คิดเป็นมูลค่าความกว่า 132,942 ล้านบาท
นอกเหนือจากกลุ่มดำเนินคดีแล้ว ผู้กู้ยืมกลุ่มที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ระยะเวลา 15 ปี ยังมีการค้างชำระเงินงวดรายปี แต่ยังไม่ค้างติดต่อเกิน 4 งวดจึงยังไม่นับเป็นกลุ่มดำเนินคดี จำนวน 1,252,969 คน คิดเป็น 53.11% ของผู้กู้ในกลุ่มนี้ ทำให้กองทุนได้รับเงินที่ควรจะได้รับช้ากว่าที่ควรจะเป็นทำให้กองทุนต้องสำรองเงินไว้มากขึ้น การใช้เงินทุนจึงมีประสิทธิภาพลดลง
แล้วอะไรคือเหตุผลที่ที่พวกเขาเลือกที่จะไม่จ่ายกันล่ะ มันไม่มีบทลงโทษหรือเปล่า? คำตอบคือโทษมี โดยปกติผู้ที่จ่ายเงินงวดไม่ตรงช่วงเวลาจะถูกคิดเบี้ยปรับเป็นรายวันในอัตรา 12% ต่อปีหากค้างชำระไม่เกิน 1 ปีและ18% ต่อปี หากค้างชำระเกิน 1 ปี เป็นตัวเลขที่สูงมาก แต่ มาตรการของ กยศ. ในขณะนี้ (ช่วงโควิด) ระบุไว้ว่า
1.ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจาก 1% ต่อปี เหลือ 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้
2.ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้และชำระปิดบัญชีในทีเดียว
3.ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ทุกกลุ่มที่ชำระปิดบัญชี
4.ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างชำระให้มีสถานะเป็นปกติ
5.ลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สำหรับผู้ที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำรำหนี้ได้ตามกำหนด
จากมาตรการข้อ 3 นั่นหมายความว่าเบี้ยปรับสามารถถูกลดให้เหลือ 0 ได้ หากผู้กู้จ่ายปิดยอดในคราวเดียว ซึ่งกรณีนี้เคยเกิดให้เห็นแล้ว ในกรณีของผู้กู้ที่ผิดนัดชำระหนี้จนถูกศาลฟ้องยึดคอนโดมูลค่า 3 ล้านบาท เพื่อกลบหนี้ยอด 371,497 บาท แต่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้วเข้าเกณฑ์ปิดบัญชี ทำให้ได้รับการลดเบี้ยปรับ 100% ทำให้ยอดหนี้ที่ต้องชำระจริงเหลือเพียง 270,913 บาท
ลักษณะโทษแบบเบี้ยปรับในขณะนี้ สร้างนิสัยที่ไม่ดีแก่ผู้กู้ หากผู้กู้ประเมินตัวเองว่าสามารถสามารถจ่ายปิดบัญชีได้ รอไปจนถูกฟ้องถึงค่อยจ่ายตอนนั้นก็ยังไม่สาย ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำและเบี้ยปรับที่เขียนเสือให้วัวกลัว แต่ถ้าวัวฉลาดหน่อยก็จบ ทำให้ผู้กู้มีสิทธิเหนือกว่า และกฎเกณฑ์อื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า กยศ. พร้อมจะเข้าไปโอ๋หรือกราบ ผู้กู้ทุกคนเพื่อให้ได้เงินต้นคืน ได้เต็มบ้างไม่เต็มบ้างแต่ก็ดีกว่าไม่ได้เลย
ไม่กี่วันก่อนมีแคมเปญ #ล้างหนี้กยศ. ที่เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ แสดงความต้องการให้รัฐเข้ามาช่วยปิดหนี้ กยศ. และเรียกร้องให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้ฟรีจนถึงระดับมหาลัย ซึ่งอย่างที่กล่าวไป มาตรการของ กยศ.ที่ออกมานั้นเอาใจผู้กู้และหากมีปัญหาในการชำระคืนจริง ๆ กยศ.พร้อมเข้าไปไกล่เกลี่ยหาทางออกให้ผู้กู้แน่นอนอยู่แล้ว
1
โดยล่าสุดนายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ออกมาแถลงต่อเรื่องดังกล่าวว่า "การยกหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต เน้นย้ำว่าผู้กู้ต้องเป็นคนจ่ายเอง แต่จะมีแผนผ่อนปรนการชำระหนี้ให้"
ท้ายที่สุด กยศ.ก็ยังจำเป็นสำหรับกลไกในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เข้าถึงการศึกษาได้ แม้จะประสบปัญหามากเพียงใด กองทุนจำเป็นต้องปรับตัวอย่างไรเมื่อควบคุมผู้กู้ของตัวเองแทบไม่ได้เลย มาตรการไม้อ่อนยังดีอยู่หรือไม่ หรือสำหรับคนบางคนการใช้มาตรการไม้แข็งจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
1
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่
https://www.studentloan.or.th/th/knowledgemedia/1655780225
การเงิน
การศึกษา
1 บันทึก
4
5
1
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย