Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2022 เวลา 13:20 • การศึกษา
สวัสดิการต่างๆ ที่พนักงานได้รับ ต้องยื่นภาษีหรือไม่ ?
บางท่านอาจเคยสงสัย โดยเฉพาะคนที่ทำงานในแผนกบุคคลที่ต้องคิดคำนวณเงินเดือนให้พนักงาน และแม้แต่ตัวพนักงานเองที่มีส่วนได้เสียในสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทมอบให้ เช่น
- การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท
- เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร
- การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ
- เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม ในกรณีพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง
- การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม
- การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม
ในกรณีที่พนักงานได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้นจากบริษัท ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์นั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
สำหรับคำถามดังกล่าวมีแนววินิจฉัยจากสรรพากร ดังนี้
📌 กรณีการตรวจสุขภาพประจำปี และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรนั้น หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็นค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ
เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสกุล ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง
ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทยเท่านั้น
ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร
1
thechrysallis.com
📌 กรณีการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ
การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่ม อันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)
1
พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
thonburihospital.com
📌 กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม
การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)
พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
maerakluke.com
📌 กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกัน หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี
เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสกุล ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว
เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 (77) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
ทั้งนี้ กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานนั้น หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป
บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง : มาตรา 42 (17), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13), มาตรา 70 (1), และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
อ้างอิง : ข้อหารือของกรมสรรพากร 81/40595
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
ภาษี
การเงิน
ไลฟ์สไตล์
6 บันทึก
25
23
13
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
6
25
23
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย