29 ส.ค. 2022 เวลา 04:01 • สุขภาพ
คิดว่าอยากแชร์เรื่องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าบ้าง เพราะรู้สึกว่ามันใกล้ตัวเหลือเกิน และที่สำคัญสำหรับยุคนี้คนเริ่มเข้าใจโรคนี้มากขึ้น ไม่กล่าวหาว่าเค้าเป็นคนบ้าแบบสมัยก่อน ซึ่งเราว่าเป็นการคิดในแง่บวก ทำให้คนที่เป็นแบบนี้มีที่ยืนในสังคม
ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนว่าโรคนี้เกิดจากความผิดหวัง หรือการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งในความจริงแล้ว
โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย จะเป็นยาในกลุ่มแก้ซึมเศร้าหากมีความจำเป็น สามารถรักษาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอาการดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ และยิ่งมารับการรักษาเร็วเท่าไรอาการก็จะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษายากยิ่งขึ้น
ส่วนวิธิการป้องกัน มีดังนี้
-อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
-อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก
-พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน
-อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป ควบคุมอารมณ์ความเครียด ยืดหยุ่น รัก และนับถือตนเอง
-ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม
-อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดี และมีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น
-อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ “ลัดนิ้วมือเดียว” เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด
-พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น
การให้กำลังใจและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ดี โดยมีประโยคดังนี้
-เธอไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวนะ ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอเอง
-ฉันอาจจะไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันเป็นห่วงและอยากช่วยเธอนะ
-เธอไหวไหม เธอเหนื่อยมากไหม
-ชีวิตเธอสําคัญกับฉันมากๆ นะ
-เธออยากให้เราช่วยอะไรบ้าง บอกได้นะ เราอยากช่วย
เป็นการทำให้มีกำลังใจในชีวิตมากขึ้น เป็นผู้ฟังที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้นจากประโยคด้านบน
ส่วนที่ไม่ควรพูดเพราะออกแนวทิ่มแทงผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยสิ้นหวังไปอีก มีดังนี้
-เธอคิดไปเอง
-ใครๆ ก็เคยผ่านเรื่องแบบนี้ทั้งนั้นแหละ
-ลองมองในแง่ดีดูสิ
-ชีวิตมีอะไรอีกตั้งเยอะ ทําไมถึงอยากตายล่ะ
-หัดช่วยตัวเองบ้างสิ
-หยุดคิดเรื่องที่ทําให้เครียดสิ
-ทําไมยังไม่หายล่ะ
-มีคนที่แย่กว่าเราอีกตั้งเยอะ เขายังสู้ได้เลย
อาการทั่วไป ได้แก่
-รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า อยากร้องไห้ สิ้นหวัง
-รู้สึกโกรธ หงุดหงิด รำคาญเรื่องเล็กน้อย
-หมดความสนใจ หรือรู้สึกไม่สนุกกับกิจกรรมส่วนใหญ่หรือกิจกรรมทั้งหมดในชีวิตประจำวัน เช่น เพศสัมพันธ์ กีฬา หรืองานอดิเรก
-ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือ นอนไม่หลับ
-เหนื่อยล้า ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
-ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลด หรือ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักขึ้น
-รู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย ประหม่า
-คิดช้าลง พูดหรือขยับร่างกายช้าลง
-รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หมกหมุ่นเรื่องความล้มเหลวที่ผ่านมาแล้วหรือโทษตัวเอง
-ขาดสมาธิ มีปัญหาเรื่องความจำ หรือไม่สามารถคิดหรือตัดสินใจเองได้
-คิดถึงเรื่องความตาย การพยายามฆ่าตัวตายบ่อย ๆ
-มีอาการป่วยทางกายที่ไม่พบสาเหตุ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง
โรคซึมเศร้ามีประเภท ดังนี้
-โรคซึมเศร้าทั่วไป แสดงอาการเบื่อ ท้อแท้ และเศร้าสลดอย่างมากนานเกิน 2 สัปดาห์
สาเหตุ : มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง การสูญเสีย หรือผิดหวัง ความเครียดสะสมยาวนาน อาจมีอาการทางจิต เช่น หวาดระแวง และหูแว่ว การเปลี่ยนแปลงตามวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักมีอาการขี้บ่นจุกจิก
-โรคซึมเศร้าเรื้อรัง รุนแรงน้อยกว่ากรณีแรก แต่เป็นต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2 ปี และมักนานกว่า 5 ปี
สาเหตุ : ทุกข์ใจมายาวนาน แม้จัดการได้ระดับหนึ่ง แต่ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุขมาเป็นเวลาหลายปี ลงเอยด้วยการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแบบชัดเจน
-โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ มีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับร่าเริงผิดปกติ (Mania) ใน 1 ปีอาจมีอาการนี้หลายครั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายหรือตัดสินใจผิด ๆ และอาจคิดฆ่าตัวตาย
ขอจบในส่วนตรงนี้ด้วยแบบทดสอบคุณเสี่ยงโรคซึมเศร้าไหม? ลองคลิกตามลิงค์ด้านล่างกันเลย
อ้างอิง
โฆษณา