26 ส.ค. 2022 เวลา 02:15 • การศึกษา
AIS 5G Garage แซนด์บ็อกซ์พร้อม Private Network แห่งแรก @CUENGINEERING
5G เกิดขึ้นในเมืองไทยมากว่า 2 ปี และได้ชื่อว่ามีคุณภาพที่ไม่แพ้ต่างประเทศ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้ว 5G จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรม ในฐานะ Growth Engine ที่ช่วยให้เกิด Digital Transformation ในองค์กร หากมี usecase ที่ตอบโจทย์แต่ละอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
เป็นอีกเหตุผลที่ Operator ต่างเข้าประมูลความถี่ 5G จาก กสทช.ด้วยเป้าหมายที่จะสนับสนุนความต้องการข้างต้น เช่น กรณี AIS ที่มีคลื่นความถี่ถึง 1420 MHz เพื่อเตรียมรองรับ Use case สำหรับภาคอุตสาหกรรม เพราะเชื่อว่าสามารถเป็นได้ทั้ง Digital Infrastructure และโอกาสใหม่ในการสร้าง Digital Service หรือ Industrial Solutions
แต่การจะสร้าง use case ที่เหมาะกับประเทศไทย จำเป็นต้องมีการทำงานวิจัย ทดลอง ทดสอบ อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุผลที่ AIS ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี ’61 จนถึงวันนี้ เพื่อต่อยอด 5G ผ่านโครงการมากมาย และ AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE @CHULAENGINEERING คือ 1 ใน Flagship
นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวในวันเปิดตัว AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ซึ่งเป็น 5G Sandbox ในสถาบันการศึกษาแห่งแรกของไทย ว่า “เรายังต้องร่วมกันสกัดประโยชน์ของ 5G ออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม และสร้างความเท่าเทียมของสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่ประชาชน
ดังนั้นเราจึงตั้งใจทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริง ด้วย LIVE Private Network ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถใช้เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยีต่างๆทั้ง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse, Robotic, ฯลฯ บน 5G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพราะได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G ที่เลือกเอาคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) ที่เหมาะกับการพัฒนา Use case ทั้ง Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA
เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz นั้น มีปริมาณ Bandwidth มหาศาล และความหน่วงต่ำมาก (Low Latency) ดังนั้นจะทำให้รู้ผลการวิจัย 5G บนคลื่นจริงได้ทันที”
สอดคล้องกับปรากฏการณ์ของรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าว่า “ระบบการเรียนการสอนของเราเปลี่ยนไปมาก ก่อนเกิดโควิด เราก็คิดกันว่าการสอนแบบบรรยายในห้องเรียนเริ่มไปไม่ได้แล้ว เพราะเนื้อหามีอยู่บนอินเตอร์เน็ตมากมาย เราแทบไม่ต้องสอน เด็กก็สามารถไปเรียนกับคนที่เก่งกว่าเราได้ แต่อย่าลืมว่า สิ่งหนึ่งที่หาไม่ได้ คือการที่จะนำภาคทฤษฎีมาปฏิบัติได้จริง หรือ การมีปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์ต่างๆ
การได้พัฒนานวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง จะหาไม่ได้จากออนไลน์ทั่วไป ดังนั้นการมี Snadbox อย่าง AIS PLAY GROUND และ GARAGE จึงถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การเรียน การสอน เป็นไปอย่างมีคุณภาพ นิสิตสามารถทำอะไรก็ได้ที่ต้องการเพื่อตอบโจทย์ Use case ของเขา เป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนยุคใหม่อย่างแท้จริง เพราะหากไม่มี PLAY GROUND และ GARAGE นักวิจัย นักศึกษา อยากสร้างหุ่นยนต์รักษาโรคทางไกล หรือ อยากสร้างรถยนต์ไร้คนขับ ก็ต้องไปขอใช้ระบบ 5G ซึ่งคงจะเป็นเรื่องลำบากมาก”
ยืนยันได้จาก 1 ในผลงานของชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวะ จุฬาฯ (EIC Chula) ที่สามารถคว้ารางวัลอันดับ 2 ของโลกมาได้ จากรายการ RoboCup@Home Open Platform League ด้วย หุ่นยนต์ WALKIE หรือ หุ่นยนต์บริการในครัวเรือน (Domestic service robot) ที่มีแรงบันดาลใจจากสังคม Edging Society ซึ่งอาจทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านอย่างโดดเดี่ยว
ดังนั้นการมีหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานบ้าน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อาศัยภายในบ้านได้จาก AI อัจฉริยะ มาเป็นผู้ช่วย ย่อมตอบโจทย์ที่สุด และ 5G คือ 1 ในองค์ประกอบที่ช่วยให้ AI ของ WALKIE สามารถเรียนรู้ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว เกิดเป็นผลงานต้นแบบที่น่าจะสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างดี
การที่ภาคการศึกษาและภาคเอกชน ร่วมมือกันส่งเสริมการสร้างทักษะ และสนับสนุนงานวิจัย เพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะ คุณสมบัติ 3 ส่วนหลัก ของ 5G คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, การขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด นั้น เป็นหัวใจของการทำ Digital Transformation ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมี Use case ที่เหมาะสมด้วย
ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุดย่อมทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพานวัตกรรมจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว
โฆษณา