26 ส.ค. 2022 เวลา 10:36 • สุขภาพ
🍗🍖🍚🍔 อาหารปัจจัยสี่ สิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ.....อย่างที่ทุกคนรู้และเข้าใจร่างกายคนเราต้องการสารอาหารให้ครบ 5 หมู่...🌮🥚
และหมวดหมู่ที่น่าจะเป็นสารตั้งต้นของสุขภาพที่ดี ก็คงหนี้ไม่พ้น ✅โปรตีน นั่นเอง..
โปรตีน…สารอาหารจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้
โปรตีนสารอาหารจำเป็น
ความรู้ด้านโภชนาการยุคใหม่ สารอาหารหรือสารที่พบในอาหารซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต จัดแบ่งได้เป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ น้ำ และกลุ่มพิเศษอีกหนึ่งกลุ่มคือไฟโตนิวเทรียนท์ที่แม้เป็นสารกึ่งจำเป็นแต่ว่าช่วยให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น
ร่างกายของเรามีการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์หรือทดแทนเซลล์เก่า เด็กสร้างเซลล์ใหม่ทำให้เติบโตขึ้น ผู้ใหญ่มีเซลล์เฉลี่ย 37.2 ล้านล้านเซลล์ จำนวนนี้ตายลงร้อยละ 0.16 ต่อวันหรือวันละ 60,000 ล้านเซลล์ ดังนั้น ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอเพื่อที่จะสร้างเซลล์ใหม่ในจำนวนเท่ากันทุกวันและทดแทนเซลล์เก่าที่สลายไป นี่คือกลไกหลักที่ช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง หากชะลอตัวลงเมื่อไร ความแก่ชราย่อมมาเยือน หยุดลงเมื่อไรอายุขัยย่อมสิ้นสุดลง
ในทางวิทยาศาสตร์ ร่างกายนั้นประกอบขึ้นจากโมเลกุลพื้นฐานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตสองชนิดคือ “กรดนิวคลิอิก” (Nucleic acids) เป็นหน่วยย่อยของดีเอ็นเอที่ทำหน้าที่เสมือนแม่พิมพ์ของชีวิต และ “กรดอะมิโน” (Amino acids) คือหน่วยย่อยของโปรตีน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กรดอะมิโนจำเป็น (indispensable amino acid) ซึ่งร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้มีอยู่ 8-9 ชนิด และกรดอะมิโนไม่จำเป็น (dispensable amino acid)
ซึ่งร่างกายสังเคราะห์ได้มีอยู่ 11-12 ชนิด ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างทั้งโมเลกุลทำงานในร่างกาย พบทั่วไปในกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม อวัยวะต่างๆ รวมถึงเป็นสารขนส่งสารอาหารและออกซิเจนในเลือด และเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายหากพิจารณาในแง่มุมทางโภชนาการ โปรตีนสำคัญกว่าดีเอ็นเอเนื่องจากร่างกายมีกลไกเปลี่ยนกรดอะมิโนให้เป็นกรดนิวคลีอิก ในขณะที่กรดนิวคลิอิกเปลี่ยนไปเป็นกรดอะมิโนได้ไม่ครบทุกตัว2 โปรตีนแม้สามารถสร้างเป็นพลังงานได้ โดยโปรตีน 1 กรัมสร้างพลังงานได้ 4 กิโลแคลอรี
โปรตีนจะไม่เก็บสะสมไว้ใช้ภายหลัง
แต่ร่างกายสร้างพลังงานโดยใช้คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นหลัก ส่วนโปรตีนร่างกายสงวนไว้เพื่อเก็บออมกรดอะมิโนไว้ใช้สร้างภูมิต้านทานซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดในกรณีป่วยไข้ น่าแปลกในขณะที่กรดไขมันถูกสะสมไว้ได้ในรูปไตรกลีเซอไรด์ คาร์โบไฮเดรตถูกสะสมไว้ในรูปไกลโคเจน ร่างกายกลับสะสมโปรตีนไว้ไม่ได้ จำเป็นต้องกำจัดออกในรูปกรดอะมิโน ร่างกายจึงต้องได้รับโปรตีนทุกวันเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้สร้างโปรตีนชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของชีวิตรวมทั้งรักษาไว้ในรูปกรดอะมิโนอิสระเพื่อใช้ในบางหน้าที่
โปรตีน คือ สารอาหารที่ให้พลังงาน มีโครงสร้างขนาดใหญ่ เกิดจากหน่วยย่อยเล็กๆ อย่างกรดอะมิโนเรียงต่อกัน โดยโปรตีนเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่ก่อขึ้นเป็นร่างกายของเรา มีส่วนสำคัญช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแต่รู้หรือไม่
• โปรตีนที่เรากินจะไม่เก็บสะสมไว้ใช้ภายหลังได้เหมือนคาร์โบไฮเดรตและไขมัน• ในแต่ละวันร่างกายมีการสลายและขับโปรตีนในรูปแบบต่างๆ ทุกวันไม่ว่าจะเป็นการหลุดร่วงของเส้นผม, การหลุดลอกของเซลล์ผิวหนัง, การกำจัดฮอร์โมนหรือสารภูมิคุ้มกันที่หมดหน้าที่, การหลุดลอกของเซลล์ในอวัยวะภายใน
โดยทั่วไป ร่างกายต้องการโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ในแต่ละช่วงวัย หรือกิจกรรมประจำที่ต่างกัน ก็จะมีความต้องการโปรตีนที่ต่างกันไปได้ เช่น• เด็กกำลังโต ต้องการโปรตีน 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
• ผู้ใหญ่ ต้องการโปรตีน 0.8 - 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
• หญิงมีครรภ์/ให้นมบุตร ต้องการโปรตีน +20 กรัม จากปกติ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
• นักกีฬา ต้องการโปรตีน 1.7 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
• คนคุมน้ำหนัก ต้องการโปรตีน 1.2 - 1.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
💪รู้อย่างนี้แล้ว เช็คก่อนเลยนะครับว่าเราได้รับโปรตีนเพียงพอต่อร่างกายหรือไม่
#โปรตีน #สุขภาพ
CR.ดร.วินัย ดะห์ลัน
โฆษณา