Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SW Home and Construction
•
ติดตาม
20 ส.ค. 2022 เวลา 16:25 • อสังหาริมทรัพย์
ชนิดของแผงโซลาร์เซลล์
ในส่วนนี้จะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักแผงโซลาร์เซลล์ชนิดต่างๆ ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน พร้อมกับบอกข้อดีและข้อเสียของการใช้แผงแต่ละชนิดด้วย เพื่อที่ทุกท่านจะได้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม
1. Monocrystalline (Mono-Si)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ผลึกเดี่ยวซิลิคอน ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง มีผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยมพร้อมกับลบมุมออกทั้ง 4 มุม ทำให้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัด และมีสีเข้ม เมื่อมองแผงชนิด Monocrystalline จากภายนอก จะเห็นเป็นสีเข้มๆ ค่อนไปทางสีดำ และมีสีที่สม่ำเสมอกัน ทำให้เวลาติดตั้งมีความสวยงาม
รูปที่ 1 แผงโซลาร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์
ข้อดี
- ประสิทธิภาพสูง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20%
- ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย เพราะมีประสิทธิภาพสูง
- อายุการใช้งานยาวนาน โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ปีขึ้นไป
- ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาแม้ในสภาวะที่แสงน้อย (เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นโซลาร์เซลล์แบบ Poly Crystalline)
ข้อเสีย
- มีราคาแพงเมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิดอื่น
- ถ้ามีความสกปรก หรือถูกบังแสงบางส่วนอาจทำให้วงจรหรืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) ไหม้ได้ เพราะแรงดังสูงเกินไป
2. Polycrystalline (Poly-Si)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ทำจาผลึกรวมของซิลิคอนบริสุทธิ์รวมกับแท่งซิลิคอนที่เหลือทิ้ง หลังจากนั้นก็นำมาตัดเป็นแผ่น หรือเวเฟอร์ (Wafer)ในลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม โดยตัวแผงจะมีสีออน้ำเงินไม่เข้มมากเมื่อมองจากภายนอกอาจเห็นเป็นสีไม่สม่ำเสมออันเนื่องมาจากกระบวนการผลิต
รูปที่ 2 แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์
ข้อดี
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีราคาถูกเมื่อเทียบกับชนิด Monocrystalline
- ประสิทธิภาพในที่อุณหภูมิสูงดีกว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Monocrystalline เล็กน้อย
ข้อเสีย
- ประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 13-16% ซึ่งต่ำกวาแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Monocrystalline พอสมควร
- ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งมากกว่า เมื่อต้องการกำลังการผลิตเท่ากับแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Monocrystalline
- สีของแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จะดูไม่เรียบเนียนสวยเหมือนกับชนิด Monocrystalline
3. Thin Film (ฟิล์มบาง)
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ผลิตโดยการทำสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้าได้มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆ ชั้น เช่น สารประกอบซิลิคอนและสารอื่นๆ ที่อยู่ในสถานะแก๊สมาเคลือบเป็นฟิล์มบางบนแผ่นฐานที่อาจเป็นแก้วหรือพลาสติก
รูปที่ 3 แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film)
ข้อดี
- ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าชนิดอื่นๆ
- ไม่มีปัญหาเรื่องแผงสกปรกแล้วทำให้วงจรไหม้
- สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์
ข้อเสีย
- ประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่นๆ
- ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก เมื่อต้องการกำลังการผลิตเทียบเท่ากับแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่นๆ
- การรับประกันอายุการใช้งานสั้นกว่าชนิดผลึกซิลิคอนมาก
เกร็ดความรู้
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางนิยมนำไปใส่ในอุปกรณ์ที่มีระบบรับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก เช่น นาฬิกาข้อมือ และเครื่องคิดเลข แต่หากจะนำมาติดตั้งบนหลังคาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอาจจะไม่คุ้มทุนสักเท่าไหร่ เพราะประสิทธิภาพต่ำมาก
วิธีการเลือกใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ชนิดต่างๆ
- Monocrystalline ใช้เมื่อต้องการเน้นประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้ได้มากๆ ในพื้นทีจำกัด
- Polycrystalline ใช้เมื่อต้องการจำกัดต้นทุน
- Thin Film ใช้เมื่อต้องการผลิตไฟฟ้าให้ได้มากในที่ที่มีอุณหภูมิสูง และต้องมีพื้นที่ติดตั้งมากๆ ด้วย
แถม: แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Half Cell
ขอแถมให้อีกหนึ่ง เพราะปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อยอดแผงโซลาร์เซลล์อีกมา โดยแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้เป็นการต่อยอดจากชนิดผลึกซิลิคอนเพื่อมาแก้ปัญหาเรื่องเงาบัง
โดยแผงปกติ เมื่อถูกเงาบังเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้น้อยลง หรืออาจไม่ผลิตเลยก็ได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึงกำลังการผลิตโดยรวมก็ต้องลดลงด้วยเช่นกัน
แต่แผงแบบ Half Cell (หรือเรียกว่า Half Cut ก็ได้) จะใช้วิธีลดกำลังการผลิตไฟฟ้าของแต่ละเซลล์ลงครึ่งหนึ่ง แต่จะเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้นเป็นสองเท่า และต่อแยกกันเป็น 2 ชุด เสมือนเป็นการนำแผงโซลาร์เซลล์ 2 แผงมาขนานกันนั่นเอง ข้อดีก็คือเมื่อเซลล์ถูกเงาบัง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลงครึ่งหนึ่งเลยเมื่อเทียบกับแผงปกติ
และข้อดีอีกข้อก็คือ จะทำให้ความร้อนสะสมของแผงเนื่องมาจากการสร้างพลังงานลดลงด้วย เนื่องจากค่ากระแสและแรงดันน้อยกว่าแบบชนิดเต็มเซลล์ ซึ่งก็จะลดโอกาสที่จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนทำให้แผงเกิดไฟลุกไหม้ได้ด้วยเช่นกัน
พลังงาน
เทคโนโลยี
บ้าน
3 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คู่มือโซลาร์เซลล์
3
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย