Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
การขนส่งสินค้าทางอากาศ
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2022 เวลา 03:00 • การศึกษา
** ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 2 **
น้ำหนัก (Weight) เป็นปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งแตกต่างกับโหมดการขนส่งประเภทอื่นๆ การขนส่งทางสินค้าทางอากาศเป็นการยกสินค้าลอยจากพื้นขึ้นไปอยู่ในอากาศ และเคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่ง (สนามบิน) ไปยังอีกจุดหนึ่ง (สนามบิน) ที่แตกต่างออกไปในระยะทางไปห่างไกลด้วยความรวดเร็ว
ปัจจัยสำคัญอันดับแรกๆ ของการขนส่งสินค้าทางอากาศเลย เป็นต้องใช้เกณฑ์ด้านน้ำหนักมาเป็นตัวแปรหลัก เพราะกระทบกับค่าใช้จ่ายหลักในการขนส่งมากที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันที่จะต้องใช้ในการยกตัวของเครื่องบินและสินค้าให้ลอยขึ้นไปในอากาศ และเคลื่อนที่ไป
ปริมาตร (Volume) หรือขนาดของสินค้า (กxยxส) เป็นปัจจัยที่ทุกโหมดการขนส่งจะต้องนำมาพิจารณา ซึ่งการขนส่งสินค้าทางอากาศก็ให้ความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เพราะประเภทของเครื่องบินที่ขนส่งทางอากาศในเชิงพาณิชย์มีอยู่อย่างหลากหลายให้สายการบินตัดสินใจในการใช้งานได้อย่างเหมาะสมในทุกเส้นทางของการให้บริการ
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight Charge) ในการที่สายการบินจะเรียกเก็บเงินค่าบริการขนส่งแต่ละครั้ง ก็มีระบบมาตรฐานให้เหมือนกัน เกณฑ์หรือฐานที่ใช้ในการคำนวณค่าบริการสายการบิน/ผู้ขนส่ง (Carrier) “ใช้อัตราต่อหน่วย (บาท/ตัน/กิโลเมตร) นำมาคูณกับน้ำหนักรวมของสินค้า” ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นยอดรวมของ “ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางอากาศ” ในครั้งนั้นๆ ตามน้ำหนักรวมของสินค้าในการขนส่งทางอากาศในแต่ละครั้ง
อัตราค่าขนส่งต่อหน่วย (Rate) เป็นอัตราค่าขนส่งสินค้าต่อหน่วย (บาท/ตัน/กิโลเมตร) โดยมีตัวแปรเสริมคือ น้ำหนักและระยะทางของการขนส่งประกอบ ซึ่งในการขนส่งสินค้าทางอากาศ IATA ได้กำหนดอัตราค่าขนส่งต่อหน่วยมาตรฐานไว้แล้วในคู่มือที่เรียกว่า TACT Rate เพื่อให้สายการบินสมาชิกและสายการบินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นมาตรฐานที่เหมือนกันทั่วโลก “ในทางปฏิบัติ” ที่ปรากฏบนคู่มือเป็นอัตราค่าขนส่งต่อหน่วยที่เอาไว้ใช้พิมพ์บนใบตราส่งสินค้า (Air waybill)
ส่วนอัตราค่าขนส่งต่อหน่วยที่ใช้ในการเก็บเงินค่าบริการในแต่ละเส้นทาง สายการบิน/ผู้ขนส่ง (Carrier) จะกำหนดอัตราค่าขนส่งต่อหน่วยขึ้นมาเองเพื่อให้สามารถแข่งขันกันได้ในตลาด (Marketing Rate) แต่ต้องไม่สูงกว่าอัตราค่าขนส่งต่อหน่วยมาตรฐานที่ IATA กำหนดไว้ (ในสถานการปกติเท่านั้น – ส่วนในสถานการณ์พิเศษสายการบินก็ใช้โอกาสของ Supply vs Demand มาเป็นเครื่องมือในการกำหนดอัตราค่าขนส่งต่อหน่วย)
เสียเวลากับการเกริ่นนำยืดยาว จนหมดพื้นที่ จึงขอสรุปเพื่อนำไปสู่ตอนต่อไปว่า
น้ำหนักที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ มีทั้งหมด 4 ประเภท
1.
น้ำหนักสุทธิ (Net Weight)
2.
น้ำหนักรวม (Gross Weight/Actual Weight)
3.
น้ำหนักปริมาตร (Volume Weight)
4.
น้ำหนักที่ใช้ในการการชำระค่าขนส่ง (Chargeable Weight)
น้ำหนักทั้ง 4 ประเภทมีผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศแตกต่างกัน มีแหล่งที่มาของน้ำหนักแตกต่างกัน เอาไว้ติดตามในตอนต่อไป
ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 2
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
https://web.facebook.com/aircargo.th
Facebook Public Group : AC TEAM : ชุมชนการขนส่งสินค้าทางอากาศ
https://web.facebook.com/groups/ac.team.group/
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย