Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sopon's Blog : โสภณชวนอ่าน
•
ติดตาม
21 ส.ค. 2022 เวลา 13:17 • ความคิดเห็น
ไม่เก่ง แต่ยังอวดเก่ง : รู้จัก Dunning-Kruger Effect ทฤษฎีจิตวิทยาที่อธิบายว่าทำไม ‘คนไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้’
วันที่ 19 เมษายน 1995 เกิดเหตุการณ์ปล้นธนาคารสองแห่งที่เมืองพิตต์สเบิร์กกลางวันแสก ๆ แถมไม่พอคนร้ายไม่สวมหน้ากากปกปิดหน้าตาเลยแม้แต่น้อย
1
สักพักตำรวจก็ไปเคาะประตูหน้าบ้านของ McArthur Wheeler ผู้ต้องสงสัยและสุดท้ายเขาก็ถูกจับเพราะหลักฐานจากกล้องวงตรปิดแน่นหนาว่าเขาเป็นหัวขโมยตัวจริง
ระหว่างที่โดนจับเขาก็พูดประโยคหนึ่งว่า “แต่ผมทาน้ำมะนาวแล้วนี่หน่า!!!”
เขาพูดแบบนั้นเพราะเชื่อว่าตัวเขานั้น ‘ล่องหนอยู่’ เพราะเขาได้ทาหน้าเข้าด้วยน้ำมะนาวแล้ว ถ้าใครเคยทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ตอนเป็นเด็กจะทราบดีว่าน้ำมะนาวใช้ทำการทดลองหมึกล่องหนได้ เขาเลยคิดว่าน้ำมะนาวเมื่อทาบนใบหน้า ก็ต้องล่องหนเช่นเดียวกับน้ำหมึกสิ!
1
เรื่องนี้ไปเตะตานักวิจัยด้านจิตวิทยาสังคม 2 คนชื่อ เดวิด ดันนิ่ง (David Dunning) กับ จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) เข้าให้ พวกเขาเริ่มสงสัยว่าทำไมคนที่ความสามารถเพียงเล็กน้อยหรือมีความรู้น้อยสุด ๆ มักจะคิดว่าตัวเองฉลาดและเก่งกว่าที่เป็นอยู่จริง ๆ
จนกลายมาเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงว่า “Dunning-Kruger Effect”
หลังจากที่ทำการทดลองและวิจัยหลายครั้ง พวกเขาก็สรุปว่า
คนมักจะไม่รู้ว่าตนเองไม่เก่ง เพราะพวกเขาไม่มีทักษะมากพอที่จะเห็นความผิดพลาดตรงนั้น
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ผมเรียนเล่นกีตาร์สักเดือนสองเดือน ผมก็คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว เล่นได้สี่ห้าคอร์ด ทั้ง ๆ ที่ความจริงคือห่างไกลจากคำว่าเก่งแบบคนละโลก แต่ผมไม่รู้ว่าตัวเองไม่เก่ง เพราะไม่มีทักษะที่มากเพียงพอจะเห็นว่าตัวเองไม่เก่งนั่นเอง
มันเป็นรูปแบบหนึ่งของอคติทางความคิด (Cognitive Bias) ของมนุษย์ที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็เป็นกันได้ ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เชื้อชาติไหนก็ตาม เป็นเหมือนทางลัดของสมองที่พยายามสรุปให้ไวที่สุด (แม้จะผิดก็ตาม)
รู้ได้ยังไงว่าเรากำลังเผชิญกับ Dunning-Kruger Effect?
1. จะไม่เปิดรับเสียงวิจารณ์หรือความช่วยเหลือจากคนอื่น - มักจะคิดว่าเจอจู่โจมหรือโดนว่าร้ายใส่
2. มักจะมั่นใจสุด ๆ ไปเลย - ความมั่นใจไม่ใช่เรื่องแย่ แต่ ‘มั่นใจเกินไป’ ไม่ใช่เรื่องดี มักจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ‘พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้’ อยู่บ่อยครั้ง
ในสถานที่ทำงานบอกเลยว่ามันยากมากที่จะทำงานกับคนแบบนี้ หัวหน้าแบบนี้ หรือ เพื่อนที่ทำงานแบบนี้ เราเองก็อาจจะอยู่ในภาวะแบบนี้ด้วย
ทะเยอทะยาน แข่งขันกับทุกอย่าง ไม่ยอมฟังความคิดเห็น พอถูกตักเตือนหรือแนะนำก็คิดว่าคนอื่นอิจฉาและกำลังถูกโจมตีอยู่ ถ้ารู้จักคนแบบนี้อาจจะต้องพึงระวัง ถ้าเรากำลังเป็นแบบนี้ก็ควรจะเริ่มกลับมาถามตัวเองแล้วว่านี่เรามั่นใจมากเกินไปรึเปล่านะ เราไม่เก่งแต่ยังอวดเก่ง ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้อยู่รึเปล่านะ
จิตวิทยา
พัฒนาตัวเอง
ไลฟ์สไตล์
8 บันทึก
15
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พัฒนาตนเอง
8
15
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย