แบบแรก Scale up เป็นการขยายความสามารถของระบบโดยการเพิ่ม CPU เพิ่ม Memory เข้าไปให้รองรับ workload ได้ อีกวิธีจะเรียกว่า Scale out เป็นการขยายจำนวนระบบให้มีหลายเครื่องมากขึ้น ซึ่งแต่ละเครื่องก็จะทำงานสอดคล้องกัน ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้รองรับ workload ที่เพิ่มขึ้นได้ แต่บางครั้ง Scale out ก็ไม่ได้ดีกว่า Scale up ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ได้มีจำนวนมาก และมีจำนวนคงที่ ก็จะไม่จำเป็นต้องทำ Application ให้พร้อมกับ Scale out
ในการพัฒนาระบบการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรก็เป็นเรื่องสำคัญ และมีบางปัจจัยที่อาจจะถูกมองข้ามเช่น Time Consuming การสิ้นเปลืองเวลาไปกับการขอข้อมูลจากคนนอกองค์กร
จะต้องมีวิธีการจัดการอย่างไร?
เรื่องของการเขียน Process ต้องมีการคำนึงถึง Algorithms ที่เลือกใช้พื้นที่ของ CPU ที่มีอยู่อย่างจำกัด และเรื่องของการใช้ Bandwidth Network บ่อยครั้งที่นึกอะไรไม่ออก Query อะไรมาได้ ก็จะขนส่งไปที่ฝั่ง Client ก่อน ส่งข้อมูลจำนวนมากเกินไป และให้ฝั่ง UX/UI ทำหน้าที่ในการเลือกใช้เอง
พี่จุ๊บมองว่าอยากให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สนใจเรื่องพวกนี้มากขึ้นด้วย หากพูดถึงปัญหาเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน ต้องออกแบบการแสดงผลในหลายรูปแบบ ปัญหาเรื่อง Browser Compatibility ก็เป็นสิ่งสำคัญ ความแตกต่างของเว็บไซต์ เช่น Firefox, Safari, Microsoft edge, Google Chrome, และ Opera
และสุดท้ายสิ่งที่พี่จุ๊บอยากจะขอฝากทุกคนไว้คือ “The distance is nothing; it’s only the first stop that is difficult.” การก้าวออกมาจากโลกของตัวเอง ก้าวออกมาจาก Comfort zone ไม่ใช่เรื่องง่าย ก้าวแรกจะยากที่สุดแต่ว่าหลังจากนั้นก้าวต่อ ๆ ไป จะค่อย ๆ ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน