23 ส.ค. 2022 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กองทุนจีน KT-Ashares & KT-CHINABOND แตกต่างกันอย่างไร
หากถามว่า ประเทศไหนในทวีปเอเชียในเวลานี้ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
คำตอบก็คงหนีไม่พ้นประเทศมหาอำนาจอย่าง “ประเทศจีน” เป็นแน่
- เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น ?
KTAM พาย้อนไปดูที่ตัวเลข GDP ของประเทศจีน ก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาดโควิด 19 ข้อมูลจาก Trading Economics จะพบว่า ตัวเลข GDP สูงกว่า 5-6% มาโดยตลอด อาจจะมีช่วงชะลอตัวลงไปบ้างในช่วงที่เกิดโรคระบาดแรก ๆ
แต่ถึงอย่างนั้น ตัวเลข GDP ของจีนในไตรมาส 2 ของปี 2565 ที่ผ่านมา กลับไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ ด้วยวิกฤติทางเศรษฐกิจที่จีนได้รับผลกระทบมาอย่างหนัก จากมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 และวิกฤติด้านอสังหาฯ ก็ยิ่งส่งผลให้ตัวเลข GDP ของจีนในไตรมาส 2 ตกลงมาอยู่ที่ 0.4% เรียกว่าเป็นการขยายตัวที่ค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ที่ตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ของปี 2563 และ 2564 อยู่ที่ 3.2% และ 7.9% ตามลำดับ (ข้อมูลจาก Trading Economics)
อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลข GDP ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ แต่จีนก็ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากทางภาครัฐ และอื่น ๆ ที่จะช่วยผลักดันและฟื้นฟูให้จีนกลับมาสดใสต่อเนื่องในระยะยาวได้อีกครั้ง
ไม่ว่าจะเป็น การที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้มีการให้คำมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพการขยายตัวของการปล่อยเงินกู้ และสนับสนุนการจัดหาเงินทุนสำหรับภาคอสังหาฯ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว จากวิกฤติด้านอสังหาฯ รวมไปถึงมาตรการคลายล็อกดาวน์ในหัวเมืองใหญ่ ๆ ด้วยแล้วนั้น ก็อาจทำให้เศรษฐกิจจีนกลับมาฟื้นตัวได้
ทั้งนี้ หากใครมีความประสงค์ต้องการที่จะลงทุนในประเทศจีน ทาง KTAM ก็มีให้เลือกด้วยกันถึง 2 กองทุน ได้แก่ กองทุน KT-Ashares และกองทุน KT-CHINABOND
- สำหรับกองทุน KT-Ashares เป็นกองทุนรวมหุ้นจีน มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz Global Investors Fund - Allianz China A-Shares (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) “PT” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
โดยอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่กองทุนหลักเลือกลงทุน จะอยู่ในกลุ่ม Consumer Staples, Financials และ Information Technology ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 17.17%, 16.93% และ 14.89 ตามลำดับ
(ที่มา: Allianz ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 65)
นอกจากนี้ กองทุนหลักยังมีการกระจายการลงทุนไปอีกหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม Industrials, Information Technology, Financials, Healthcare, Real Estate และ Energy ซึ่งการกระจายการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน และลดความเสี่ยงจากความผันผวนในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งได้เป็นอย่างดี
- สำหรับกองทุน KT-CHINABOND เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน BGF China Bond Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) “D2” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ซึ่งกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหลักทรัพย์ที่โอนสิทธิได้ ประเภทตราสารหนี้ในสกุลเงินหยวน หรือตราสารสกุลเงินท้องถิ่นที่ไม่ใช่ประเทศจีน ที่ออกโดยนิติบุคคลที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น กองทุนนี้เน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้เป็นหลัก นั่นจึงทำให้กองทุนนี้มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุน KT-Ashares อยู่ที่ระดับ 5 เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่อยากลองเริ่มต้นลงสนามจีนเป็นครั้งแรก และสำหรับคนที่ลงทุนในกองทุนหุ้นจีนอยู่แล้ว การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้จีน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยกระจายความเสี่ยงได้
📌 สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองทุน KT-Ashares : http://bitly.ws/saQp
กองทุน KT-CHINABOND : http://bitly.ws/tpXb
📱 ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
☎️ สอบถามรายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร. 02-686-6100 กด 9
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / อความส่วนอื่นความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References:
โฆษณา