Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
McDB
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2022 เวลา 10:00 • อสังหาริมทรัพย์
10 ข้อ เปรียบเทียบ PREFAB vs CONVENTIONAL
Conventional Structure หรือโครงสร้างแบบธรรมดาที่ตัวโครงสร้างถูกสร้างขึ้นที่สถานที่จริง เป็นรูปแบบของโครงสร้างที่ใช้กันมานาน แต่ปัจจุบันกลับเริ่มมีโครงสร้างรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาแทนที่ Prefab เองก็เป็นหนึ่งในนั้น อะไรคือจุดแข็งหรือจุดอ่อนของ Prefab ที่ทำให้โครงสร้างรูปแบบนี้อาจเปลี่ยนอนาคตของการก่อสร้างไปโดยสิ้นเชิง
1. จุดเด่นอยู่ที่การทำซ้ำ - หากต้องการก่อสร้างโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น สร้างบ้านแบบเดียวกันหลายๆหลัง หรืออาจเป็นอาคารสูงหลังเดียวที่มีผนังเหมือนกันหลายๆชั้น เป็นต้น โครงสร้างแบบ Prefab จะช่วยประหยัดค่าก่อสร้างได้มากกว่าโครงสร้างแบบธรรมดา ทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนความซ้ำของโครงสร้าง*
2. เปลี่ยนเวลาก่อสร้างหน้างานเป็นเวลาก่อสร้างในโรงงาน - ด้วยขั้นตอนการก่อสร้างที่ทำในโรงงานเกือบ 100% เหลือเพียงขั้นตอนการติดตั้งหน้างาน ทำให้โครงสร้างแบบ Prefab ช่วยประหยัดเวลาการก่อสร้างที่ซับซ้อนลงได้มาก สามารถเข้าใช้งานอาคารไม่ว่าจะเพื่อการพักอาศัยหรือการทำธุรกิจได้เร็วขึ้น
3. ควบคุมคุณภาพได้ดี - ด้วยสภาพแวดล้อมในโรงงานที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ในทุกขั้นตอน จึงได้โครงสร้างที่เรียบไม่มีรอยร้าว ลดความผิดพลาดในการทำงานทำให้ได้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงถูกต้องตามแบบ
4. ใช้แรงงานน้อยลง - แรงงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือฝ่ายผลิตและฝ่ายติดตั้ง ซึ่งสามารถให้แรงงานได้ทำงานตามที่ถนัด และสามารถจัดการให้เป็นระบบทำซ้ำ ลดความผิดพลาดและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานได้
5. โครงสร้างที่มากกว่าย่อมมีความแข็งแรงมากกว่า - ส่วนผนังของโครงสร้างแบบ Prefab เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่สามารถรับแรงได้ทั้งหมด ต่างจากโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้ผนังอิฐที่ไม่สามารถรับแรงได้ ทำให้โครงสร้างโดยรวมของ Prefab แข็งแรงกว่าแบบธรรมดา ทั้งนี้ขึ้นกับรอยต่อโครงสร้างที่มีคุณภาพด้วย
6. งานก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า - เนื่องด้วยการควบคุมคุณภาพภายในโรงงาน จึงจัดการกับปัญหาฝุ่นละอองได้ดีกว่า และเกิดเศษวัสดุก่อสร้างเหลือทิ้งน้อยกว่าเทียบกับการก่อสร้างแบบหล่อในที่
7. รอยต่อโครงสร้าง - เนื่องจากโครงสร้างไม่ได้หล่อต่อเนื่องเป็นชิ้นเดียวกัน รอยต่อระหว่างชิ้นส่วนโครงสร้างจึงอาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี ทั้งการใช้เคมีภัณฑ์บริเวณรอยต่อ รูปแบบลักษณะของรอยต่อ รวมถึงการจัดวางตำแหน่งรอยต่อให้เหมาะสม
8. การดัดแปลงโครงสร้างทำได้ยาก - เนื่องจากเกือบทุกชิ้นส่วนของอาคารเป็นโครงสร้างรับน้ำหนัก การดัดแปลงต่างๆ เช่น ทุบผนัง เจาะผนัง จึงไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างยังมีความแข็งแรงปลอดภัย
9. เพิ่มขั้นตอนการขนส่ง - เนื่องจากสถานที่ผลิตและติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างอยู่คนละที่กัน จึงต้องมีขั้นตอนการขนส่งชิ้นส่วนเพิ่มเติม ซึ่งชิ้นส่วนต้องได้รับการคำนวณน้ำหนักอย่างดีเพื่อให้สามารถขนส่งได้ตามกฏหมายและสามารถยกติดตั้งได้เหมาะสม
10. การออกแบบที่ซับซ้อนและใช้เวลามากกว่า - โครงสร้าง prefab เป็นโครงสร้างชนิดพิเศษที่มีลักษณะการรับแรงที่ซับซ้อนกว่าเสา-คาน ทั้งยังต้องคำนึงถึงความไม่ต่อเนื่องของโครงสร้างบริเวณรอยต่อ การออกแบบที่ถูกต้องจึงต้องอาศัยความรู้ของวิศวกรเฉพาะด้าน รวมถึงต้องอาศัยความละเอียดในขั้นตอนการออกแบบเพื่อให้ชิ้นงาน prefab สามารถประกอบกันได้อย่างลงตัว
* เปลี่ยนโครงสร้างแบบธรรมดาเป็นแบบ prefab ประหยัดกว่าจริงหรือไม่? ให้เราศึกษาจุดคุ้มทุน (Feasibility Study) ให้โครงการของคุณ
ออกแบบโครงสร้าง prefab โดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ prefab โดยเฉพาะ ประสบการณ์ออกแบบกับ developer ชั้นนำของเมืองไทยมากกว่า 10 ปี
โทร 087-391-3420 คุณธิติ (วิศวกรโครงสร้างอาวุโส)
เยี่ยมชมเว็บไซต์
www.mcdb.co.th
การออกแบบ
รับเหมาก่อสร้าง
บ้าน
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย