24 ก.ย. 2022 เวลา 00:00 • ปรัชญา
ความงามของชามแตก
Blockdit Originals ซีรีส์บทความพิเศษ
นาม เซน โนะ ริคิว (千利休 1522 – 1591) ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นว่าเป็นปรมาจารย์พิธีดื่มชาของญี่ปุ่น เขาเป็นชาวเมืองซาไก (ปัจจุบันคือโอซากา)
7
เรียนรู้เรื่องชามาแต่เล็กจากอาจารย์คิตะมุคิ โดจิน กับอาจารย์ทาเคโนะ จู คนหลังเป็นศิษย์ของศิษย์ของ มุราตะ ชูโกะ ปรมาจารย์เรื่องชาอีกท่านหนึ่งเกือบหนึ่งร้อยปีก่อน
4
นอกจากนี้ เซน โนะ ริคิว ยังเรียนเซนสายรินไซที่วัดนันชูแห่งซาไกกับวัดไดโทคุ
1
มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง เซน โนะ ริคิว ไปเยี่ยมบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านรู้สึกตื่นเต้นที่ปรมาจารย์ชามาเยือน จึงนำกาน้ำชาราคาแพงจากเมืองจีนมาให้ชม
1
แต่ เซน โนะ ริคิว กลับไม่มีทีท่าสนใจ ทอดสายตามองออกนอกหน้าต่าง ดูกิ่งก้านต้นไม้ไหวตามลม เมื่อเซน โนะ ริคิว กลับไป เจ้าของบ้านก็ทุ่มกาน้ำชาราคาแพงลงบนพื้น แตกเป็นชิ้นๆ
5
ใครคนหนึ่งเก็บเศษกาน้ำชา นำไปให้ช่างซ่อม โดยเชื่อมต่อรอยแตกด้วยทอง มันกลายเป็นกาน้ำชาที่มีรอยแตกทั้งกา เส้นสายเป็นทอง
1
เมื่อ เซน โนะ ริคิว ไปเยี่ยมบ้านหลังนั้นอีกครั้ง แลเห็นกาชาที่เซน โนะ ริคิว
มีรอยต่อเป็นเส้นสีทอง ก็มองดูกาแตกด้วยความชื่นชม เอ่ยว่า “ตอนนี้มันงดงามยิ่ง”
1
เซน โนะ ริคิว
ทำไม เซน โนะ ริคิว จึงเห็นว่ากาน้ำชาที่แตกเป็นเสี่ยง ต่อใหม่เป็นรอยเส้นสีทอง จึงงดงาม?
1
ก่อนจะเล่าเรื่องนี้ จำต้องย้อนอดีตกลับไปไกลกว่านั้นราวสามร้อยกว่าปี
2
พระเอไซ เซนจิ (明菴栄西 1141 – 1215) กลับจากเมืองจีน นำรินไซเซนไปเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น สร้างวัดเซนแห่งแรกในญี่ปุ่น นอกจากธรรมแล้ว ท่านได้นำชาจีนไปปลูกที่ญี่ปุ่น และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องชา
1
การดื่มชาแรกเริ่มก็เพื่อแก้ง่วงระหว่างการทำสมาธิ ต่อมาก็พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของเซนโดยปริยาย มันพัฒนาต่อมาเป็นพิธี เรียกว่า ฉะโนะยุ และกลายเป็นวิถีชีวิตของญี่ปุ่นไป
3
เอไซ เซนจิ เขียนตำราเกี่ยวกับชาชื่อ คิตสะ โยโจคิ (喫茶養生記) แปลว่า ดื่มชาเพื่อสุขภาพ การดื่มชากลายเป็น ‘new normal’ ของสังคมญี่ปุ่น
1
ราวสองร้อยกว่าปีหลังจากยุคของ เอไซ เซนจิ ก็ถือกำเนิดปรมาจารย์พิธีชาคนใหม่นาม มุราตะ ชูโกะ (村田珠光 1423–1502) เขาพัฒนาโรงดื่มชาขนาดเสื่อทาทามิสี่ชิ้นครึ่ง ซึ่งต่อมาภายหลังกลายเป็นมาตรฐาน และทำให้การดื่มชามีจิตวิญญาณ มีความงาม มีบทกวีประกอบ
5
ชูโกะเห็นว่าพิธีชงชาที่เดิมเป็นของพระเซน แต่ต่อมาพวกโชกุนและชนชั้นสูงดื่มเพื่อโชว์ถ้วยชาแพงๆ ที่มาจากจีน พิธีรีตองเริ่มมากขึ้น รุงรังขึ้น เช่น ต้องดื่มชาตอนจันทร์เต็มดวง
3
พิธีชงชาที่เริ่มต้นด้วยความเรียบง่าย กลายเป็นเรื่องเว่อร์ ใช้อวดสถานะทางสังคม
ชูโกะจึงออกแบบการดื่มชาใหม่ โดยใช้หลักวาบิ-ซาบิ เขาปฏิเสธการดื่มยามจันทร์เต็มดวง แต่ดื่มชาตอนจันทร์อยู่ในเงามืดครึ่งหนึ่ง หรือเมื่อจันทร์ซ่อนในเมฆ เลิกใช้ถ้วยแพงๆ จากจีน แต่ใช้ถ้วยธรรมดาแบบหยาบๆ ที่ผลิตในญี่ปุ่น ใช้แม้แต่ถ้วยที่มีรอยตำหนิ
9
ในราวปี 1488 มุราตะ ชูโกะ เขียนจดหมายถึงศิษย์ของเขาชื่อ ฟุรูอิชิ โชอิน บอกวิธีดีที่สุดที่จะดื่มชา พิธีดื่มชา และวางรากความงามของวาบิ-ซาบิในพิธีดื่มชา
4
จดหมายนี้เรียกว่า โคโคะโระ โนะ ฟูมิ (心の手文 แปลว่าจดหมายของหัวใจ)
2
ความงามคือเรื่องของหัวใจ
4
มุราตะ ชูโกะ เน้นคุณค่าของการเคารพต่ออาหารและชาที่ดื่ม ความบริสุทธิ์ของกายและใจ
5
นี่หมายถึงการดื่มชาควรเป็นพิธีของความสะอาดและจิตเป็นอิสระจากตัณหา เป็นอิสระจากการปรุงแต่งเรื่องเปลือกของถ้วยชาแพงๆ
12
ราวสองร้อยปีหลังจากยุคของ เอไซ เซนจิ ในสมัยมุระมาชิ โชกุนอาชิคางะ โยชิมิตสึ (1358-1408) ทำชามโปรดใบหนึ่งแตก ก็ส่งมันไปซ่อมที่เมืองจีน เมื่อรับกลับมาจากเมืองจีน โชกุนตกใจใหญ่หลวงที่มันน่าเกลียดมาก ช่างจีนต่อรอยแตกด้วยเหล็กดาม ไม่มีความสุนทรีย์ใดๆ
2
โชกุนจึงให้ช่างญี่ปุ่นลองทำอะไรที่สวยกว่านี้ เป็นที่มาของการเชื่อมประสานด้วยสายทอง ไม่ต้องซ่อนรอยแตก ตั้งใจให้รอยตำหนิเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส
3
นี่ก็คือหลักวาบิ-ซาบินั่นเอง ยอมรับว่าสิ่งของย่อมแตกสลายตามกาลเวลา ยอมรับมัน และชื่นชมมัน
22
เมื่อบ้านแตกร้าว เราก็ซ่อมมัน เมื่อถ้วยชามแตกร้าว ก็ไม่ต้องโยนมันทิ้งไป เพราะชีวิตมันยังไม่จบ มันแค่เดินทางมาถึงขั้นเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์บ้าง แต่มันยังใช้งานได้ เพียงเอาเศษชามที่แตกมาประสานกัน โดยใช้ผงทองเป็นองค์ประกอบ
14
การซ่อมแบบนี้เป็นที่มาของปรัชญา คินสึงิ (金継ぎ)
3
ปรัชญาการซ่อมถ้วยชามที่แตกร้าว
2
คิน = ทอง สึงิ = การเชื่อม
3
การซ่อมชามคินสึกิ (ภาพจาก culturewhisper.com)
ก็คือเชื่อมด้วยทอง หรือรอยต่อทอง
1
ดีไซน์ของคินสึงิคือ ตั้งใจเน้นรอยแตกด้วยธาตุที่มีราคาแพง หรือของสูง ก็คือทอง ไม่ต้องปกปิดรอยแตก แสดงให้เห็นชัดแจ้งไปเลย
4
นี่ก็คือการเผยตัวตนที่แท้จริงของถ้วยชา ไม่ปกปิดรอยแตก ไม่ต้องละอายต่อความไม่สมบูรณ์
6
หลักคิดแบบนี้ทำให้เราไม่ต้องเครียดเมื่อชีวิตเดินทางถึงจุดเสื่อมสลาย แค่ยอมรับมัน และมองเห็นความงามของมัน
8
ครั้งหนึ่ง เซน โนะ ริคิว แลเห็นคนใช้กวาดพื้นสวนโรงชาจนสะอาด ไร้ใบไม้และสิ่งแปลกปลอม เซน โนะ ริคิว ก็เดินไปเขย่าต้นเมเปิล ให้ใบไม้สีแดงร่วงลงไปบนทางเดิน
3
สิ่งที่สวยเกินไปนั้นผิดธรรมชาติ! เขาจึงเพิ่ม ‘ตำหนิ’ เล็กน้อยเข้าไป รวมธรรมชาติกับสิ่งที่คนสร้างเข้าด้วยกัน
5
เซน โนะ ริคิว ใช้หลักวาบิ-ซาบิเสมอ
2
เซน โนะ ริคิว กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญพิธีชงชา เคยทำงานให้ขุนศึกใหญ่สองคนคือ โอดะ โนบุนากะ กับ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ
5
เซน โนะ ริคิว มีส่วนพัฒนาประเพณีฉะโนะยุจนเกือบสมบูรณ์ มีการใช้แจกันดอกไม้ ที่ตักชา ที่รองฝากาทำด้วยไม้ไผ่ ถ้วยชาเครื่องปั้นดินเผา ที่ผลิตด้วยความร้อนต่ำทำให้ผิวไม่เรียบและมีรูพรุน
2
ชุดถ้วยชานี้เรียก raku (楽焼) และมีความเป็นวาบิ-ซาบิสูง
1
เซน โนะ ริคิว เป็นผู้ทำให้พิธีดื่มชาเรียบง่าย ทิ้งส่วนที่เกี่ยวข้องออกไปหมด ถ้วยชามใช้ของชาวนาง่ายๆ นอกจากนี้ จังหวะการขยับมือชงชาก็เรียบง่าย
2
แต่ไม่ทุกคนเห็นความงามของความเก่าเรียบ
1
ตำนานเล่าว่า โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ไม่พอใจการใช้ถ้วยชามชาวนา เพราะฮิเดโยชิเกิดในตระกูลต่ำต้อยของชาวนา จึงคิดว่า เซน โนะ ริคิว ล้อเลียนตน
4
ผลก็คือเขาสั่งให้ เซน โนะ ริคิว ฆ่าตัวตายโดยฮาราคีรี
3
ชะตากรรมของ เซน โนะ ริคิว ก็คล้ายๆ โสเครติสที่ถูกสั่งให้(เลือก)กินยาพิษ เซน โนะ ริคิว ก็ดื่มชากับเพื่อนๆ เป็นครั้งสุดท้าย เอ่ยคำกวีลาตาย แล้วฆ่าตัวตายในวัยเจ็ดสิบ
4
ชีวิตที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นชีวิตที่ยาว แต่ควรเป็นชีวิตที่งาม
21
ชีวิตที่ดีก็ไม่จำเป็นต้องเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ มันเป็นชีวิตที่มีรอยต่อเชื่อมได้
14
รอยต่อของเขาถูกประสานด้วยทอง และมันกลายเป็นอมตะ
3
โฆษณา