ทาเลปอธิบายปรากฏการณ์นี้ง่ายๆด้วยกราฟที่เรียกว่า “ 1000 and 1 days in the life of a thanks giving turkey “ ซึ่งผมเห็นกราฟนี้ครั้งแรกจากการบรรยายในคลาสเอบีซีของคุณแมน สรวิศ แห่ง band protocol เมื่อวันก่อน กราฟนี้โชว์ความสุขสบายของไก่งวงที่ค่อยๆเพิ่มแบบไม่มีสะดุดมาเป็นเวลาพันวันก่อนที่จะปักหัวดิ่งในวันสุดท้าย คุณทาเลปสรุปข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า
เรื่องงานที่บริษัทเริ่มเจอคู่แข่งแบบใหม่ วิธีการเดิมใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนทิศทางซึ่งต้องการคนทักษะใหม่ๆเข้ามาแก้สถานการณ์ เรื่อง business model ที่คิดว่าตัวเองมีฐานลูกค้าแข็งแรง โลกไม่ได้เปลี่ยนขนาดนั้นหรอก เรามีเวลาปรับตัวเสมอ (ชื่อ blockbuster nokia kodak ก็จะลอยมาทันที)
บทเรียนที่สามของวงจรไก่งวง เป็นบทเรียนคุณทาเลปสรุปไว้ด้วยประโยคสั้นๆแต่ได้คิดมากๆว่า “ Just because you never died before, doesn’t make you immortal” สิ่งที่เรายังไม่เคยเจอ ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีหรือไม่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่เวลาวางแผน ไม่ว่าวางแผนชีวิต วางแผนการงาน วางแผนธุรกิจ หรือแม้แต่สุขภาพ ก็ต้องคำนึงไว้ในแผนเสมอ และแน่นอนว่ามีหลายอย่างที่เราจะไม่สามารถจินตนาการถึงได้
2
เป็นความรู้ที่อยู่ในประเภทที่เรียกว่า “ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้” แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราดำรงตนอยู่ได้ด้วยความไม่ประมาท ไม่ all in ใส่สินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง ไม่ทำตัวน่าหมั่นไส้ พยายามเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ทำดีต่อผู้คน ดูแลสุขภาพอยู่เสมอ เพราะไม่รู้ว่าวันหนึ่งอะไรจะเกิดขึ้น