19 ส.ค. 2022 เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เหตุผลที่ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนของ MINT ที่จ่ายดอกเบี้ย 5 ปีแรก 6.10% ต่อปี กลายเป็นที่สนใจของนักลงทุน
MINT X ลงทุนแมน
เมื่อหลายประเทศทั่วโลกพร้อมใจกันประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำท้องถิ่น
หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผู้คนทั่วโลกออกเดินทางท่องเที่ยวกันมากขึ้น
ผลที่ตามมาก็คือ ธุรกิจที่เคยได้รับผลกระทบ กลับมาฟื้นตัวพร้อม ๆ กับผลประกอบการที่เติบโต
หนึ่งในบริษัทที่เติบโตเกินคาดจากปรากฏการณ์นี้ คือบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT
1
โดยล่าสุดได้แจ้งผลประกอบการในไตรมาส 2 ของปีนี้ มีกำไร 1,561.50 ล้านบาท
หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุน 3,923.91 ล้านบาท
1
ล่าสุด MINT เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน ไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดและมีสิทธิเลื่อนชำระดอกเบี้ยโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ (“หุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ”) แก่ประชาชนทั่วไป ในวันที่ 1–2 และ 5–6 กันยายนนี้
โดยมีอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก ที่ 6.10% ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา และหุ้นกู้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “BBB+” ในขณะที่ MINT ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ “A” ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” โดยบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565
โดยบริษัทได้รับการปรับ Outlook จาก “ลบ” (Negative) กลับมาเป็น “คงที่” (Stable) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในหลายไตรมาสข้างหน้า
2
ด้วยสัญญาณฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง บวกกับดอกเบี้ยที่ดี และมาพร้อมเรทติ้งในระดับ Investment grade มีประวัติการชำระดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอแม้ต้องเผชิญกับภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19
ได้สร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนว่า ผู้ออกหุ้นกู้อย่าง MINT จะมีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้หุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ของ MINT กลายเป็นกระแสของกลุ่มนักลงทุน ตั้งแต่วันที่ประกาศเสนอขาย
1
แล้วรายละเอียดเชิงลึกของหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ครั้งนี้ของ MINT เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ธุรกิจของ MINT หรือ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ. 2521 จากนั้นบริษัทก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง
จนมาถึงในปี พ.ศ. 2539 ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พร้อมกับสร้างการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด ที่ไม่ได้จำกัดแค่ตลาดภายในประเทศ หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
แต่ MINT มีถึง 3 ธุรกิจ ครอบคลุม 60 กว่าประเทศทั่วโลก..
ธุรกิจแรกคือ กลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือ ไมเนอร์ ฟู้ด
ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่คนไทยคุ้นเคยกับ MINT เป็นอย่างดี ผ่านแบรนด์มากมาย
เช่น The Pizza Company, Burger King, Bonchon, Swensen’s, Dairy Queen และ Sizzler
โดยปัจจุบันมีสาขารวมกัน 2,459 สาขา แบ่งเป็นสาขาในประเทศ 74% และในต่างประเทศ 26%
2
ธุรกิจที่ 2 คือ กลุ่มโรงแรม หรือ ไมเนอร์ โฮเทลส์
หลายคนอาจไม่รู้ว่า MINT เป็นบริษัทที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกในธุรกิจนี้
โดยมีโรงแรมที่ลงทุนเองและร่วมลงทุน 367 แห่ง และธุรกิจรับจ้างบริหารโรงแรมอีก 159 แห่ง
ตัวอย่างแบรนด์โรงแรม เช่น อนันตรา อวานี โอ๊คส์ เอ็นเอชโฮเทล เป็นต้น
1
สรุปแล้ว มีจำนวนห้องพักมากถึง 75,707 ห้อง ใน 56 ประเทศทั่วโลก
โดยแบ่งเป็นในประเทศไทย 7% และในต่างประเทศ 93% เลยทีเดียว
ธุรกิจที่ 3 คือ กลุ่มจัดจำหน่าย หรือ ไมเนอร์ ไลฟ์สไตล์
ด้วยการเป็นตัวแทนนำเข้าและจำหน่ายแบรนด์แฟชั่นระดับโลก สินค้าประเภทเครื่องใช้ในบ้าน และเครื่องครัว เช่น BOSSINI, Charles and Keith, Anello, ZWILLING และ Joseph Joseph เป็นต้น
โดยปัจจุบันมีร้านค้าและจุดจำหน่าย 311 แห่ง
จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 ธุรกิจดังกล่าว
นอกจากจะทำให้ MINT กลายเป็นบริษัทไทย ที่ก้าวสู่ระดับโลกแล้ว
ก็ยังเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ และความเคลื่อนไหวของผู้คนทั่วโลก
ทีนี้เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกได้เริ่มคลี่คลายลง ก็เลยทำให้ MINT กลับมามีผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจในทวีปยุโรป
ทำให้ทีมผู้บริหารมั่นใจว่า ปีนี้บริษัทจะกลับมามีกำไร
พร้อมขยายแผนการลงทุน 3 ปีต่อจากนี้ ด้วยการเปิดโรงแรมใหม่รวม 60 แห่ง
แบ่งเป็นรับจ้างบริหาร 49 แห่ง ลงทุนเองและเช่า 11 แห่ง
สะท้อนให้เห็นว่า การฟื้นตัวของ MINT ครั้งนี้ มาพร้อมกับสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
โดยปัจจุบันบริษัทมีเงินสด 26,000 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อที่สามารถเบิกใช้ได้ 31,000 ล้านบาท
(ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2565)
สำหรับการขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ในครั้งนี้ เพื่อทดแทนหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ชุดเดิม (MINT18PA) มูลค่า 15,000 ล้านบาท ที่จะไถ่ถอนก่อนกำหนดในวันที่ 31 สิงหาคม นี้
หุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ชุดใหม่ มีอัตราดอกเบี้ย 5 ปีแรก 6.10% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
โดยดอกเบี้ยจะอิงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี บวกกับอัตราดอกเบี้ยส่วนเพิ่มเติม
ระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ อยู่ที่ระดับ 7 จากทั้งหมด 8 ระดับ
สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ MINT สามารถจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท
หรือ 100 หน่วย และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาท โดยเสนอขายมูลค่ารวมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท และมีหุ้นกู้สำรองเพื่อการเสนอขายเพิ่มเติมไม่เกิน 3,000 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 13,000 ล้านบาท
โดยสามารถซื้อผ่านสถาบันการเงิน 10 แห่ง คือ
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) (ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน ในฐานะหน่วยงานขาย)
- บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
- บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด
- บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
1
การขายหุ้นกู้ชุดใหม่ในครั้งนี้ของ MINT ถือเป็นครั้งแรกที่นักลงทุนทั่วไป สามารถจองซื้อหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน Bualuang mBanking ของธนาคารกรุงเทพ
เพิ่มโอกาสและความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการเข้าถึงการลงทุนหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ของ MINT ในครั้งนี้
 
ซึ่งการลงทุนในหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯ ของ MINT ถือว่ามีความน่าสนใจในยุคนี้ ที่ตลาดการลงทุนต้องเผชิญกับความผันผวนสูง อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ
สรุปแล้ว การซื้อหุ้นกู้เรทติ้งระดับ BBB+ ที่มาพร้อมดอกเบี้ย 6.10% ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรก ของบริษัท MINT ที่กำลังฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์โควิด-19
และที่ผ่านมา MINT ก็มีประวัติชำระดอกเบี้ยสม่ำเสมอ แม้จะอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ก็ตามที
จึงถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจในช่วงเวลานี้..
คำเตือน:
การลงทุนในหุ้นกู้มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดได้จากแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนที่ www.sec.or.th
โฆษณา