27 ส.ค. 2022 เวลา 14:50 • อาหาร
1) ข้อมูลจาก Harvard ที่ผมค้นเจอคือ
เราควรบริโภคนำ้ตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวันครับ
2) “นำ้ตาลแฝง”
แน่นอนครับว่า “ของหวาน/เครื่องดื่มรสหวาน” ย่อมมีนำ้ตาลเป็นส่วนประกอบ โดยปริมาณน้ำตาลจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิต
แต่เท่าที่ผมลองหาข้อมูลดูพบว่า “ซอสและเครื่องปรุงรส” เองก็มีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ด้วย เช่น
# ซอสพริก
ผมเคยอ่านฉลากของขวดซอสพริกซึ่งระบุว่า มีนำ้ตาลอยู่ราว 25%
# ซอส Teriyaki
มีนำ้ตาลราว 42%
# นำ้จิ้มสุกี้
มีนำ้ตาลราว 26%
# นำ้จิ้มไก่
1
มีน้ำตาลราว 33%
# ซอสหอยนางรม
มีนำ้ตาลราว 10%
# ซีอิ๊วดำ
อาจมีนำ้ตาลรวมมากกว่า 50%
# น้ำปลาหวาน
มีนำ้ตาลราว 56%
3) “นำ้ตาล” กับสุขภาพ
- นำ้ตาลทำให้เลือดข้นหนืด จึงทำให้หัวใจทำงานหนักในการปั๊มโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย นั่นคือบ่อเกิดของโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น
- นำ้ตาลจะไปจับคอลลาเจน จึงทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น หรืออาการ “แก่ก่อนวัยนั่นเอง”
- หากลดปริมาณการบริโภคนำ้ตาล จะช่วยลดความอยากอาหาร เพราะอินซูลิน จะค่อยๆถูกปล่อยออกมา ทำให้อิ่มนานขึ้น จึงช่วยให้การลดน้ำหนักง่ายขึ้น
และช่วยลดความเสี่ยงของภาวะไขมันพอกตับอีกด้วย
1
4) “ฉลากโภชนาการ”
ฉลากโภชนาการช่วยเราตัดสินใจในการเลือกบริโภคนำ้ตาลได้ง่ายขึ้น
ในกรณีของน้ำหวานหรือนำ้อัดลม หนึ่งหน่วยบริโภค 200 มิลลิลิตร ไม่ควรมีนำ้ตาลเกิน 12 กรัม
ฉลากอย่างง่าย คือ “ฉลาก GDA” หรือ “ฉลาก หวาน-มัน-เค็ม” จะมีข้อมูลของปริมาณ
พลังงาน, นำ้ตาล, ไขมัน, และ โซเดียม
โดยเราสามารถพิจารณาปริมาณนำ้ตาลในบรรจุภัณฑ์นั้นๆได้สะดวกขึ้น
5) “สารให้ความหวานแทนนำ้ตาล”
เท่าที่ผมค้นดูมีสองประเภทใหญ่ๆคือ
> แบบไม่ให้พลังงาน
> แบบที่ให้พลังงาน
ซึ่งทั้งชนิดและปริมาณในการใช้นั้นอาจมีผลข้างเคียงได้ จึงควรศึกษาข้อมูลก่อนการเลือกใช้
โฆษณา