Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2022 เวลา 02:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิกฤตอสังหาจีน
1
หนึ่งในประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในช่วงต่อไป ก็คือ วิกฤตอสังหาจีน
3
หลายคนถาม - ทำไมจีนต้องลดดอกเบี้ย ขณะที่ประเทศอื่นๆ เกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเร่งขึ้นดอกเบี้ย
คำตอบ - จีนกำลังเผชิญปัญหาที่คนอื่นไม่มี
ปัญหาเริ่มตั้งแต่กรณี Evergrande เมื่อปีที่แล้ว
ลุกลามบานปลายขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่ง อสังหารายใหญ่สุดของจีน คือ Country Garden ก็ยังเอาตัวไม่รอด ลำบากสุดสุด
ล่าสุดในภาพ จะเห็นว่า หุ้นกู้สกุลดอลลาร์ครบกำหนดปี 2024 ของ Country Garden ซื้อขายกันอยู่ที่ประมาณ 50% ของราคาเต็ม
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เคยลงไปต่ำสุดที่ประมาณ 31% !!!
จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบริษัทอสังหาจีนทุกขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ต่างเข้าสู่ช่วงคับขัน ขาดสภาพคล่อง กันถ้วนหน้า
ยิ่งนานวัน ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะหากหุ้นกู้ที่มีอยู่เดิม ซื้อขายกันราคานี้ การออกหุ้นกู้ใหม่ คงเป็นไปได้ยากยิ่ง
ดอกเบี้ยที่อสังหาจีนจะต้องจ่าย เพื่อให้ได้เงินใหม่มาหมุน จึงแพงขึ้นเป็นพิเศษ
นำไปสู่เหตุการณ์ “โครงการสร้างไม่เสร็จ”
ล่าสุด นำไปสู่การประท้วงของลูกบ้านที่ไม่ยอมจ่ายคืนเงินสินเชื่อบ้าน ในโครงการเหล่านั้น
Bloomberg รายงานว่า จากจุดเล็กๆ จากจดหมายประท้วงสั้นๆ 590 คำ ของลูกบ้านในโครงการ Dynasty Mansion Project ของ Evergrande ที่มณฑลเจียงซี
1
แจ้งเพื่อทราบว่า “ถ้าไม่เริ่มสร้างต่อ ลูกบ้านก็จะไม่จ่ายเงินเช่นกัน”
ในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่สัปดาห์ ได้แพร่ระบาดไปยังเมืองต่างๆ ประมาณ 100 เมือง 300 กว่าโครงการ
1
กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตอสังหาจีน
เพราะปัญหาเรื่องนี้กำลังกระจายออกจาก “ภาคอสังหา” ไปสู่ “ภาคการเงิน” ที่เป็นคนปล่อยกู้
ทำให้ทางการไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้เป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องของ
ภาคอสังหา ที่จะต้องจัดการปัญหาโดยลำพัง อีกต่อไป
1
เพราะถ้าปล่อยไป เราอาจจะเห็นภาพของคนไปยืนรอถอนเงินอีกหลายธนาคารท้องถิ่น ในจีน
ทำให้วิกฤตอาจจะลุกลามขึ้นไปอีกขั้น
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?
วิกฤตฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในประเทศต่างๆ
ญี่ปุ่นประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 1991
ไทยเคยประสบปัญหานี้เมื่อก่อนปี 1997
สหรัฐประสบปัญหาในช่วงก่อนปี 2008
ทุกครั้งที่เกิด จะส่งผลกระทบกว้างไกลในประเทศดังกล่าว
ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนที่ใหญ่
1
มี Supply chain ที่ยาว ส่งต่อไปถึงภาคส่วนอื่นๆ ภาคก่อสร้าง วัสดุ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งบ้าน และอื่นๆ
หลายสำนักประเมินไว้ว่า ภาคอสังหาของจีนมีสัดส่วนใหญ่ถึง 25-30% ของ GDP จีน
หมายความว่า เมื่ออสังหาจีนเกิดวิกฤต ก็จะมีนัยยะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม
1
จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมจีนที่เคยขยายตัวดีมาตลอด ตอนนี้ กำลังมีปัญหาในการขยายตัว
Goldman Sachs ปรับลดอัตราขยายตัวปี 2022 ของจีนจาก 3.3% เหลือ 3.0% ส่วน Nomura จาก 3.3% เหลือ 2.8%
การผลิตซีเมนต์ เหล็กกำลังลดลง
ตัวเลขการใช้จ่ายด้านต่างๆ ต่ำกว่าที่เคยคาดกันไว้
ล่าสุด เด็กที่จบใหม่ 20% หางานทำไม่ได้ !!!
ทั้งหมด เป็นสัญญาณเตือนภัยว่า ปัญหากำลังรออยู่ข้างหน้า
2
และสถานการณ์เรื่องนี้ กำลังคับขันมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วทางออกคืออะไร?
การจะออกจากวิกฤตภาคอสังหา ต้องเริ่มจากความเข้าใจที่ว่า “ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว”
คำถามหลัก คือ จะจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วอย่างไร
1
จะให้ “ใคร” เป็นคนรับภาระบ้าง
ความเสียหายเริ่มมาจาก “โครงการที่ไม่เสร็จ” “ราคาที่เพิ่มสูงไปแล้วตกลง” “ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้”
กลายเป็นหนี้เสีย NPL ในระบบการเงินและเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ หากจัดการไม่ดี อาจจะมีหนี้เสียเพิ่มเติมจากภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจมาให้ทางการแก้ไขเพิ่มเติม จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวน้อยกว่าที่ทุกคนคาดมาก ทำให้แผนธุรกิจของหลายๆ บริษัท ไม่เป็นไปตามเป้า อย่างที่เกิดในไทยเมื่อปี 1997
2
ทั้งนี้ เวลาเกิดวิกฤตอสังหา ปกติแล้วมีทางออกอยู่ 2 ทาง
ทางแรก - แบบไทยหรือสหรัฐ ยอมเกิดวิกฤตใหญ่เพื่อล้างปัญหา
ภาคอสังหา แบงค์ เจ้าหนี้หุ้นกู้ ผู้ฝากเงิน ต่างรับภาระไปบางส่วน โดยสุดท้ายแล้ว ทางการต้องยอมรับหนี้เสียต่างๆ เข้ารัฐ อย่างที่ไทยทำในช่วงปี 1997 เพื่อที่จะให้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
2
ไทยเสียเวลาไป 4-5 ปี ในการสะสางปัญหา สหรัฐประมาณ 5 ปีกว่าที่ทุกอย่างจะกลับดีขึ้น
ทางที่สอง – แบบญี่ปุ่น ที่ประคองเลี้ยงปัญหาไว้ไม่ให้ลุกลามกลายเป็นวิกฤต แต่สุดท้ายหนี้เสียที่ฝังตัวอยู่ในระบบไม่ได้รับการคลี่คลาย สุดท้ายญี่ปุ่นก็ต้องเสียหายเช่นกัน Pay the Price โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่สามารถขยายตัวได้เป็นเวลานับสิบกว่าปี กลายเป็น “ทศวรรษที่หายไป” หรือ “Lost decades”
3
ทั้งนี้ สาเหตุที่การคลี่คลายวิกฤตอสังหาต้องใช้เวลานับ 4-5 ปี ก็เพราะว่า การจะออกจากวิกฤตได้ แบงก์ต้องตัดหนี้เสียออกไปจากบัญชี ต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่กินเวลา โดยเฉพาะในการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้
ในอีกด้าน ทางการต้องพยายามเพิ่มทุนใหม่ให้ภาคแบงค์ เพื่อให้เป็นฐานใหม่ในการฟื้นเศรษฐกิจ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาเช่นกัน
1
สำหรับกรณีของประเทศจีน หากบริหารปัญหาดีดี จากความสามารถในการสั่งการของทางการ จีนอาจสามารถลดเวลาในการแก้ไขปัญหาให้เหลือ 2-3 ปีนับจากเกิดวิกฤตได้ เพราะทางการน่าจะสามารถสั่งให้เจ้าหนี้ตกลงกันได้ว่าจะ hair cut เท่าไร สามารถสั่งเร่งกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้จบ นอกจากนี้ ทางการจีนก็มี balance sheet ที่สะอาดมาก มีกำลังเหลือพอสมควรที่จะมารับความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วเข้าสู่ภาครัฐ เพื่อให้ระบบเดินได้ต่อไป
3
แต่ในช่วงของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวต่ำกว่าปกติไประยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมีนัยยะต่อการส่งออกของประเทศต่างๆ รวมถึงต่อการที่สินค้าจีนซึ่งปกติผลิตเพื่อใช้ในประเทศ เหล็ก ปูน วัสดุต่างๆ จะหลั่งไหลออกมาสู่ตลาดโลกมากขึ้น และกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
2
ทั้งนี้ ยังคงเร็วไปที่เราจะสรุปว่าจะทั้งหมดนี้ จะจบแบบไหน
มวยยกนี้ แค่ยกต้นๆ เท่านั้น
ทางการจีนยังมีเครื่องมือทางนโยบายอีกมาก ที่ยังไม่ได้ใช้ให้เต็มที่
ดอกเบี้ยที่ยังลดได้อีก สภาพคล่องที่ยังสามารถปล่อยออกมาเพิ่ม ค่าเงินหยวนที่สามารถอ่อนลงจากระดับปัจจุบัน และรัฐบาลก็ยังสามารถจัดเงินพิเศษมาช่วยเหลือ (ดังที่ประกาศไปล่าสุดว่าจะจัดตั้งสินเชื่อพิเศษ 2 แสนล้านหยวนเพื่อช่วยให้โครงการที่ขายแล้วแต่สร้างไม่เสร็จให้เดินต่อไปได้) และยังสามารถรับหนี้เสียของเอกชนเข้าสู่ภาครัฐต่อไป
1
นโยบายที่ทางการจีนเลือกในช่วงต่อไป จะกำหนดเส้นทางของวิกฤต
คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า จะเกิดอะไรขึ้นครับ
#ท่องเศรษฐกิจกับดรกอบ #วิกฤตอสังหาจีน
ขอขอบคุณภาพจาก Bloomberg ครับ
ผู้เขียน : กอบศักดิ์ ภูตระกูล
1
จีน
เศรษฐกิจ
การลงทุน
54 บันทึก
58
2
114
54
58
2
114
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย