Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขนมปังยามเช้า
•
ติดตาม
23 ส.ค. 2022 เวลา 13:00 • ประวัติศาสตร์
ขอให้โลกนี้ไม่มีพันธุฆาต (No More! Genocide)
EP2: 🧱นักบุญ/ ซาตาน/ แรงงาน/ และเขตกักกัน
@ Plac Bohaterów Getta เป็นจัตุรัสเดียวที่ตั้งอยู่ในเขตกักกันชาวยิวของเมืองคราคุฟ (Krakow Ghetto) เมื่อราว 80 ปีก่อนนาซีใช้สถานที่แห่งนี้เป็นลานสังหาร & dehumanization ชาวยิวที่นี่
วันที่สองของ…
Holocaust and Genocide studied workshop
หลังจากคราวก่อนเราได้รู้จักกับย่านที่อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยโบรัมโบราณของชาวยิวในคราคุฟอย่าง Kazimierz กันมาแล้ว วันนี้ทางผู้จัดงานจึง shift focus ไปที่เรื่องราวของเมืองคราคุฟในยุคสมัยที่นาซีเข้ามายึดครอง (ช่วงปี ค.ศ.1939-1945) ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ผ่านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ 3 แห่ง ได้แก่ Krakow Ghetto, Oskar Schindler’s factory และ Plazow labour camp and execution center ซึ่งจะขอสรุปไว้ดังนี้ …
มะ เริ่มกันเลย
วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1939 ประชาชนชาวโปแลนด์ทั่วประเทศมีการจัดงานฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในวาระครบรอบ 25 ปี ที่ทหารโปแลนด์เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้คนต่างใช้ชีวิตกันอย่างผ่อนคลาย ทั้งชาวยิวและชาวโปลหลายครอบครัวออกไปเที่ยว และอีกหลายครอบครัวเฉลิมฉลองกันที่บ้าน โดยหารู้ไม่ว่าอีกราวๆ 3 อาทิตย์หลังจากนั้นหายนะกำลังมาเคาะหน้าประตูบ้านของพวกเขาแล้ว
เพราะในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1939 ฮิตเลอร์ตัดสินใจบุกโปแลนด์แบบสายฟ้าแลบ และใช้เวลาเพียง 35 วัน ก็สามารถยึดครองโปแลนด์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ (เพราะในวันที่ 19 กันยายน 1939 โซเวียตของสตาลินก็บุกยึดครองโปแลนด์ด้วย - และเมื่อเจอข้าศึกสองด้านแบบไม่ทันตั้งตัว จาห้ายสู้ยังงาย)
เดือนพฤษภาคม 1940: Hans Frank ผู้ว่าการเมืองคราคุฟซึ่งเป็นนาซีเยอรมันประกาศว่า คราคุฟจะต้องเป็น “เมืองที่บริสุทธิ์(ปราศจากคนยิว)” พรัอมกับที่ฮิตเลอร์ได้ร่างแผนการขับไล่ชาวยิวในรูปแบบต่างๆ ไว้ อาทิเช่น การจะให้ย้ายชาวยิวทั้งหมดไปยังเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา บลา บลา บลา ดังนั้น Frank จึงเริ่มมีการออกคำสั่งเนรเทศชาวยิวบางส่วนในคราคุฟให้ไปอยู่เขตนอกเมือง
เดือนมิถุนายน 1942 Frank สั่งให้ชาวยิวในคราคุฟทุกคนขนของ/ ออกจากบ้านที่ส่วนใหญ่อยู่ในย่าน Kazimierz แล้วเดินข้ามแม่น้ำมาอีกฟากหนึ่ง อันเป็นที่ตั้งของเขตกักกัน (Ghetto) ซึ่งมีกำแพงรูปร่างเหมือนป้ายหลุมศพขนาดใหญ่ล้อมกรอบไว้ทุกทิศทุกทาง -ชาวยิวกว่า 20,000 คนต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในเขตกักกันนี้ (จินตนาการว่า ทาวเฮ้าสองชั้นหลังหนึ่งมีคนใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันประมาณ 17 คนอ่ะ)
ย่าน Ghetto ของชาวยิว
ชีวิตชาวยิวใน Ghetto เต็มไปด้วยความยากลำบาก ทุกข์ทรมานทั้งจากโรคระบาดเนื่องด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด และจากการถูกทหารนาซีซ้อมทรมาน ประหัตประหาร และดูถูกเหยียดหยามต่างๆนานา จนส่งผลให้มีคนตายมากมายใน Ghetto
แต่กระนั้น นาซีเยอรมันก็มีทางให้เลือก(ที่เลือกเองไม่ได้) แก่ชาวยิวใน Ghetto ที่แข็งแรงพอที่จะทำงานได้ อยู่ 2 ทาง คือ 1) ออกไปใช้แรงงานที่ค่ายกักกันซึ่งอยู่ใกล้ๆ Ghetto ที่ชื่อ Plazow หรือ 2) ออกไปทำงานในโรงงานทำภาชนะของชายที่ชื่อ Oskar Schindler ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับ Ghetto เช่นกัน
สำหรับชาวยิวที่ถูกเลือกให้ไปทำงานในโรงงานของ Schindler นั้น สภาพการทำงานย่อมดีกว่าการถูกส่งไปใช้แรงงานในค่าย Plazow มากมาย เพราะไม่ต้องตากแดด ตากฝน ตากหิมะ อยู่ด้านนอกอาคาร
ในระยะแรก (1939) Oskar Schindler ไม่มีความตั้งใจที่จะช่วยชีวิตชาวยิวใดๆเลย เขาสนใจแต่ยอดเงินจากธุรกิจเท่านั้น แต่เมื่อ กระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิวของฮิตเลอร์ -ส่งชาวยิวหลักล้านทั่วยุโรปไปเข้าห้องรมแก๊สที่ค่ายเอาชวิช์ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1944 // Oskar Schindler จึงเริ่มที่จะให้ผู้ช่วยทำ list รายชื่อแรงงานชาวยิวของตนเอง เพื่อที่จะทำให้พวกเขาไม่ต้องถูกส่งไปรมแก๊สที่ค่ายเอาชวิตท์ โดยการย้ายพวกเขาเหล่านั้นไปทำงานยังค่ายในเชคโกสโลวาเกียแทน … และนั่นคือที่มาของชื่อภาพยนตร์ Schindler’list
1
สำหรับสถานการณ์ในค่าย Plazow ที่บัญชาการโดย Amon Goeth (ในภาพยนตร์ Schindler’list ถูกแสดงโดย เรล์ฟ ไฟนส์) นั้นเลวร้ายกว่ามาก เพราะ Goeth นั้นเกลียดชาวยิวเข้าไส้ และเขามักยิงชาวยิวที่พบเจอตามท้องถนนในคราคุฟอยู่เป็นประจำ
บรรยากาศหน้าโรงงานภาชนะของ Oskar Schindler
ส่วนจัดแสดงในโรงงาน เล่าถึงชีวิตชาวโปแลนด์ก่อน WWII
รูปถ่ายเด็กชาวโปแลนด์คาทอลิกช่วงก่อน WWII
รูปถ่ายเด็กชาวยิวในคราคุฟช่วงก่อน WWII
Nationalism ในโปแลนด์กำลังเริ่มผลิบานในช่วงก่อน WWII มีชาวโปแลนด์หัวรุนแรงหลายคนเริ่มเห็นฮิตเลอร์เป็นแบบอย่าง ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายชายชาวโปแลนด์คนนี้
รูปเด็กหญิงเสื้อแดงในพิพิธภัณฑ์ ไม่แน่ใจว่าเป็น concept ให้กับสปีลเบิก ในการสร้างซีนที่โลกจดจำใน Schindler’s list หรือเปล่า
เมื่อเยอรมันโซเวียตบุกโจมตีโปแลนด์อย่างไม่ทันตั้งตัว (1 sep & 16 Sep 1939 ตามลำดับ) โปแลนด์ไม่สามารถป้องกันอะไรได้เลย และในภาพคือ รูปความโกลาหลของผู้คนในช่วงเวลาดังกล่าว
ใบประกาศที่ออกโดยรัฐบาลโปแลนด์ในช่วง Aug 1939 ให้ผู้ชายทุกคนไปรายงานตัวเป็นทหาร เพื่อไปรบกับนาซีและโซเวียต
สภาพชองโปแลนด์เมื่อโดนทั้งนาซีและโซเวียตบุกรุกเข้ามาทั้งสองทิศทาง (แดงคือเขตยึดครองของนาซี / เทาคือเขตยึดครองของโซเวียต)
รถถังของกองทัพโปแลนด์ในสมัยนั้น ซึ่งจะเห็นว่ามันเล็กสุดๆเลย เมื่อเทียบกับรถถังแพนเชอร์ของนาซีเยอรมัน
Hans Frank สมาชิกพรรคนาซี ผู้ว่าการเมืองคราคุฟ ได้ออกคำสั่งห้ามชาวยิวเข้าสถานที่ต่างๆที่เป็น public ในเมือง
มีการ discrimination ชาวยิวในคราคุฟมากมายในช่วงที่นาซียึดครอง
ทหารนาซีปักธงเหนือปราสาท Wawel และในช่วงสงครามโลกคร้งที่สอง Hans Frank เปลี่ยนปราสาทนี้ ให้กลายเป็นศูนย์บัญชาการหลักของทหารนาซีในเขตยึดครองคราคุฟ
ภาพถ่ายหลักฐานการ discrimination ชาวยิว
ในห้องหนึ่งของพิพิธภัณฑ์โรงงาน มีการทำพื้นให้เป็นเครื่องหมายสวัสดิกะ เพื่อให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมเหยียบได้ตามสบายเลย
เมื่อนาซีเข้ามายึดครองโปแลนด์ พวกเขาเปลี่ยนชื่อป้ายถนนจากภาษาโปล ให้เป็นเยอรมันเพื่อเชิดชูฮิตเลอร์แทน
แผนที่คราคุฟในช่วง WWII
ป้ายแจ้งรายชื่อของคนที่จะถูกประหารโดยทหารนาซี
โซนจำลองบรรยากาศภายใน Ghetto
แผนที่คราคุฟ Ghetto
ห้องทำงานของ Oskar Schindler (ไกด์บอกว่าโต๊ะที่เห็นนั้นไม่ใช่ของที่ซินเลอร์ใช้จริง แต่แผนที่ด้านหลังต่างหากที่แขวนมานานตั้งแต่สมัยของซินเลอร์แล้ว …เป็น silent witness ตัวจริง
รูป Oskar Schindler
โปรดักส์ที่โรงงานของ Oskar Schindler ผลิต
ส่วนการแสดงค่ายแรงงาน KL Plazow
Oskar Schindler
เหล่าลูกจ้างที่ Oskar Schindler ช่วยชีวิตไว้
“ชีวิตจะมีความหมาย ตราบเท่าที่คุณได้ออกไปช่วยชีวิตผู้คน” Oskar Schindler
วันนี้มาฟัง lecture เรื่อง Plazow Labour camp กันในโรงงานของ Oskar Schindler เลย
กำแพง Ghetto ของจริง (นาซีจงใจออกแบบให้ดูเหมือนป้ายหลุมศพของชาวยิว)
ป้ายแจ้งเตือนว่าขณะนี้เราอยู่ในบริเวณค่ายแรงงาน plazow แล้ว
Plazow tour
Plazow Tour2
พื้นที่ซึ่งเคยเป็นค่าย plazow มาก่อน
อีกหนึ่งเทคนิคที่นาซีใช้ข่มขวัญชาวยิวก็คือ การนำป้ายหลุมศพของคนยิวมาปูเป็นทางเดิน เพื่อให้คนยิวเองได้เดินย่ำชื่อของบรรพบุรุษตัวเองไปตลอดเส้นทาง
อนุสรณ์สถานระลึกถึงผู้เสียชีวิตในค่าย plazow
Another View of the memorial
เป็นอนุสรณ์สถานที่แทนคน 5 กลุ่มที่เป็นของทหารนาซีในค่าย Plazow ได้แก่ ชาวยิว, ชาวโปล, ชาวสโลวัก, ชาวฮังการี และชาวยิปซี โดยท่าทางของทั้ง 5 คน เป็นการยืนต่อแถวกัน และส่วนหัวที่พร้อมใจกันตกพับลงมาหมายถึง การถูกทหารนาซีประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ด้านหลังของศีรษะ 😢
ลานประหารชีวิตในค่าย Plazow
Amon Goeth ผู้บัญชาการค่าย Plazow
Amon Goeth เวอร์ชั่น Ralph Fiennes ในภาพยนตร์เรื่อง Schindler’s List
ออกจาก Krakow มาถึงที่พักในเมือง Oswiecim และค่ายกักกัน Auschwitz ก็อยู่ตรงหน้าเลย
และนี่คือการสรุปคร่าวๆของ workshop วันที่สองครับ และตอนนี้ทางผู้จัดงานก็พาเราทั้ง 14 คนนั่งรถจากคราคุฟมายัง ออสวิซิม (Oświęcim) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งโรงแรมที่พักอยู่นี้ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันนาซีที่เลื่องชื่อลือชาที่สุดอย่าง เอาชวิทซ์ (Auschiwtz) เลย แล้วอีพีหน้าจะมาเล่าถึงรายละเอียดของค่ายกักกันนี้ให้ฟังนะครับ … ขอบคุณที่ติดตามครับ :)
ปล. Series เกี่ยวกับ Workshop ครั้งนี้จะมี 8 EP
ซึ่งผมจะทยอยลงทุกๆวัน อังคาร กับ ศุกร์
ตอนสองทุ่มครับ 👋🏻😊
#aDailyBread #GodBlessU ^^
ประวัติศาสตร์
ความรู้รอบตัว
หนังสือ
3 บันทึก
6
7
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#a Daily Bread with JAM 🍞🍒📚
3
6
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย