28 ส.ค. 2022 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความตกใจ ,วิตกกังวล ที่มีสาเหตุมาจากการเกิดสงครามของรัสเซียในยูเครน
ซึ่งส่งผลไปยังอุตสาหกรรมพลังงานทั่วโลก รัฐบาลฝั่งตะวันตก กำลังยุติ
การพึ่งพาน้ำมันและก๊าซของรัสเซีย โดย กำลังส่งเสริมทางเลือกของพลังงาน
ที่เป็นมิตรกับภูมิอากาศ รวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ บางประเทศโดยเฉพาะเยอรมนี ที่ยังมีความหวาดกลัวในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ เชอร์โนบิล กับ ฟูกุชิมะ แต่เมื่อนับความเสียหายที่เกิดขึ้น ปรากฏว่า พลังงานนิวเคลียร์ปลอดภัยมาก (จากรูป)
พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานที่ถูกสร้างขึ้น จากการแยกอะตอมจากแกนกลางหรือนิวเคลียส เพื่อให้เกิดพลังงาน เรียกกระบวนการนี้ว่า “ปฏิกิริยาฟิชชัน (Nuclear Fission)” ซึ่งจะสร้างความร้อนไปที่ ตัวทำความเย็นที่ปกติแล้วจะเป็นน้ำ โดยที่ จะเกิดไอน้ำแล้วจะทำให้กังหันที่เชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน
ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานนิวเคลียร์ 1 เทระวัตต์-ชั่วโมง (TWh) จะทำให้ มีอัตราการตาย 0.03 คน (รวมการตายทางอ้อมจากโรคและจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานในโรงไฟฟ้า) ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าพลังงานลม ที่มีอัตราคนตาย 0.04 คนต่อ TWh ที่เกือบทั้งหมดจะมาจากอุบัติเหตุระหว่างกระบวนการติดตั้ง , การจมน้ำ
นอกชายฝั่ง , การชนกับกังหันเมื่ออยู่ในเฮลิคอปเตอร์ มีเพียงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตายน้อยกว่านิวเคลียร์ ถ่านหินมีการตายมากที่สุด สาเหตุมาจาก มลพิษ
ทางอากาศ ที่มีการตาย 24.6 คนต่อ TWh
ตามกฎแล้ว แหล่งพลังงานที่ปลอดภัยที่สุด จะเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุดเช่นกัน พลังงานนิวเคลียร์
ผลิตก๊าซเรือนกระจกเพียง 3 ตันต่อกิกะวัตต์-ชั่วโมง ในการผลิตไฟฟ้า (GWh)
เช่นเดียวพลังงานลม (รวมถึงการปล่อยจากการขุดเชื้อเพลิง การขนส่ง
และการบำรุงรักษาของโรงไฟฟ้า)
อย่างไรก็ตาม พลังงานนิวเคลียร์ ที่ถูกใช้ในการผลิตไฟฟ้า ลดลงตั้งแต่ปี 2011 และปัจจุบันมีสัดส่วน 1 ใน 10 ของพลังงานทั้งหมดบนโลก : เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในในโลก : ถ่านหิน, แก๊ส
คิดเป็น 62 % ส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนพึ่งเติบโต 10 กว่าปีที่ผ่านมา
ตามมาด้วย พลังงานลมคิดเป็น 7 % ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด และพลังงานแสงอาทิตย์ 4 %
1
พลังงานนิวเคลียร์ แสดงภาพปัญหามาระยะหนึ่ง อุบัติเหตุครั้งใหญ่ทำให้ดูเหมือนร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ และการเก็บกากนิวเคลียร์ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน แต่ทัศนคติที่เปลี่ยนไป เยอรมนีจึงมีแผนจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งในสิ้นปี
ปัจจุบันท่ามกลางการกังวลเกี่ยวกับการพึ่งพาก๊าซของรัสเซียและราคาพลังงาน
ที่พุ่งสูงขึ้น ดูเหมือนรัฐบาลจะพิจารณาทบทวนอีกครั้ง โดยสหราชอาณาจักรกำลังสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ ในรอบกว่า 20 ปี ส่วนฝรั่งเศส ทางรัฐบาล
ทุ่มงบประมาณในการเป็นผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก เพื่อช่วยจัดหาทุน เตาปฏิกรณ์ตัวใหม่ 6 เตาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ ดูเหมือนว่าพลังงานนิวเคลียร์กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง
อ้างอิง :
โฆษณา