20 ส.ค. 2022 เวลา 23:23 • สุขภาพ
#กระเจี๊ยบแดงสมุนไพรดีที่ควรมีคู่บ้าน
.
สวัสดีครับ วันนี้คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ หมอมีเรื่องราวสมุนไพรดีๆที่ควรมีคู่บ้านมาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับเรื่องราวเป็นยังไงไปติดตามต่อกันได้เลย
.
กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.)
เป็นสมุนไพรทีมีการใช้อย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
กระเจี๊ยบแดงเป็นไม้ล้มลุก ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่ม อายุปีเดียว สูงประมาณ 1 – 2 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 1 - 2 ซม. แตกกิ่งก้านมากมายตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ ต้นอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ลำต้นและกิ่งก้านสีแดงเข้มหรือสีแดงอมม่วง เปลือกลำต้นบางเรียบ สามารถลอกเป็นเส้นได้
.
กระเจี๊ยบแดงมีคุณสมบัติทางยาที่ดีๆหลายอย่า ดังนี้
.
ดอก
มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
.
ใบ
รสค่อนข้างเปรี้ยว ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ขับปัสสาวะ ขับเมือกในลำไส้ลงสู่ทวารหนัก แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
.
ยอดและใบ
มีรสเปรี้ยว เป็นยาบำรุงธาตุ ยาระบาย ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร หรือต้มชะล้างบาดแผล หรือนำใบมาโขลกให้ละเอียดใบประคบฝี
.
กลีบเลี้ยง
รสเปรี้ยว ขับนิ่วในไต ขับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ ละลายไขมันในเส้นเลือด ชงกับน้ำรับประทานเพื่อลดความดัน ลดไขมันในเลือด ทำแยม
.
ผล
มีรสจืด ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาแผลในกระเพาะ แก้กระหายน้ำ บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และแก้อ่อนเพลีย
.
เมล็ด
มักนำมาทำยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบาย และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
.
ทั้งต้น
เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด นำมาใส่หม้อต้ม น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งครึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือรับประทานน้ำยาเปล่าๆ จนหมดน้ำยา
จะเห็นได้ว่ากระเจี๊ยบมีสรรพคุณที่หลากหลาย สามารถนำมาใช้รักษาโรคสามัญประจำบ้านได้ แต่ถ้า กินแล้วไม่ดีขึ้น หมอแนะนำให้เข้ามาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาหาโรคร้ายอื่นๆที่อาจจะแอบแฝงอยู่ต่อไป
.
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
references
Puechkaset.com. กระเจี๊ยบแดง สรรพคุณ และการปลูกกระเจี๊ยบแดง. เข้าถึงได้จาก: http://puechkaset.com/กระเจี๊ยบแดง/
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กระเจี๊ยบแดง. http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/hibiscus.html
ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา. (2549). พฤกษชาติสมุนไพร. หน้า 28.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา