Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองต่าง
•
ติดตาม
20 ส.ค. 2022 เวลา 03:32 • ธุรกิจ
ภูเก็ต กับ ปัญหาของ Pain Point เรื่องการขนส่ง ที่ต้องเริ่มจากผู้มีอำนาจ
ปัญหาการเดินทางในภูเก็ต และ คำพูดที่ว่า “ค่า Taxi ภูเก็ต แพงกว่าค่าตั๋วเครื่องบิน” เป็นเรื่องที่เชื่อว่าทั้งคนในพื้นที่ และ นักท่องเที่ยวชาวไทยต่างได้ยินหรือได้รับทราบกันมาอย่างต่อเนื่อง
และในมุมมองของภาครัฐเองทุกคนต่างก็ทราบถึงปัญหาเรื่องระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตมาอย่างต่อเนื่อง และ หลายต่อหลายครั้งก็มีการเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวมกันแก้ไข้ปัญหา
แนวทางการแก้ปัญหาระบบ Taxi ภูเก็ตดูจะเป็นแนวทางเป็นรูปเป็นร่างมากที่สุดเมื่อครั้งที่ได้มีการรัฐประหารโดย คสช. ที่ได้มีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาปราบปรามระบบ Mafia Taxi และจัดระเบียบเรื่องของการรับส่งผู้โดยสาร ณ สนามบิน นานาชาติภูเก็ต แต่หลังจากนั้นไม่นานรูปแบบต่าง ๆก็ดูเหมือนจะกลับเข้าสู่ วูปเดิมที่ มีการกระทบกระทั้งระหว่าง Taxi และ Taxi ที่วิ่งรับผู้โดยสารข้ามเขตตัวเอง
หลายต่อหลายครั้งที่มีการกระทบกระทั่งระหว่างผู้ใช้บริการ และ ผู้ประกอบการ Taxi ป้ายเขียว เกี่ยวกับเรื่องของราคาค่าบริการ และ ปัญหาดูจะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อมีการให้บริการเรียก Taxi ผ่าน Application ต่าง ๆ ที่เริ่มเข้ามาบุกตลาดในพื้นที่
เรื่องปัญหา Taxi ภูเก็ตมันเริ่มจากตรงไหน
เรื่องแรกที่เราอาจจะต้องเข้ามาดูปัญหากันจริงๆ คือเรื่องของรูปแบบ คำว่า Taxi ที่เราพูดถึงกันเวลาเข้ามาในภูเก็ต สำหรับจังหวัดภูเก็ตแล้วนั้น Taxi ที่เราพูดถึงกันจะเป็น Taxi ป้ายเขียวซึ่งกฏหมายไม่ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องคิดราคา ค่าโดยสารตามระยะทาง
โดยข้อมูลจากกรมขนส่งทางบก จำนวนรถที่จดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เฉพาะในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตพบว่ามีการจดทะเบียนรถต่าง ๆ ที่ใช้ในการให้บริการ ที่เปรียบเสมือน Taxi ดังต่อไปนี้
รย. 6 รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน Urban Taxi : 277 คัน ( รถ Taxi ที่คิดค่าโดยคิดค่าโดยสารตาม Meter)
รย. 7 รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง Fixed Route Taxi : 518 คัน (Tuk Tuk 4 ล้อ )
รย. 9 รถยนต์บริการธุรกิจ Hotel Taxi : 1,919 คัน (ป้ายเขียว)
รย.10 รถยนต์บริการทัศนาจร Tour Taxi : 1,898 คัน (ป้ายเขียว)
ซึ่งหากสรุปตัวเลขให้ดูง่ายขึ้นจะได้เป็น
Taxi meter : 277 คัน
Taxi ป้ายเขียว : 3,817 คัน
รถ Tuk Tuk : 518 คัน
ซึ่งหมายความว่าจากผู้ให้บริการ Taxi ทั้งเกาะ 4,612 คันนั้น มีเพียง 6% เท่านั้นที่คิดค่าบริการตาม Meter หรือว่าตามระยะทางโดยอีก 94% ที่เหลือนั้นคิดราคาแบบเหมาจ่าย หรือ แล้วแต่ตกลงกันระหว่างผู้ให้บริการ และ ผู้ใช้บริการ
ซึ่งหากไปดูเรื่องของการจดทะเบียนรถยนต์ (ป้ายเขียว) ประเภท รย9 และ รย 10 แล้วนั้นพบว่าจะต้องมีเอกสารที่จำเป็นในการต้องจดทะเบียนที่สำคัญคือ “หลักฐานแสดงความจำเป็นในการใช้รถตามจำนวนที่ยื่นขอจดทะเบียน” ซึ่งเปิดช่องให้นายทะเบียนประจำขนส่งแต่ละจังหวัด ใช้ดุลยพินิจในการรับจดทะเบียนรถยนต์บริการ ตามหมวด รย9 และ รย10 ข้างต้นจึงเป็นการเปิดช่องให้ผู้ประกอบการหลายคนใช้ช่องโหว่ตรงนี้มาจดทะเบียนรถยนต์ป้ายเขียวและออกให้บริการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก
โดยสาเหตุหลังจากการมีผู้ประกอบการจำนวนมากเลี่ยงการจดทะเบียนรถ taxi มาเป็นรถยนต์ป้ายเขียวนั้นประกอบไปด้วย
ค่าใช้จ่ายทางด้านประกันภัยที่ มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า ประมาณ 50-60%
การต้องลงทุนในเรื่องของกระบวนการทำสีรถ และ มูลค่ารถที่หายไป
การที่ไม่สามารถ ปฏิเสทผู้โดยสารได้
ซึ่งนั้นเป็นเหตุทำให้ภาพร่วมของจังหวัดภูเก็ตแล้วนั้นมีปริมาณรถยนต์ป้ายเขียวมากกว่า taxi meter ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวทางจังหวัดภูเก็ตเลยทีการจัดตั้ง ประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์บริการในจังหวัดภูเก็ต เพื่อบรรเทาในประเด็นเรื่องของการคิดค่าบริการ taxi หรือ รถบริการสถารณะที่ค่อยข้างสูง แต่ดูเหมือนการแก้ปัญหาด้วยการประกาศราคา maximum price ดังกล่าวจะเป็นการพยายามแก้ปัญหาที่ปลายจุดที่อาจไม่ได้ผลมากหนักเนื่องจากเป็นการอิงราคาราคาตลาดเดิม
ในขณะเดียวกันกระทรวงคมมนาคมเองก็ได้มีการประกาศราคา ค่า taxi meter ที่ให้บริการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นประกาศตั้งแต่แต่ปี 2557 โดยมีกำหนดราคาดังต่อไปนี้
2 KM แรก 50 บาท
2 – 15 KM คิด 12 บาท / KM
15km ขึ้นไป คิด 10 บาท / KM
หากลองเทียบค่าโดยสารที่ทางขนส่งอนุญาตให้คิดค่าบริการแล้วนั้นจะสามารถเปรียบเทียบค่าโดยสารดังต่อไปนี้
เส้นทาง สนามบินภูเก็ต –> บางลา (ป่าตอง) ( 39KM)
รถยนต์บริการ (ป้ายเขียว) : 800 THB
รถ Taxi Meter : 566 THB ( สนามบินมีค่า ธรรมเนียมเพิ่ม 100 บาท)
เส้นทาง ป่าตอง(ถนนบางลา) –> ท่าเทียบเรือฉลอง (ฉลอง) (17KM)
รถยนต์บริการ (ป้ายเขียว) : 500 THB
รถ Taxi Meter : 226 บาท
เห็นได้ชัดว่า ค่าบริการ Taxi Meter นั้นมีราคาต่ำกว่าค่าโดยสารที่ ออกโดย ประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่อง อัตราค่าจ้างบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถยนต์บริการในจังหวัดภูเก็ต
หากสรุปแนวทางการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนของจังหวัดภูเก็ตแล้วนั้น น่าจะประกอบไปด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
1. การออกมาควบคุมปริมาณ Taxi ป้ายเขียวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
2. การออกมาส่งเสริม Taxi meter อย่างจังจัง ตั้งแต่การเดินทางถึงจังหวัดภูเก็ต ณ สนามบิน
3. การบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับป้ายเขียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุผลในการจดทะเบียนรถป้ายเขียว
ซึ่งหากภาครัฐและหน่วยงานหันมาเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาแล้วนั้นเชื่อได้เลยว่าจังหวัดภูเก็ต น่าจะมีโอกาศได้ใช้บริการ Taxi ในราคาที่สมเหตุสมผลได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง
จำนวนรถจดแยกตามจังหวัด และ ประเภท ทะเบียน
https://view.officeapps.live.com/op/view.aspx?src=https%3A%2F%2Fweb.dlt.go.th%2Fstatistics%2Fplugins%2FUploadiFive%2Fuploads%2Fe818fdad60a6a0b2a4c1ee4f45a342f979f851dbc3ea774c5c25fac60fa70762.xls&wdOrigin=BROWSELINK
เอกสารจำเป็นในการจดทะเบียนรถบริการ
https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
กฏหมายน่ารู้เกี่ยวกับการให้บริการ taxi meter
http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/k121%20jun_12_2.pdf
ราคาค่า taxi meter phuket
https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
ประกาศราคา ค่าโดยสาร รถบริการภูเก็ต
https://www.dlt.go.th/site/phuket/m-download/12085/
ธุรกิจ
ท่องเที่ยว
1 บันทึก
2
5
1
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย