Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TopNewsFocus
•
ติดตาม
22 ส.ค. 2022 เวลา 07:43 • การเมือง
นับถอยหลัง 8 ปี “นายกฯ ประยุทธ์” กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ซึ่งจุดเปลี่ยนครั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่จะถึงนี้ จะเป็นวันครบรอบระยะเวลา 8 ปี ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคที่สี่ระบุไว้ว่า
“นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”
ทำให้เกิดการยื่นตีความไปยังศาลรัฐธรรมนูญถึงประเด็นนี้ และมีการชุมนุมของกลุ่มประชาชนจากหลายภาคส่วนที่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ หยุดการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แน่นอนว่าเรื่องนี้ถือเป็นเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองไทยเป็นอย่างมาก เพราะรู้กันดีว่า พล.อ.ประยุทธ์ และขั้วอำนาจทางการเมืองของเขานั้นครองอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัฐบาลคสช. แต่เรื่องที่น่าสนใจกลับไม่ได้มีแค่การตีความการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ เท่านั้น เพราะว่ากันตามจริง โอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตีความให้ พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากตำแหน่งนั้นยังมีความซับซ้อนทางกฎหมายมากพอสมควร
เพราะแม้หลายฝ่ายจะอ้างบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 จะระบุว่า
“ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่”
ซึ่งก็ยังมีช่องทางในการตีความที่แตกออกไปได้อีกหลายทิศทาง แน่นอนว่าหากตีความว่า พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี แล้วย่อมเป็นเรื่องง่ายในทางการเมือง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะต้องพ้นออกจากตำแหน่งไปทันที และรัฐสภาจะต้องมีการคัดเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
แต่หากตีความออกมาอีกแบบว่ายังดำรงตำแหน่งไม่ครบ 8 ปี ปัญหาจะตามมามากกว่านั้น เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องระบุว่าการนับเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 นั้นเริ่มต้นเมื่อไหร่ และต้องสิ้นสุดลงวันไหน ตัวเลือกก็มีอยู่ 2 ทาง คือ เริ่มต้นในวันที่ 6 เมษายน 2560 ตามวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ หรือ เริ่มต้นในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 หรือวันที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
โดยหากตีความแบบแรก พล.อ.ประยุทธ์ จะครบวาระ 8 ปี ในวันที่ 6 เมษายน 2568 และแบบที่สองจะครบวาระวันที่ 10 กรกฎาคม 2570 ทั้งสองกรณีคือหาก พล.อ.ประยุทธ์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง
คำถามที่น่าสนใจก็คือ หากตีความแบบแรก การเลือกตั้งครั้งต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ จะเหลือเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตีอีกเพียง 2 ปีเศษเท่านั้น การจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อไปก็ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าจะบอกกับประชาชนอย่างไรดี
ทั้งหมดที่กล่าวมายังไม่รวมถึงทิศทางและแรงกระแทกทางการเมืองหาก ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การชุมนุมประท้วงขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ ครั้งใหม่ และอาจจะรุนแรงกว่าเดิมก็เป็นได้ แน่นอนว่าหากเป็นเช่นนั้นอุณหภูมิทางการเมืองของไทย รวมไปถึงสมการต่างๆ จะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
โฟกัสทุกความเคลื่อนไหว ที่น่าสนใจและอัดแน่นไปด้วยสาระ ที่ TopNewsFocus เลือกสรรมาให้คุณเติมอาหารสมองกันได้ทุกวัน
ติดตาม Topnewsfocus ได้ทุกช่องทางที่
Website :
https://topnewsfocus.com/
facebook :
https://www.facebook.com/Topnewsfocus
Twitter :
https://twitter.com/Topnewsfocus
การเมือง
ประยุทธ์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย