23 ส.ค. 2022 เวลา 10:30 • หนังสือ
บางครั้ง คำพูดจากหัวใจเพียงคำเดียว
เยียวยาบาดแผลอันยาวนานแก่คนฟังได้
และสามารถส่งผลตรงกันข้ามได้เหมือนกัน
การเลือกใช้คำพูด จึงสำคัญมาก ๆ
แม้คำพูดเดียวกันก็ทำร้ายใจคนฟังได้
"ใช้คำพูดเป็น ยกใจคน ไม่ทำให้ใจฟัง"
เทคนิค 8 ขั้นตอน
ขัดเกลาคำพูดให้ออกมาจากภายใน
ให้ตราตรึงใจคนฟังไม่รู้ลืม
จากหนังสือ พลังภายในคำพูด
หนังสือที่ วี วง BTS อ่าน BESTSELLER ในเกาหลี และญี่ปุ่น
พิกัด >> นายอินทร์ : https://bit.ly/3wmlPjq
หนังสือ พลังภายในคำพูด
ขั้นที่ 1. การฝึกฝน
หัวใจหลักของการฝึกฝนการพูด คือ การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง
และคุ้นเคยกับการจัดการความรู้สึก ควบคุมอารมณ์ของตัวเอง
ต้องเห็นคุณค่าของตัวเองก่อน มีความเชื่อมั่น
จึงจะใช้ภาษาได้อย่างแข็งแรง และไม่โอ้อวดตัวเองจนเกินไป
รักและเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้ง ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง
พร้อมกับเสริมความเชื่อมั่นในตัวเอง
และจัดการกับความรู้สึกภายในใจได้เป็นอย่างดี
ถ้าอยากให้คำพูดน่าเชื่อถือ ก็ต้องเป็นคนน่าเชื่อถือ
เราเป็นคนแบบไหน คำพูดก็จะเป็นแบบนั้น
เปรียบเสมือนเปลี่ยนภาชนะใส่คำพูด
ตัวเราคือภาชนะ คำพูดคือน้ำ
"หากภาชนะเหลี่ยม น้ำในภาชนะก็เหลี่ยม" (ซุนจื้อ)
ขั้นที่ 2. ปรับเปลี่ยนทัศนคติ
ทัศนคติ การมองโลก มุมมอง ต่างสะท้อนจากคำพูดของ
การสร้างทัศนคติที่ดีส่งผลให้ใช้คำพูดได้ดีขึ้น
ทัศนคติเปลี่ยน คำพูดเราก็จะเปลี่ยน
เราสร้างทัศนคติใหม่ได้ใน 4 วิธี
1. ขยายขอบเขตความรู้ของตัวเอง อย่ากลัวการเรียนรู้
2. ไม่ย่อท้อต่อแรงกดดัน
3. ฝึก Critical Thinking ไม่เป็นคนที่น้ำเต็มแก้ว
4. เริ่มเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราเองก่อน
ขั้นที่ 3. สติปัญญา หากอยากได้คำพูดลึกซึ้ง
การอ่านสำคัญ ช่วยเพิ่มความรู้
และความเข้าใจความหลากหลายมากขึ้น
อ่านเพื่อเข้าใจมุมมองของผู้เขียน เหตุผลต่าง ๆ ของผู้เขียน
รับรู้ตัวเองก่อนที่จะเอ่ยคำใด ๆ ออกไป
วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันให้ออก
ขั้นที่ 4. ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการพูดให้แปลกใหม่
เชื่อว่าเราทำได้ หรือ เอาคำว่าฉันทำไม่ได้ออกไปก่อน
อย่าดูถูกศักยภาพของตัวเอง
หมั่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ กับคนที่เก่ง ๆ
ยิ่งแลกเปลี่ยนความคิด ยิ่งเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้พูดอะไรใหม่ ๆ มากขึ้น
จัดระเบียบความคิดด้วยการจดบันทึก
เมื่ออ่านสิ่งที่เราเขียน ก็จะทำให้นำไปปรับปรุงและเข้าใจตัวเองมากขึ้น
และถ้าได้แบ่งปันที่จดบันทึกก็ยิ่งที่เป็นที่ดี ได้พัฒนาผ่านการวิจารณ์ของผู้อื่นด้วย
ขั้นที่ 5. การฟัง
ถ้าอยากได้คนที่เปิดรับฟัง ต้องฟังก่อน
รับฟังอย่างจริงใจ จะเปิดใจฝ่ายตรงข้ามได้ดีกว่าการพูด
เมื่อเราตั้งใจฟัง อีกฝ่ายก็จะตั้งใจฟังที่เราพูด
ถ้าเราไม่ใส่ใจฟัง เราก็จะไม่ได้ยิน
เราต้องเอาใจใส่ที่จะฟังคำพูดของอีกฝ่าย
การฟังไม่ใช่แค่ฟังเงียบ ๆ แต่รวมถึงการแสดงท่าทางอย่างเหมาะสม
แสดงออกว่าเราตั้งใจฟังที่เขาพูดอย่างใจจริง
ทำให้เกิดความรู้สึกความเป็นพวกเดียวกันกับเขา
"การสื่อสารทำให้เราใจกัน และการเข้าใจกันทำให้การสื่อสารดีขึ้น"
ขั้นที่ 6. คําถาม หากต้องการถามและตอบให้ดี
ฝึกการตั้งคำถาม คำถามที่ดีจะผ่านการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน
การตั้งคำถาม สงสัยในสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง
ลองถามอย่างอ่อนโยนและเข้าใจอีกฝ่าย
เช่น เธอคิดอย่างไรบ้าง หรือคำถามที่ดูไม่รู้สึกว่าอีกฝ่ายถูกสอบสวน
เปิดโอกาสให้เขาได้พูด แสดงความคิดเห็นว่า เขาคิดอะไรอยู่
การตั้งคำถามที่ดีมักมาจาการฝึกเป็นผู้ฟัง ผู้คิดที่ดี
ขั้นที่ 7. วาทศิลป์ ศิลปะในการพูด
คิดก่อนพูด ไม่พูดมากเกินไป
ลองสวมบทบาทเป็นพิธีกร ปล่อยให้เขาพูด
เพื่อดูว่าเราต้องไปปรับปรุงตรงไหน ฝึกซ้อมตรงไหมเพิ่มอีก
การพูดที่ได้ดีไม่ใช่แค่มีวาทศิลป์ แต่เราต้องใส่ใจ และอ่านสถานการณ์ต่าง ๆ
เข้าใจเข้าถึงใจคู่สนทนา คำพูดนั้นออกมาจากใจของเรา
ส่งต่อความจริงใจนั้น ผ่านความรู้สึกไปยังในใจของคู่สนทนาของเรา
ขั้นที่ 8. ความเป็นอิสระ
รับผิดชอบต่อคำพูดที่พูดไป คิดให้ลึกซึ้งก่อนที่จะพูดออกมา
รักษาคำพูด ปฏิบัติได้ตามที่พูดได้จริง แม้จะเป็นคำพูดเดียวกัน
คนเราจะเชื่อคำพูดของคนพูดที่น่าเชื่อถือมากกว่า
การพูดสิ่งที่คิดทันที อาจะเป็นเรื่องดี
แต่ทุกคำพูดนั้น ย้อนกลับมาหาเราได้เสมอ
"ความสำเร็จหรือความล้มเหลว
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราพูดมากแค่ไหน
แต่ขึ้นอยู่ที่ว่า เราเลือกใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน"
นี่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ที่เราตกตะกอนมาบางส่วน
ในหนังสือเล่มไม่ได้สอนให้เราพูดตรง ๆ
แต่ให้เราได้คิดตาม ขบคิดอย่างช้า ๆ
พร้อมกับยกตัวอย่างการใช้ถ้อยคำ
ของนักปราชญ์ชื่อดังของโลก
ทั้งฝั่งตะวันตก ตะวันออก
ที่จะมาให้คำพูดของเรา
ยกใจคนฟัง และตราตรึงอยู่ในใจคนไม่รู้ลืมครับ
พิกัด >> นายอินทร์ : https://bit.ly/3wmlPjq
#เกลานิสัยอันตราย
#เกลาไปพร้อมกัน
#รีวิวหนังสือ
โฆษณา