Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BRXG Healthcare
•
ติดตาม
20 ส.ค. 2022 เวลา 01:50 • สุขภาพ
🤱 การดูแลคุณแม่หลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 🤱
ในระยะหลังคลอดโดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถฟื้นฟูสภาพให้กลับเข้าสู่สภาพปกติได้เอง แต่จะต้องใช้เวลาในการพักฟื้น ซึ่งอาจพบอาการที่ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจได้ เช่น น้ำนมไหลน้อย คัดตึงเต้านม น้ำคาวปลาไม่ไหลน้อย ผิวพรรณไม่สดใส ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกอ่อนล้าไม่สดชื่น และในบางคนเมื่อระยะเวลาผ่านไปจะมีอาการหนาวง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง
ประกอบกับความเชื่อในสมัยก่อนของปู่ ย่า ตา ยาย ที่กล่าวว่าการได้อยู่ไฟจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและดีต่อสุขภาพ โดยในอดีตคุณแม่หลังคลอดจะได้รับการดูแลจากหมอตำแย เพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจของมารดากลับคืนสู่ภาวะปกติ ไม่เจ็บป่วยภายหลังจากการคลอด ซึ่งมักจะกำหนดระยะเวลาการดูแลหลังคลอด ที่เรียกว่า "การอยู่เรือนไฟ"
คือ นับตั้งแต่วันที่จนถึง 30 วันหลังคลอด ในบางท้องถิ่นหมอแต่ละคนจะเป็นผู้กำหนดการอยู่เรือนไฟขึ้นเอง หากเป็นการตั้งครรภ์ท้องแรก จะกำหนดอยู่เรือนไฟ 40 วัน การส่งเสริมสุขภาพคุณแม่หลังคลอดโดยอาศัยภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องที่มีมาอย่างช้านานแล้ว ทั้งในเรื่องของการใช้สมุนไพรไทย การนวดไทย การประคบสมุนไพร การทับหม้อเกลือและการเข้ากระโจมอบสมุนไพร
ซึ่งมีงานวิจัยในวารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกล่าวถึงประสิทธิผลของการทับหม้อเกลือว่า สามารถช่วยลดระดับความปวดกล้ามเนื้อและปวดมดลูก มีผลต่อสีของน้ำคาวปลา ให้ความพึงพอใจสูงและไม่พบอาการแทรกซ้อน
สามารถรับการดูแลหลังคลอดได้เมื่อไหร่ ?
●
มารดาคลอดธรรมชาติ หลังจากคลอดแล้ว 7 - 10 วัน หากไม่มีอาการอ่อนเพลียและแผลแห้งสนิทดีแล้ว สามารถทำหัตถการได้เลย
●
มารดาผ่าตัดคลอด หลังจากคลอดแล้ว 30 - 45 วัน หรือหลังจากแผลผ่าตัดแห้งสนิทดีแล้ว และได้รับการตรวจหลังคลอดเรียบร้อยแล้ว
❌ ข้อห้ามที่คุณแม่ไม่สามารถทำหัตถการหลังคลอดได้ !!!! ❌
1.
มีอุณหภูมิร่างกายเกิน 37.5 องศา
2.
แผลผ่าตัด ยังไม่แห้งสนิทดี
3.
มีอาการอ่อนเพลีย
4.
พึ่งรับประทานอาหารมาอิ่มใหม่ๆ
5.
แพทย์แจ้งว่า มดลูกลอยตัว มดลูกยังไม่เข้าอู่
6.
หรือพบความผิดปกติอื่นๆ
ขั้นตอนการคุณแม่หลังคลอดที่ B-Healthy Alternatve
• นวดและประคบสมุนไพรทั่วร่างกาย นวดผ่อนคลายทั่วร่างกาย เน้นบริเวณที่มีอาการปวด ช่วยคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อย กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม
• นวดและประคบเต้านม นวดและประคบบริเวณเต้านมบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม ช่วยทำให้น้ำนมไหลได้สะดวกมากขึ้น
• นวดโกยท้องและทับหม้อเกลือ นวดโกยท้องเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการทับหม้อเกลือ ทำให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวกมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง
• อบไอน้ำสมุนไพร ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยให้หลอดลมขยายหายใจได้สะดวก ทำให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวก ขับสิ่งสกปรกออกมาพร้อมเหงื่อ
บทความ : พท.ป.กนกอร แข็งธัญญกิจ
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย