21 ส.ค. 2022 เวลา 23:36 • สุขภาพ
#ต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลอยู่ที่ไหน
สวัสดีทุกคนครับ วันนี้ คุยเฟื่องเรื่องศัลย์ เราจะมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเรื่องราวของต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล ที่มีหน้าที่ดักจับเซลล์มะเร็งเต้านมกันต่อนะครับ
จากความเดิมตอนที่แล้วที่หมอเล่าเกี่ยวกับต่อน้ำเหลืองเซนทิเนล (SENTIENEL แปลว่า ยามรักษาการณ์) https://www.blockdit.com/posts/62fbde9cd1e2fc401f2d9908
ในวันนี้ หมอจะมาเล่าเรื่องต่อเกี่ยวกับการหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลตอนที่เราผ่าตัดให้ทุกคนได้ฟังกันครับ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลคือต่อมน้ำเหลืองเม็ดแรกที่คอยตรวจเช็คดักจับเซลล์มะเร็งเต้านม ดังนั้น การผ่าตัดเพื่อหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลในคนไข้มะเร็งเต้านมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นตัวบอกว่ามีการกระจายของมะเร็งเต้านมมาที่ต่อมน้เหลืองรักแร้หรือยัง ซึ่งจะทำให้ระยะของมะเร็งเต้านมเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง
คำถามคือเราจะหาเจ้าต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลนี้ได้อย่างไร
การหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลตอนผ่าตัดสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.การฉีดสารรังสี technetium99m – labelled sulfur colloid เป็นเวลา 30นาทีถึง8ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แล้วขณะผ่าตัดก้ใช้เครื่องGAMMA PROBEเพื่อสแกนหหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล โดยวิธีนี้สามารถหาตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลได้แม่นยำถึง 98% แต่เนื่องจาก 99mTc เป็นสารกัมมันตภาพรังสี จึงทำให้การเก็บรักษาค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง รพ.ในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ วิธีที่ 2 มากกว่า
2.การฉีดสาร ISOSULFAN BLUE 3-5 มิลลิลิตร เข้าที่ก้อน หรือผิวหนัง ก่อนลงมีด 5-10 นาที ซึ่ง วิธีนี้สามารถทำได้โดยง่าย และไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจจับรังสี จึงเป็นที่นิยมใน รพ.ประเทศไทย และความแม่นยำในการหาต่อมน้ำเหลืองก็สามารถทำได้สูงถึง 88-93.5% เลยทีเดียว
3.การฉีดสารINDOCYANINE GREENร่วมกับกล้องชนิดพิเศษ ที่ทำให้เห็นต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นวิธีใหม่ที่กำลังได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง เพราะสามารถหาต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลได้สำเร็จถึง 88-100 %
สำหรับการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนล หลังจากที่ได้ฉีดสารระบุตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองแล้ว
(ที่ผิวหนังเหนือก้อนมะเร็ง หรือ ที่ผิวหนังบริเวณลานนม) ศัลยแพทย์จะลงมีดที่บริเวณรักแร้เพื่อหาท่อทางเดินน้ำเหลืองแล้วไล่ตามท่อไปจนเจอต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเม็ดแรกที่ติดสี แล้วจึงผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้ออกมาส่งตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่ ถ้ามีเซลล์มะเร็งแอบซ่อนอยู่ ก็จะทำหารผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองรักแร้ของคนไข้ออกทั้งหมด
ถ้าคุณมีความผิดปกติที่เต้านมอย่ารอช้า รีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจรักษากันนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์
References
1. Estimated number of incident cases, worldwide (top 10 cancer sites) in 2012. International Agency for Research on Cancer. http://gco.iarc.fr/ today/online-analysis-pie?mode=cancer&mode_population=contine nts&population=900&sex=2&cancer=15&type=0&statistic=0&preva lence=0&color_palette=default. Accessed August 12th, 2017.
2. Breast cancer: estimated incidence, mortality and prevalence worldwide in 2012. International Agency for Research on Cancer. http:// globocan.iarc.fr/Pages/fact_sheets_cancer.aspx. Accessed August 12th, 2017.
3. Cancer stat facts: female breast cancer. National Cancer Institute: Surveillance, Epidemiology and End Results Program. https://seer. cancer.gov/statfacts/html/breast.html. Accessed August 12th, 2017.
4. Halsted WS. I. The results of radical operations for the cure of carcinoma of the breast. Ann Surg 1907;46:1-19.
5. Sleeman J, Schmid A, Thiele W. Tumor lymphatics. Semin Cancer Biol 2009;19:285-97.
6. Nemoto T, Vana J, Bedwani RN, Baker HW, McGregor FH, Murphy GP. Management and survival of female breast cancer: results of a national survey by the American College of Surgeons. Cancer 1980;45: 2917-24

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา