27 ส.ค. 2022 เวลา 02:30 • ปรัชญา
“Mushin No Shin” การคิดแบบไม่คิด ทำให้การตัดสินใจได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
"รู้อย่างนี้ เชื่อตัวเองดีกว่า" เป็นความคิดแรกที่เกิดขึ้นหลังเราตัดสินใจทำบางสิ่งไปแล้ว แต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แม้จะนั้งคิดเตรียมพร้อมมาอย่างดีแล้วก็ตาม ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทำไมกัน วันนี้ THE MONEY มีคำตอบ
-ทุกวันนี้เรามักจะตัดสินใจโดยใช้ "เหตุผล" ผ่านความรู้ที่มี และรับฟังคนอื่น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ครับว่าผลลัพธ์กลับไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวัง และอาจจะถึงขั้นเป็นการตัดสินใจผิดพลาดเลย ซึ่งการตัดสินใจแบบนี้เรียกว่า "การตัดสินใจแบบมีจิตสำนึก" (Concious)
-ซึ่งการตัดสินใจแบบมีจิตสำนึก (Concious) เป็นการคิดผ่านความรู้ที่เรามี ใช้ตรรกะ รวมถึงรับฟังเหตุผลจากคนอื่นๆ มามากมาย แม้จะมีมูลเยอะ แต่ผลลัพธ์ดันแย่ นั้นเป็นเพราะเมื่อมีข้อมูลเยอะ อารมณ์และความคิดก็จะทำงานควบคู่กัน ทำให้คิดเยอะ หลุดโฟกัสจากเรื่องที่ควรจะเป็น ยิ่งคิดไตร่ตรองมาก ก็ยิ่งทำให้ได้ผลลัพธ์แย่ลง
-ต่างจากการตัดสินใจแบบจิตใต้สำนึก (Subconcious) ตัดสินใจได้ดีกว่า นั้นเป็นเพราะ การคิดแบบมีจิตใต้สำนึก เป็น "จิตใจที่ไร้ซึ่งความคิด" หรือคนญี่ปุ่นเรียกว่า Mushin No Shin
1
-Mushin No Shin คือ "จิตใจที่ไร้ซึ่งความคิด" ภาวะที่ไม่มีเสียงความคิดอื่นๆ มารบกวนจิตใจเรา ทำให้จิตใจอยู่ในสภาวะสงบ เมื่อเราอยู่ในจิตใจที่ไร้ซึ่งความคิด ทุกการกระทำมักออกมาจากจิดใต้สำนึกหรือสัญชาตญาณของเราล้วนๆ
-สรุปได้ว่า "การคิดแบบมีจิตสำนึก" เหมาะกับการต้องตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลน้อยๆ แต่สำหรับการคิดแบบ "จิตใต้สำนึก" สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ที่มีข้อมูลเยอะๆ การวิเคราะห์จากภาพรวมอย่างรวดเร็วด้วยจิตใต้สำนึก อาจเป็นวิธีที่เหมาะสมและให้คำตอบได้ดีกว่า
1
-เช่น บนสนามแข่งขัน สถานการณ์กดดัน เราแทบไม่มีเวลาตั้งสติหรือไตร่ตรองตัดสินใจ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ในตอนนั้น คือ การทำตามสัญชาตญาณ
-เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น การขับขี่จักรยาน ต่อให้เราหยุดนานเท่าไหน กลับมาขี่อีกครั้ง เราก็ยังขับจักรยานได้อัตโนมัติทันที ซึ่งการสร้าง "Mushin No Shin" ก็อาศัยหลักการนี้เช่นกัน จะลดการตัดสินใจแบบใช้งานสมอง แล้วเพิ่มการตัดสินใจผ่าน "สัญชาตญาณ" แทน
-แล้วถ้าอยากพัฒนาการตัดสินใจแบบจิตใต้สำนึกเพื่อนำไปตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตทำได้ไหม? สามารถทำพัฒนาจิตใต้สำนึกได้ โดยการฝึกฝนสมาธิ หรือควบคุมอารมณ์ หากทำได้ก็จะเป็นการพาจิตเข้าสู่ Mushin No Shin ได้ดีขึ้น
-เมื่อสภาวะจิตใจที่ไร้การปรุงแต่งจะช่วยให้เราสามารถโฟกัสกับงานตรงหน้าได้ดียิ่งขึ้น แถมเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจมากขึ้น เราจะรู้สึกเสียดายผลลัพธ์ที่เลือกน้อยลง เพราะเราได้ฟังเสียงที่เป็นตัวเราอย่างแท้จริงมากขึ้น
เปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ ด้วยการเรียนรู้จาก "หนังสือ"
สั่งหนังสือได้ทาง INBOX
1
โฆษณา