24 ส.ค. 2022 เวลา 14:08 • ปรัชญา
เรื่องราวของความหลุด พ้นการเกิดแก่เจ็บตาย เราต้องดูร่องรอย การกระทำขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ดี ที่ท่านบอกสาวกของท่านให้เดินตามรอยของท่าน รอยของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ท่านไปสละทุกอย่าง ทรัพย์สมบัติ บุตรภรรยา ไปอยู่คนเดียว ที่เค้าพูดกันว่า จิตมาคนเดียว ไปคนเดียว
ท่านไปนั่งกลางป่าตากแดดลมฝน ทำให้กายนั่นนิ่ง จิตนิ่ง การที่บังคับกายให้นิ่งได้ นิ่งจนกายนั่นแข็งท่านบอกว่าเหมือนเสาเหมือนหิน เมื่อท่านทำได้ สิ่งที่เรื่อกว่า รัตนะก็บังเกิดขึ้น ที่ต้องอาศัยขันติ ขันติเป็นบารมีของจิต ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนจิตของท่านบรรลุธรรม
เรื่องราวเหล่านี้ ท่านก็บอกสาวกของท่าน ให้ปฏิบัติธรรม อยู่ในรอยทั้งสี่ ยืน เดิน นั่ง นอน ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มีสัจจะในการกระทำ รอยกิริยา ทั้งสี่ เป็นรอยของการหนีกรรม มิใช้เป็นรอยของการสร้างกรรม แต่เป็นรอยที่จะสลัด ละเรื่องราวของอารมณ์ออกไปจากกายจากจิต เราก็ลองทำดู ทำง่ายๆ นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ภาวนาพุทโธ
ก่อนทำก็กราบพระ อธิษฐานของปฏิบัติธรรมอยู่ในรอยของพระ ภาวนา แค่สองคำพอแล้ว ไม่ต้องไปคิดนึกอะไร ทำได้มั้ย.. ไม่ต้องไปเอาอะไรมาเพิ่มเติม เรียกร้องหากรรม เช่นคาถาอาคม เวทมนต์ อิทธิฤทธิ์อะไร ไม่เอาทั้งนั่น เพราะเราต้องการปล่อยวาง แล้วพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้สอนให้กระทำในเรื่องที่จะให้จิตไปยึดถือ
นั่งพับเพียบยืดกายตรง บอกตัวเองเสียหน่อย จิตของข้าพเจ้าอาศัยอยู่ในเรือนกายของคุณบิดามารดา ข้าพเจ้าขอนำเรือนกายของคุณบิดามารดา มาฝึกหัดปฏิบัติธรรม ตามรอยขององค์พระสิทธัตถะ พระพุทธเจ้า เป็นเวลา 10 นาที ถ้าเห็นว่าน้อยไปก็ครึ่งชั่วโมงพอแล้ว แล้วก็ดูว่าอะไรมันเกิดขึ้นในกายบ้าง จิตอยู่กับพุทโธได้มั้ย เราดูเอา เอาแค่ขันติของกาย ให้จิตเราได้รู้จักบ้าง ของง่ายๆ ไม่น่ายาก ต้องทำเอง เรายังไปนั่งตรงนั่นตรงนี้ได้ นั่งได้ทั้งวัน แค่มานั่งทำกายนิ่งๆเฉยๆ ไม่นึกคิดอะไรเลย นอกจากคำว่าพุทโธ ไม่น่ายากอะไร
เห็นพูดกันว่าปล่อยวางกันทั่วไป ก็มานั่งปล่อยวางจริงๆ ปล่อยวางด้วยสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว นั่งพับเพียบให้เรียบร้อย ทำนั่งเหมือนเทพบุตรเทพธิดา ที่มาฟังธรรม ต่อเบื้องพระพักตร์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เค้าววดไว้ ตามผนังโบสถ์ ทำใจดีๆ ปล่อยวางนั่งเฉย ภาวนาจิต อยู่กับลมหายใจเข้าออก มีสติตรงนี้ อย่าเคลื่อนที่ไปไหนน่ะ ตรงนี้แหละ ทำจิตปล่อยวางให้ได้ อย่านึกคิดอะไร บอกตัวเอง นึกคิดเมื่อไหร่ นั่นคือ อารมณ์
ที่บอกให้นั่งพับเพียบ เพื่อให้ทั้งกายทั้งจิต นอบน้อมเข้าไปหาพระ ใช้กิริยาที่นอบน้อมกระทำ แล้วจะมีผู้ที่จะดูการกระทำของเรา ว่าเราทำจริงมั้ย เป็นคนจริงมั้ย รักษาสัจจะที่ตนเองตั้งใจกระทำได้มั้ย ท่านบอกว่า ธรรมนั้นต้องการคนจริง คนที่จะชนะอารมณ์ของตนเอง
ท่านบอกว่ารอยทั้งสี่ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นรอยของการสร้างบารมี หนีกรรม หากไม่มีบุญส่งมา ก็ไม่สามารถนำกายมาเดินรักษากิริยาการกระทำอยู่ในรอยทั้งสี่ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย
อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อจะปฏิบัติธรรม ต้องทำจิตทำใจ ทำกายให้เข้มแข็ง ทำจิตทำใจเหมือนกับเราออกศึกสงคราม ต้องมีพละกำลัง สติสัมปชัญญะต้องเข้มแข็งรสึกตัวว่าเราก็ทำอะไรอยู่ (อย่าไปทำง่อยเหงา) เพราะเป็นสงครามที่เราจะต้องต่อสู้กับอารมณ์ของเราเอง จะต้านทานอารมณ์เค้าไหวมั้ย สติปัญญาไหวพริบของจิตต้องเอามาใช้ เมื่ออกศึกสงครามต่อสู้อารมณ์ในกายตน ต้องบังคับคุมกายให้นิ่งเฉย
การที่จิตของเราไม่เคยได้ฝึกหัด สละละอารมณ์ จิตของเราก็เลยจมอยู่กับอารมณ์เป็นทาสของอารมณ์ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว อย่าไปทำจิตวิตกกังวลกลัวสิ่งนั่นสิ่งนี่ เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรม
เรื่องของฌาน นั้นเมื่อเราปฏิบัติ มันมาเอง เราก็จะรู้จักเรื่องฌานเอง รู้จักว่าเมื่อฌานเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ทำให้เกิดอะไร เรื่องของฌานเป็นเรื่องราว ของผู้ที่ที่ต้องการอิทธิฤทธิ์โลกีย์ ที่หลอกจิตให้จมอยู่ตรงนั้น ไม่รู้จักอารมณ์ที่เป็นฌาน ก็ยึดอยู่ตรงนั่นจมปลักตรงนั้นเอง เหมือนพายเรือไปติดตื้น ติดอยู่ตรงนี่แหละ เหมือนเทวทัต
เรื่องของฌานอีกแบบหนึ่งฌานของพระอรหันต์ เป็นเรื่องที่มั่นคงด้วยสติของจิต ที่สละเรื่องราวต่างๆด้วยจิต ที่จะปล่อยวาง
เรื่องของนิมิต การประพฤติปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดิน ยืน นอน จิตที่ไม่เห็นภาพนั่นภาพนี้ เกิดขึ้นนั่นดีที่สุด เพราะเราไม่รู้ว่าพาพนั่นส่งมาจากไหน สติปัญญาของเราไม่เพียงพอ เห็นแล้วก็ยึก หลงเข้าไปอีก มันจึงเกิดเป็นอุปสรรคขัดขวาง จิตที่จะสลัดละเรื่องราวของอารมณ์
เรื่องของการประพฤติปฏิบัติธรรมตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามรอยเจ้าชายสิทธัตถะ เราหมั่นนำมาประพฤติปฏิบัติธรรม จิตเราก็แข็งแรงขึ้น สดชื่นขึ้น มีกำลังขึ้น เรียนรู้แล้วจะสนุกสนาน สนุกในการต่อสู้กับอารมณ์ของตนเอง ที่ต้องละออกไป ด้วยสติปัญญาไหวพริบของตนเอง ใครก็ช่วยเราไม่ได้ เราต้องช่วยตัวเราเอง ต่อสู้สงครามที่เป็นอารมณ์เป็นมาร ที่ผจญจิตของตนเอง ก็ขอให้มีจิตที่เข้มแข็ง มีสติปัญญา ไหวพริบ ที่จะต่อสู้สงครามอารมณ์ เมื่อนำกายบิดามารดา มาประพฤติปฏิบัติธรรม
ขอให้จิตได้พัฒนาทักษะ ขอให้จิต คลี่คลายอารมณ์ ชนะอารมณ์ในกายตน คลี่คลายทุกข์ของจิต ให้มีความสุขที่ประพฤติปฏิบัติธรรม
หมายเหตุ ..เรื่องของฌานของญาณ ที่ไปอ่านเจอะเจอจดจำมา เรื่องที่เราอ่านจดจำมา โยนมันทิ้งไปก่อน
…เพราะนั่นเป็นตัวจำจะเป็นอารมณ์นึกคิดที่พาเราไปจมอยู่ตรงนั่น แล้วจะเกิดสิ่งหนึ่ง คืออารมณ์ที่จะส่งเสริมให้หลง ให้ยึดว่าเป็นวิปัสสนา ทั้งๆที่จะทำจิตเป็นสมาธิ ..ปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้เลย นั่งนึกคิดเป็นชั่วโมงๆ มีแต่อารมณ์นึกคิด แล้วทั้งกายทั้งจิต ..ที่มากระทำ จะมีแต่คำว่า โมฆะ ..ไม่รู้จักว่า ที่มาปฏิบัติธรรม ท่านให้ปล่อยวาง ให้จิตละเรื่องราวความยึดถือ สละอารมณ์ นั่นมัน..จิตยึดอารมณ์ ขาดสติของจิต คลี่คลายปล่อยวางอารมณ์ไม่ได้เลย
ซึ่งเราก็ต้องมีสติตรวจสอบ สำรวจตัวเองเหมือนกัน ระมัดระวังอารมณ์ที่ทำให้เราหลงเพลิดเพลิน คิดเราปฏิบัติธรรมได้แล้ว ทั้งๆที่ทำปล่อยวางอะไรไม่ได้เลย มีแต่ความยึดถือเท่านั้นเอง ไม่รู้ตัวเลยว่า อารมณ์นึกคิดไหลมาทับจิต พาจิตออกอารมณ์นึกคิด ทำจิตให้อยู่กับคำภาวนา พุทโธ กลับทำไม่ได้ นั่นแหละ ที่สติของเรามันไม่เกิด ไม่เป็นสติของจิตเกิดขึ้น
แล้วเมื่อปฏิบัติธรรมเป็นโมฆะ สิ่งที่ติดตาม คือ ความเป็นผู้ที่อวดเก่ง อวดรู้ ว่าข้านี้รู้จักดีแล้ว ก็มีแต่ตัวรู้จำมา เที่ยวอวด แต่ทำจิตทำใจไม่ได้เลย ซึ่งเราก็ต้องระมัดระวังจิตของตัวเราเอง ไม่ให้ถลำไปเป็นแบบนั่น ท่านจึงบอกว่าอย่ารีบร้อน ค่อยๆเพียรกระทำขึ้นมา เพราะการทำจิตหนีทุกข์ เค้าเพียรกระทำสะสมกันเป็นชาติๆ หลายๆชาติ อเนกชาติ
สิ่งที่เขียนมา เราเองมิใช่ผู้ที่รู้จักอะไรมากมาย เป็นเพียงผู้ที่สนใจการประพฤติปฏิบัติธรรม ที่อยากจะรู้จักคำว่ากรรมเป็นอย่างไร อารมณ์เป็นอย่างไร ธรรมเป็นอย่างไร แล้วจิตเราเป็นอย่างไร เราก็เป็นเพียงจิตน้อยๆที่สนใจ ว่าการประพฤติปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ท่านทำกันอย่างไร
เราเองอยากจะรู้เรื่องราวแม้การทำบุญ สมัยต้นพุทธกาล อุบาสกอุบาสิกาท่านใช้กิริยาอะไรมาสร้างบุญสร้างกุศล อยากจะเห็นกิริยาของพระอรหันต์ ที่ท่านรับของบิณฑบาต เพื่อเป็นมโนทศึกษาของจิต เพราะเราเกิดมาในกึ่งพุทธกาล จึงอยากเห็นภาพต้นพุทธกาล เค้าทำกันอย่างไร นั่นจึงเป็นเรื่องที่เราสนใจ พยายามกระทำขึ้นมา ก็มีพระท่านสอนให้ เราได้ฝึกการกระทำ จึงบอกว่า อย่าเชื่อในสิ่งที่เราเขียนน่ะ ว่าถูกหรือไม่ถูก ทุกท่านก็มีสติปัญญา ขอให้สุขกาย สุขใจทุกท่าน ให้จิตมีกำลัง ผ่านพ้นอุปสรรคขัดขวาง ให้จิตมีธรรมเป็นที่พึ่งเทอญ
โฆษณา