28 ส.ค. 2022 เวลา 07:56 • การเกษตร
เล็บมือนาง หรือเล็บมือนางเลื้อย🌿🌿🌿
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Combretaceae
สกุล: Combretum
สปีชีส์: C. indica
ชื่อทวินาม Combretum indicum
(L.) DeFilipps
ชื่อสามัญ Drunken sailor, Rangoon creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica
ทางภาคเหนือ อาจเรียกว่าจะมั่ง, จ๊ามั่ง, มะจีมั่ง กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ไท้หม่อง หรือทางมลายู-ยะลาอาจเรียกว่า อะดอนิ่ง
ต้นเล็บมือนางมีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย ) 🍁🍁🍁
เล็บมือนาง 🍀🍀🍀 พืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู มีกลิ่นหอมเย็น โดยเฉพาะในช่วงอากาศเย็นในเวลากลางคืน และกลิ่นน้อยช่วงเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตรงส่วนยอดของลำต้น หลอดของดอกยาวเล็กน้อยลักษณะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ
ประโยชน์ของต้นเล็บมือนาง จัดเป็นไม้สวนประดับในการจัดภูมิทัศน์ และเป็นสมุนไพร นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ลำต้น ใช้ขับพยาธิและตานซา ส่วนใบ ใช้ตำพอกแผลสด ฆ่าเชื้อ พอกฝี ส่วนของผล กินแก้สะอึก ขับพยาธิ และราก ใช้ขับพยาธิไส้เดือน 🌲🌲🌲
ต้นเล็บมือนางที่มีขายตามท้องตลาด 🪴🪴🪴 มีหลายขนาดเริ่มตั้งแต่ต้นขนาดเล็ก (ถุงดำ) ขนาดกระถาง 8 นิ้ว, กระถาง 11 นิ้ว จนถึงต้นขนาดใหญ่ กระถาง 15 นิ้ว ต้นสูงประมาณ 2 เมตร
การปลูกและดูแลต้นเล็บมือนาง วัสดุปลูก ควรใช้ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย มีธาตุอาหารสมบูรณ์ แดดปานกลาง-จัด เล็บมือนางเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ส่วนแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อย คือ หนอนบุ้ง วิธีกำจัด อาจทำได้โดยวิธีธรรมชาติ หรือใช้สารเคมีกำจัด
โฆษณา