Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักลงทุนพเนจร
•
ติดตาม
26 ส.ค. 2022 เวลา 12:00 • ข่าว
【ดีล Bitkub ของ SCBX กับอาการ FOMO】
“ดีลตรงนี้เป็นดีลที่แบบว่า เฮ้ย คุณอย่าเพิ่งไปอะไรมากเกินไปนะ ผมมองด้วยสายตาที่ skeptical (ขี้สงสัย) นิดหน่อย แต่ผมว่ามันเป็นความจำเป็น… และเวลาคุณ move เนี่ย เดี๋ยวคนอื่นก็ต้องตาม แล้วคุณอาจได้เปรียบนิดหน่อย… ศูนย์ซื้อขายเนี่ย พูดตามตรงมันไม่ได้ใหญ่โตอะไรที่จะเปลี่ยนภาพบริษัท”
1
นี่เป็นสิ่งที่ ดร.นิเวศน์ พูดถึงดีลของ SCBX ตอนประกาศจะเข้าซื้อ Bitkub เมื่อกว่า 9 เดือนที่แล้ว
ตอนนั้นราคาบิตคอยน์อยู่ที่ประมาณ 63,000 ดอลลาร์ เกือบ ๆ จะสูงสุด ทุกอย่างดูฮึกเหิม
เวลาผ่านมา 9 เดือนกว่า จนถึงเมื่อวาน 25 สิงหาคม 65 ความตื่นเต้นร้อนแรงเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลลดลงพอสมควร
ราคาบิตคอยน์อยู่ที่ประมาณ 21,500 ดอลลาร์
SCBX ก็ประกาศว่าไม่ซื้อ Bitkub แล้ว
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความเยือกเย็นดั่งน้ำแข็งของ ดร.นิเวศน์ ในตอนนู้นจริง ๆ ครับ แกนิ่งมากจริง ๆ และวิเคราะห์ตามความเป็นจริง แม้สภาพแวดล้อมในตอนนั้นจะร้อนแรงแค่ไหนก็ตาม
1
กราฟราคาบิตคอยน์
ในการให้สัมภาษณ์กับคุณอิก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ดร.นิเวศน์ ยังวิเคราะห์ธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายของ Bitkub ไว้อย่างน่าสนใจอีกด้วย
แกวิเคราะห์ไว้อย่างงี้ครับ
“นี่คือธุรกิจที่ไม่มี Barriers to entry
ไม่มี Exit cost
ไม่มี Network effect”
“3-4 ตัวนี้เป็นคำที่ใช้เวลาที่เล่นธุรกิจดิจิทัลไฮเทค
คุณต้องมี 2 ตัวนี้อย่างน้อย
หนึ่งไม่มี Network effect เช่น เฟซบุ๊กมันมี Network effect คนที่มาทีหลังเข้าไม่ได้เลย เค้าต้องการคนเยอะ ๆ ในเฟซบุ๊ก เพราะไม่งั้นไม่รู้จะคุยกับใคร ก็เข้าไป มันก็ดึงดูดเข้ามา”
“สองไม่มี Exit cost มันทำให้คนใหม่ ๆ เข้าที่ไหนก็ได้… เข้าบริษัทเล็ก ๆ แต่ถ้าไว้ใจได้ เชื่อถือได้ เค้าก็ได้บริการเหมือนกัน… เหมือนเล่นหุ้นทุกวันนี้ เราไปโบรกเกอร์นู้นนี้ได้หมด และเวลาไม่พอใจ เราย้าย ย้ายโดยไม่มี Exit cost ไม่ต้องจ่ายตัง… นี่ก็เช่นเดียวกัน เป็นโบรกเกอร์ของบิตคอยน์ มันก็ไปที่ไหนก็ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวันนี้อาจเป็นวันที่เกือบ ๆ peak ของตัว Bitkub”
เฉียบมากครับ แพลตฟอร์มหรือศูนย์ซื้อขายมันสร้างคูเมืองได้ยากครับ
เพราะฉะนั้นในมุมมองของ ดร.นิเวศน์ ดีลนี้ SCB อาจไม่ได้อะไรเรื่องเงินมากนัก แค่ได้ภาพลักษณ์ แต่ฝ่ายที่ได้จริง ๆ น่าจะเป็น Bitkub
ดร.นิเวศน์ พูดกับคุณอิกว่า
1
“ทางฝั่ง BItkub คงจะเห็นว่าขายตอนนี้ได้ราคาดีที่สุด ผมเองคิดว่าแพลตฟอร์มตรงนี้เนี่ยมันอาจจะถึง.. พูดง่าย ๆ มัน peak ไปแล้ว หรือใกล้ peak.. คือจากนี้มันอาจไม่โตต่อไป หรือโตน้อย หรืออาจจะลดลงก็ได้ มันแตกต่างจาก Startup อื่น”
1
ผ่านมา 9 เดือนกว่า อารมณ์ฮึกเหิมเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลหายไป ผมเองคิดว่าฝั่ง SCB ก็คงมีเวลาคิดทบทวนให้ถี่ถ้วนมากขึ้น ว่าตอนนั้นอาจใช้อารณ์วู่วามไปหน่อย จะจ่ายเงินตั้ง 17,850 ล้านบาท แลกกับความเป็นเจ้าของ 51% ในศูนย์ซื้อขายที่คูเมืองไม่กว้างมากนัก
ท้ายสุด SCB จึงน่าจะคิดว่าล้มดีลดีกว่า ส่วนเรื่องอ้างถึง ก.ล.ต. อะไรนั่น ผมคิดว่าเป็นข้ออ้างไว้ให้มีทางลงสวย ๆ มากกว่า ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงอะไร อันนี้ก็เดาตามที่เห็นนะครับ
ที่น่าสนใจคือดีลนี้ให้บทเรียนสำหรับนักลงทุนรายย่อยอย่างเรา ๆ ได้ครับ
ส่วนตัวผมเองคิดว่า การตัดสินใจของ SCB เมื่อ 9 เดือนที่แล้ว ได้รับอิทธิพลจากอาการ FOMO ครับ
FOMO หรือ Fear of missing out คืออาการ “กลัวตกรถ” นั่นเอง กลัวจะพลาดอะไรบางอย่างไป ทำให้การตัดสินใจไม่นิ่งพอ และก็ “มือลั่น” ไปประกาศซื้อ Bitkub อย่างที่เห็น
อาการ FOMO นี่แก้ยากนะครับ ขณะนั้นราคาบิตคอยน์ทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อย ๆ ใครต่อใครก็คิดว่ามันต้องขึ้นต่อไปอีก พอ FOMO เกิดขึ้นมา ก็เลยต้องทำ “อะไร” บางอย่าง
ผมอาจจะคิดไม่ถูกเรื่อง SCB ก็ได้นะครับ ตอนนั้นเค้าอาจจะคิดอีกแบบ อาจมีชุดข้อมูลอีกแบบ ส่วนผมพอเห็นข่าวเมื่อวานเรื่องดีลล้ม ก็เลยขออนุญาตทำตัวเป็นพวก “เก่งหลังเกม” (นี่ก็เป็นกับดักอารมณ์อีกตัวครับ เรียกว่า Hindsight bias คืออคติจากการมองย้อนหลัง)
แล้วมีวิธีไหนเอาชนะอาการ FOMO ได้มั้ย
มันไม่ง่าย แต่ส่วนตัวผมใช้คำพูดของ ชาร์ลี มังเกอร์ ไว้เตือนใจครับ ขอแชร์ให้เพื่อน ๆ ด้วย เผื่อมีประโยชน์ครับ ปู่มังเกอร์สรุปว่า “จะมีใครบางคนรวยเร็วกว่าคุณเสมอ นี่มันไม่ใช่โศกนาฏกรรม”
1
FOMO มันเป็นเรื่องของการเห็นคนอื่นดีกว่าเราไม่ได้ครับ
ใครจะรวยเร็ว ใครจะได้กำไรเยอะ ใครจะได้แพลตฟอร์มศูนย์ซื้อขายนั้นไป มันไม่ใช่ธุระของเราครับ
ขจัดความขี้อิจฉาริษยาไปให้ได้… แล้วเราจะไม่หุนหันพลันแล่นครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก ถามอีก กับอิก TAM-EIG
https://youtu.be/7r1nirplBIQ
การลงทุน
ธุรกิจ
cryptocurrency
1 บันทึก
6
1
1
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย