13 ต.ค. 2022 เวลา 14:42 • ท่องเที่ยว
หลวงพ่อกลักฝิ่น หรือ พระพุทธเสรฏฐมุนี
วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธเสรฏฐมุนี
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 ทรงปกป้องผืนแผ่นดิน เพื่อรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทรงทำนุบำรุงพสกนิกรให้เป็นพลเมืองดี มีศีลธรรม มีความรู้ มีปัญญา เพื่อเป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ปรากฎว่าในรัชสมัยของพระองค์ ชาวต่างชาติได้นำฝิ่นเข้ามาเผยแพร่ในพระราชอาณาจักร ฝิ่นเป็นสิ่งเสพย์ติด มอบเมาพลเมืองทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย เป็นการบั่นทอนความมั่นคงของบ้านเมือง ผู้ที่ค้าฝิ่น คือ เสี้ยนหนามบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา จึงมีพระบรมราชโองการให้ปราบฝิ่นอย่างเด็ดขาด
พุทธศักราช 2382 ได้กวาดล้างจับฝิ่นครั้งใหญ่ ได้ฝิ่นดิบ 3,700 หาบ ฝิ่นสุก 2 หาบ รวมน้ำหนัก 222,120 กิโลกรัม คิดเป็นเงินเวลานั้นกว่า 18 ล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินหลายเท่าโปรดรวมมาเผาทำลายที่สนามชัย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เมื่อวันที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2382 แล้วทรงนำกลักฝิ่นจำนวนมากหล่อเป็นพระพุทธปฏิมากร ณ โรงหล่อของหลวงในพระบรมมหาราชวัง อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เมื่อแรกผู้คนเรียกว่า "พระกลักฝิ่น"
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่ส "พระพุทธเสรฏฐมุนี" แปลว่า พระผู้ประเสริฐสุด มีความหมายว่า ผู้ติดสิ่งเสพติดทั้งหลาย สามารถกลับใจเป็นคนดีได้เสมอ ย่อมสว่างรุ่งเรือนเสมือนกับพระพุทธรูปที่ทรงสร้าง อันจะเป็นพลังแข็งแกร่งชนะจิตใจให้เหินห่างสิ่งเสพติดได้
ความสำคัญ
พระพุทธเสรฏฐมุนี ประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศน์เทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระพุทธปฏิมากรองค์นี้ สะท้อนพระราชหฤทัยพระมหากษัตริย์เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงห่วงใยพลเมือง และทรงปกป้องภัยพิบัติเฉพาะสิ่งเสพติดอย่างเข้มแข็ง พระราชทานกำลังใจแก่ผู้เสพติดว่า สามารถกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ได้ตลอดเวลา ประดุจพระพุทธรูปนี้ แม้จะหล่อหลอมมาจาก "กลักฝิ่น" สิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด สุดท้ายก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้วด้วยพุทธธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
พุทธศิลป์
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 โดยได้นำกลักฝิ่นซึ่งเป็นทองเหลืองและโลหะอื่น ๆ จำนวนมาก หลอมหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว ตามพุทธศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นพิเศษเฉพาะ ที่สำคัญ คือ พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ ทั้งสี่ยาวเสมอกัน สังฆาฏิเป็นแผ่นกว้างวางอยู่กลางพระวรกาย
หลวงพ่อกลักฝิ่น วัดสุทัศน์
คาถาบูชา "พระกลักฝิ่น"
อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ
ทุติยัมปิ อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ
ตะติยัมปิ อิมัง มิฉา อธิฐานัง ปันจะทะธาราปิ
ข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐาน ถอนคำสาปแข่ง คำบนบานที่ข้าพเจ้าได้ตั้งขึ้นพร้อมด้วยกิเลส ด้วย ตัณหา ด้วยอุปทาน ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยมิจฉาทิฐิ เป็นไปเพื่อความพยายาม เพื่อเบียดเบียน สร้างเวรสร้างกรรม ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ประกอบด้วยวินัย ไม่ประกอบด้วยกุศล ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ประกอบด้วยบารมี ที่ข้าพเจ้าได้อธิฐานไว้ สาปแช่งไว้ สัญญาไว้ ในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี
ลูกขออำนาจพระบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระรัตนตรัยและเทพพรหมทั้ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน 14 ชั้นบาดาล แม่พระธรณีได้โปรดเป็นสักขีพยาน ในการที่ลูกขอถอนคำอธิษฐานเหล่านั้น ถอนคำแช่ง ถอนคำสาป ถอนคำสาบาน ถอนคำสัญญา ร้อยหน พันหน ณ กาลบัดนี้เทอญ
ตั้งจิตให้แน่วแน่ แล้วกล่าวคาถาต่อ
นะถอน โมถอน พุทธถอน ทาถอน ยะถอน
นะคลอน โมคลอน พุทธคลอน ทาคลอน ยะคลอน
ถอนด้วย นะโมพุทธายะ นะมามิยัง
โฆษณา