26 ส.ค. 2022 เวลา 12:54 • ประวัติศาสตร์
ถ้าพูดถึงความสวยงามของสตรีที่อยู่คู่กับอารยธรรมอียิปต์โบราณ เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องนึกถึง พระนางคลีโอพัตรา อย่างแน่นอนแต่ยังมีอีกหนึ่งสตรีที่มีชื่อเสียงและเลอโฉมไม่แพ้กัน ผู้ที่โด่งดังจากการขุดพบเจอรูปปั้นด้านบน
พระนางผู้เลอโฉมด้วยความงาม ราชินีอียิปต์ผู้หายสาบสูญจากหน้าประวัติศาสตร์
ราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) แปลว่า ผู้งดงามหมดจด ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าบิดามารดาของเนเฟอร์ติตินั้นเป็นใคร แต่มีผู้เห็นพ้องต้องกันว่าเธอเป็นธิดาของ เอย์ ผู้ที่ได้เป็นฟาโรห์ในเวลาต่อมา กับพระมเหสีที่มีชื่อว่า เทย์ อีกทฤษฎีกล่าวว่าเนเฟอร์ติติแท้จริงคือ เจ้าหญิงทาดูคีปา ธิดาของกษัตริย์ทัชรัตตาแห่งมีทานนี ในม้วนคำภีร์โบราณมีการกล่าวชื่อ นีเมรีธิน เป็นอีกชื่อหนึ่งของพระนางแต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ
ยังมีอีกหนึ่งแนวคิดที่เป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือที่สุดคือพระนางเป็นธิดาของซีตามุน น้องสาวต่างมารดาของอาเมนโฮเทปที่ 3 โดยมีพระราชินีเอียเรเป็นพระมารดาของนาง
รูปโฉมของเนเฟอร์ติตี มีลักษณะเป็นสตรีเอวบาง แต่บั้นท้ายและสะโพกหนา ชุดที่พระนางสวมใส่ มักจะบางเบาโปร่งแสง ทำให้แลดูมีเสน่ห์ยั่วยวน จนได้รับสมญาว่า “พระพักตร์งาม ทรงความเบิกบาน เป็นผู้ให้ความสำราญหาใครเทียม”
อาเมนโฮเทปที่ 3
เนเฟอร์ติติ ได้อภิเษกสมรสกับอาเมนโฮเทปที่ 4 และต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระชายาขอพระองค์ทั้งคู่มีบุตรสาวด้วยกัน 6 คน
● 1. เมรีตาเทน เกิดในปีที่ 2 หลังจากที่อาเมนโฮเทปที่ 4 ขึ้นครองราชย์
● 2. เมเคตาเทน เกิดในปีที่ 3
● 3. อังค์เอสเอ็นอามุน เกิดในปีที่ 4 ( ต่อมาเป็นชายาของ ฟาโรห์ตุตันคาเมน )
● 4. เนเฟอร์เนเฟอรอเทน ตาเชริต เกิดในปีที่ 6
● 5. เนเฟอร์เนเฟอรูเร เกิดในปีที่ 9
● 6. เซตีเปนเร เกิดในปีที่ 11
หลังจากนั้น อาเทนโฮเทปที่ 4 ได้เปลี่ยนพระนามของพระองค์อย่างเป็นทางการเป็น อัคนาเตน เนเฟอร์ติตินั้นพระนางคือ ผู้ฝักใฝ่ศาสนา นักวางแผน หลายคนมองว่า พระนางเป็นผู้เสียสละและมากด้วยปริศนาและถือว่าพระนางเป็นราชินีที่สำคัญมากองค์หนึ่งของอียิปต์
1
ด้วยว่าพระนางและพระสวามีฟาโรห์อัคนาเตนนำอียิปต์ไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พวกเขาทิ้งเมืองธีปส์ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหลวงของอียิปต์มาหลายร้อยปีและนำไพร่พลอพยพจากเมืองเก่ามาสร้างเมืองใหม่ที่สวยงามกลางทะเลทราย ผู้คนนับพันหลั่งไหลมาพร้อมกันมีฟาโรห์อยู่ที่ไหนพวกเขาก็จะมีงานทำและจะไม่อดตาย หลังจากนั้นพวกเขาก็ต้องหันมาบูชาเทพเจ้าองค์ใหม่ตามความศรัธาของเนเฟอร์ติติ
เมืองธีปส์
จากวันนั้นสงครามระหว่างขุนนางและนักบวชชั้นสูงกับเนเฟอร์ติติก็เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ด้วยว่าเนเฟอร์ติติและพระสวามี มีจิตแน่วแน่ที่จะลิดรอนอำนาจของเหล่าชนชั้นสูงกลุ่มนั้น พวกเขาเริ่มต้นด้วยการอนุสวรีย์ให้บดบังวิหารคาร์นัคของเหล่านักบวช ซึ่งแน่นอนว่าการกระทำครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดกฎที่ร้ายแรงที่สุด นอกจากนั้นเนเฟอร์ติติยังสร้างวิหารแห่งดวงอาทิตย์ถวายแก่เทพอาเตนที่พระนางศรัทธาเพียงองค์เดียว
ก่อนที่เหล่าชนชั้นสูงและนักบวชเหล่านั้นจะวางแผนปลงพระชนม์ของเนเฟอร์ติติและพระสวามี ทั้งสองก็รวบรวมไพร่พลอพยพย้ายเมืองนี่คือ การสร้างฐานสำหรับการปฎิวัติ และ การกระทำครั้งนั้นส่งผลให้เนเฟอร์ติติกลายเป็นผู้หญิงที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น เมืองอมาร์นา คือเมืองใหม่ที่ถูกวางโครงสร้างเพื่อบูชาดวงอาทิตย์และทุกครั้งของการปรากฎตัวเนเฟอร์ติติ พระนางจะเคียงข้างพระสวามีเสมอมิใช่เยี่ยงราชินีแต่เป็นผู้ปกครองร่วมที่เสมอภาคกัน
เมืองอมาร์นา
หลังจากนั้นอีก 2 ปี เรื่องราวของพระนางเนเฟอร์ติติก็หายไปจากบันทึก บางตำนานกล่าวว่าการกระทำของพระนางและสวามีนั้น ก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาขึ้นในอียิปต์เหตุเพราะพระนางได้ทำลายวิหารที่ถือเป็นศูนย์กลางศรัทธาของชาวเมืองทิ้งคนจำนวนมากตกงานและไม่มีใครกล้าวิจารณ์กษัตริย์ ฟาโรห์อัตนาเตนและพระนางเนเฟอร์ติติได้ทำลายความเชื่อของผู้คนและทำให้อียิปต์ก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤติ เกิดความไม่สงบในบ้านเมืองกระทั่งบ้านเมืองก้าวสู่หายนะ
อย่างไรก็ตามผู้ที่เกลียดชังต่างๆนั้น ได้ทำฝห้ภาพของเนเฟอร์ติติตามวังและวิหารต่างๆถูกลบพระพักตร์ออก อันเป็นการกระทำที่เกิดจากความเคียดแค้นอาฆาตที่สะสมมานานและโดยเหตุที่พระนางมีใบหน้าที่สวยงามกว่านางใดในแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้เองใบหน้าในรูปเขียนต่างๆจึงถูกทำลายอย่างเฉพาะเจาะจง และแม้แต่มัมมี่ของพระนางก็ยังไม่มีหลักฐานปรากฎชัดเจนว่าอยู่แห่งหนใด
รูปปั้นครึ่งตัวของเนเฟอร์ติติ จากพิพิธภัณฑ์อียิปต์ จากกรุงเบอร์ลิน
จวบจนกระทั่งในปัจจุบันนักอียิปต์วิทยาได้สันนิษฐานว่ามัมมี่ 1 ใน 3 ร่าง ที่พบในสุสานหมายเลข kv35 แห่ง หุบเขากษัตริย์ ใกล้เคียงกับสุสานของตุตันคาเมนนั้นน่าจะเป็นมัมมี่ของเนเฟอร์ติติดังที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น เหตุของการสันนิษฐานประมวลได้ว่า มัมมี่ร่างนั้นมีคอเรียวยาวดุจหงส์ซึ่งละม้ายกับรูปลักษ์เนเฟอร์ติติผู้งดงามและอายุของมัมมี่ก็อยู่ในยุคเดียวกับพระนาง
นอกจากนี้ตลอดร่างของมัมมี่ถูกทำลายเสียหาย เช่น ใบหูถูกเจาะ ศรีษะถูกโกน คิ้วถูกกดเป็นรอย ลำตัวมีริ้วรอย ซึ่งล้วนตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อภาพเขียนทั้งหลายของพระนางและที่สำคัญคือ ได้พบวิกผมสไตล์นูเบียน ตกอยู่ใกล้ๆ กับมัมมี่ทั้ง 3 เป็นแบบวิกผมที่ เนเฟอร์ติติ และสมาชิกราชวงศ์ของเธอสวมใส่ อยู่เป็นประจำทำให้น่าเชื่อได้ว่า มัมมี่นี้ก็คือ พระศพของพระนางเนเฟอร์ติติ ราชินีผู้มีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะเมียและแม่นั้นเอง
รูปแกะสลักในท่ายืนของเนเฟอร์ติติ จากเมืองอมาร์นา
หุบผากษัตริย์ สุสานฟาโรห์ประเทศอียิปต์
แม้ปริศนาบางส่วนของพระนางเนเฟอร์ติติสตรีผู้เป็นราชินีแห่งอียิปต์นั้นจะยังขาดหาย ไปแต่ในเรื่องความสวยงามของพระนางแล้วนั้นเป็นเรื่องจริงที่ประวัติศาสตร์นั้นคงปฎิเสธไม่ได้แน่นอน
โฆษณา