2 ก.ย. 2022 เวลา 11:20 • ธุรกิจ
ไทยทดสอบส่งออกทุเรียนกว่า 425 ตัน จาก ไทย ไป จีน ด้วยการขนส่งทางราง
2
เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไทยได้ทดสอบส่งออกทุเรียนล็อตใหญ่กว่า 425 ตันไปยังประเทศจีน ผ่านการขนส่งทางรางข้ามประเทศโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิขนส่งผลไม้จากแหล่งผลิตของเกษตรกร (ระยอง จันทบุรี ตราด)
3
จากต้นทางสถานีมาบตาพุด (ระยอง) สู่จังหวัดหนองคาย และส่งต่อไปยังสถานีท่านาแล้ง (สปป. ลาว) ก่อนจะเปลี่ยนถ่ายเป็นการขนส่งด้วยรถไฟไฟฟ้าความเร็วสูงลาว-จีน ที่สถานีเวียงจันทน์ใต้สู่ปลายทางประเทศจีน โดยแต่ละเส้นทางใช้เวลาดังนี้
4
  • จากสถานีมาบตาพุต ไป สถานีหนองคาย ใช้เวลา 14 ชม.
  • จากสถานีหนองคาย ไป สถานีรถไฟท่านาแล้ง ใช้เวลา 20 นาที
  • จากสถานีท่านาแล้ง ไป สถานีเวียงจันทน์ใต้ ใช้เวลา 1 ชม.
  • จากสถานีเวียงจันทร์ใต้ ไป สถานีโมฮ่าน ใช้เวลา 5 ชม. 30 นาที
6
การขนส่งในครั้งนี้ใช้เวลารวมประมาณ 20 ชม. 50 นาที จากสถานีมาบตาพุด ประเทศไทย ถึงด่านโมฮ่าน ประเทศจีน สามารถประหยัดเวลาได้มากกว่า 10 ชม. เมื่อเทียบกับเส้นทางขนส่งทางรถที่ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 30-35 ชม.
5
นอกจากจะใช้ระยะเวลาในการขนส่งน้อยกว่าการขนส่งทางรถ มากกว่า 30% และต้นทุนการขนส่งสินค้าทางรางยังมีอัตราที่ต่ำกว่าทางรถ การขนส่งสินค้าทางรางจึงนับเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
3
ในปี 2564 ที่ผ่านมามูลค่าการค้าของการขนส่งทางรถมีมูลค่ากว่า 1.9 ล้านล้านบาทและการขนส่งทางเรือมีมูลค่า 11.5 ล้านล้านบาท แต่การขนส่งทางรางมีมูลค่าเพียง 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการขนส่งทางรางอยู่ในช่วงการเริ่มทดลองวิ่งและยังไม่ได้ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
5
ความได้เปรียบของการขนส่งทางรางที่ใช้เวลาการขนส่งสินค้าที่น้อยลงและต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำกว่า ทำเห็นถึงโอกาสในการเติบโตอีกมากในการแย่งส่วนแบ่งจากการขนส่งรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถที่สามารถทดแทนกันได้โดยตรง หรือแม้แต่การขนส่งทางเรือที่บางเส้นทางสามารถทดแทนกันได้
1
หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น หากผู้ส่งออกนำเข้าที่เคยใช้การขนส่งทางบกเพียงแค่ 1% เปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางราง จะทำให้มูลค่าการค้าของการขนส่งทางรางเพิ่มขึ้นกว่า 20,000 ล้านบาท หรือมูลค่าเติบโตกว่า 2 เท่า
2
ถ้าในอนาคตผู้ส่งออกนำเข้าที่ใช้การขนส่งทางบกและทางทะเลเปลี่ยนมาใช้การขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น คิดว่าการขนส่งทางรางจะมีการเติบโตมากขนาดไหน ?
2
โดยในครึ่งปีแรกของปี 2565 การขนส่งสินค้าทางรางระหว่างประเทศมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 8,300 ล้านบาท เติบโต 10% YoY โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 ของการขนส่งทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการเติบโต 6 เดือนแรกของปีนี้ยังไม่มากนัก เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นศูนย์กลางระบบการขนส่งทางรางของภูมิภาคยังมีการล็อคดาวน์จากมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19
1
มีสินค้าหลักที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์ ยางธรรมชาติ แผ่นไม้อัด ปุ๋ยเคมี และผลไม้สด เป็นต้น ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลี ญีปุ่น
2
การประหยัดระยะเวลาในการขนส่ง และต้นทุนค่าขนส่งที่ค่อนข้างต่ำ จะทำให้การขนส่งสินค้าทางรางกลายเป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าที่สำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศจีนซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าหลักของโลกกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีเส้นทางระหว่าง จีน ลาว ไทย และมาเลเซีย
3
ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศไทยที่มีความได้เปรียบในแง่ของการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า (Transit hub) ให้กับอาเซียน โดยการขนส่งจากประเทศจีนมายังประเทศไทย และส่งผ่านจากประเทศไทยไปยังจุดหมายปลายทางในอาเซียนด้วยการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ต่อเนื่อง เช่น ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก และทางราง
3
ในอนาคตหากมีการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางไปยังทวีปยุโรป ผ่านฝั่งจีนตะวันออก จะทำให้การขนส่งสินค้าทางรางสามารถเชื่อมต่อเส้นทางการค้าครอบคลุมทั้งอาเซียน จีน และยุโรป
2
กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า จีนครองตำแหน่งคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ติดต่อกันเป็นปีที่ 13 และจีนยังเป็นผู้ลงทุนอันดับที่ 4 ของอาเซียน โดยในปี 2564 การค้าระหว่างอาเซียนกับจีน มีมูลค่า 668,961 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 29.11% เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยการส่งออกจากอาเซียนไปจีน มีมูลค่า 280,538 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 28.30% และการนำเข้าจากจีนมายังอาเซียน มีมูลค่า 388,424 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 29.69%
1
ล่าสุด ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน – จีน มีการหารือเพื่อยกระดับความตกลง ACFTA ซึ่งจะช่วยขยายการค้าและการลงทุนของทั้งสองฝ่าย อาทิ การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การเปิดเสรีและคุ้มครองการลงทุน เตรียมเสนอผู้นำอาเซียนและจีน เพื่อประกาศเริ่มเจรจา พ.ย. นี้
1
ที่ประชุมยังสนับสนุนข้อเสนอของจีนที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคภายหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยจะร่วมกันจัดทำแผนงานว่าด้วยการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าอาเซียน-จีน ในเชิงลึกปี 2565 – 2569
2
แม้ว่าในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าทางรางจะมีสัดส่วนเพียง 0.1% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย แต่หากมีการพัฒนาระบบ infrastructure ให้มีประสิทธิภาพตามาตรฐานสากล และสามารถเชื่อมต่อเส้นทางการค้าได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งการแก้ไขกฎระเบียบพิธีศุลกากรเพื่อเพิ่มความสะดวก ลดความล่าช้า ก็จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการขนส่งทางราง
3
โดยเฉพาะภายหลังมาตรการล็อคดาวน์ในประเทศจีนผ่อนคลายลง แนวโน้มการค้าระหว่างจีนและอาเซียนที่มีการเติบโตต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าการขนส่งสินค้าทางรางมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมากในอนาคต และมีโอกาสที่จะทดแทนการขนส่งสินค้าทางบกและทางเรือในบางเส้นทางอีกด้วย
1
โฆษณา