Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SmartPDPA
•
ติดตาม
24 ส.ค. 2022 เวลา 09:41 • ไอที & แก็ดเจ็ต
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใช้บังคับแล้ว(ตอนที่ 2)
ในประเทศไทยมีสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้กำกับดูแลกฎหมาย PDPA ให้แต่ละองค์กรต้องปฏิบัติตาม
โดย PDPA กำหนดให้องค์กรต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล หรือ DPO (Data Protection Officer) ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย PDPA ด้านเทคโนโลยี และเข้าใจบริบทขององค์กรมีหน้าที่ให้คำปรึกษากับองค์กร
และดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่และเกี่ยวข้องกับข้อมูลสารสนเทศที่มีความซับซ้อนยากแก่การเข้าใจ จึงขอแนะนำ ดังนี้
1.การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยบทบัญญัติ มาตรา 25 ของกฎหมายฉบับนี้ เว้นแต่
(1) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(2) เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
(3) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญาหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนเข้าทำสัญญานั้น
(4) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้รับมอบให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
(5) เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(6) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
2.บทบัญญัติในกฎหมายฉบับนี้มีโทษทางอาญา ดังนั้น ควรนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ในเรื่องการกระทำโดยเจตนามาพิจารณา คือ
“บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่เจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้”
3.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลควรจัดอบรมแนวทางปฏิบัติหรือข้อกฎหมาย PDPA เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไปด้วย
4.กรณีมีข้อพิพาทถึงศาล ควรนำแนววินิจฉัยหรือคำพิพากษาของศาลมาพิจารณาเพื่อการพัฒนากฎหมายฉบับดังกล่าวในโอกาสต่อไป
ด้วยความละเอียดอ่อนของข้อมูลส่วนบุคคลต่อกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้ จึงมีความวิตกกังวลในหลายประเด็น เช่น การนำรูปคนอื่นใน google มาตกแต่งแล้วใส่ข้อความ เอาประวัติการกระทำผิดคนอื่นไปโพสต์ เอาใบแจ้งความไปโพสต์เพื่อเตือนคนอื่น หรือเอาเรื่องราวความเจ็บป่วยของคนอื่นมาเผยแพร่ เป็นต้น ทำให้เกิดประเด็นที่เสี่ยงต่อความผิด
ดังนั้น เพื่อป้องกันการกระทำที่อาจเป็นความผิด จึงควรได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กระทำด้วยเจตนาสุจริตไม่ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และใช้สื่อสารสนเทศอย่างระมัดระวังด้วย
Reference :
https://www.matichon.co.th/article/news_3414529
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย