30 ส.ค. 2022 เวลา 03:00 • การศึกษา
** ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 4 **
น้ำหนักที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ มีทั้งหมด 4 ประเภท
1. น้ำหนักสุทธิ (Net Weight)
2. น้ำหนักรวม (Gross Weight/Actual Weight)
3. น้ำหนักปริมาตร (Volume Weight)
4. น้ำหนักที่ใช้ในการชำระค่าขนส่ง (Chargeable Weight)
ตอนนี้เรามาเริ่มรายละเอียดเกี่ยวกับ น้ำหนักรวม (Gross Weight/Actual Weight)
น้ำหนักรวม (Gross Weight/Actual Weight) หมายถึง น้ำหนักทั้งหมดของตัวสินค้า เมื่อรวมน้ำหนักบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ แล้ว ซึ่งนับรวมถึงแผ่นรองหรืออุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่จะต้องขนส่งไปพร้อมกับสินค้าในครั้งนั้น
หมายเหตุ “เน้น” ไม่ได้รวมเฉพาะสินค้าและภาชนะบรรจุเท่านั้น แต่ให้รวมถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต้องส่งไปพร้อมสินค้าทั้งหมด
ปกติแล้ว น้ำหนักนี้ จะเป็นน้ำหนักที่ได้จากการชั่งด้วยเครื่องชั่ง และเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าสินค้านี้มีน้ำหนักเท่าไหร่ เพราะน้ำนี้มีการนำไปใช้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ขั้นตอนการจองพื้นที่ระวางสินค้า การพิมพ์เอกสารใบตราส่งสินค้า การคำนวณค่าขนส่ง (เว้นแต่น้ำหนัก Volume Weight จะมีค่ามากกว่า) รวมถึงการนำไปคำนวณน้ำหนักรวมของเครื่องบินที่จะใช้ในการนำเครื่องขึ้นบิน
คนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศ กระบวนการต่างๆ จะเห็นและคุ้นเคยกับน้ำหนักประเภทนี้ เพราะเอกสารที่ปรากฏในทุกกระบวนการขนส่งจะมีน้ำหนักนี้ปรากฏอยู่เพื่อใช้เป็นการอ้างอิง
จากข้างต้น จึงสามารถสรุปได้ว่า
น้ำหนักรวม (Gross/Actual Weight) เป็นน้ำหนักที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ในทุกกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศ และเป็นน้ำหนักที่ใช้อ้างอิงในทุกกิจกรรมหรือเอกสารหลักทุกอย่าง เว้นแต่เรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายหรือชดเชยความเสียหายของสินค้าเท่านั้น ที่สายการบินมักใช้น้ำหนักสุทธิของสินค้า
ตอนต่อไป เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับน้ำหนักปริมาตรของสินค้า กันครับ
ค่าขนส่งสินค้าทางอากาศ ตอนที่ 4
ติดตามความรู้ ข่าวสาร และกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ :
เพจ การขนส่งสินค้าทางอากาศ
Facebook Public Group : AC TEAM : ชุมชนการขนส่งสินค้าทางอากาศ
โฆษณา