1 ก.ย. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🇨🇳ผลกระทบของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวต่อไทย
🧮จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากการเติบโตที่ชะลอตัวในเดือน ก.ค. และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น
ธนาคารกลางของจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งแบบ 1 ปีและ 7 วันให้กับธนาคารพาณิชย์อย่างน่าประหลาดใจที่ 10 bps มาอยู่ที่ 2.75%/2.00% หลังตัวเลขข้อมูลกิจกรรมของผู้บริโภคและโรงงานแย่กว่าคาดในเดือน ก.ค.
ผลกระทบของเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวต่อไทย
และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 2.7% YoY อ่อนแอกว่าของเดือน มิ.ย. ที่เพิ่มขึ้น 3.1% YoY และน้อยกว่าคาดที่ 5%
ขณะที่เว็บไซต์ Trading Economics ระบุว่าราคาบ้านใหม่เฉลี่ยใน 70 เมืองใหญ่ ลดลง 0.9% YoY ในเดือน ก.ค. เทียบกับ -0.5% ในเดือน มิ.ย. ราคาบ้านใหม่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และนับเป็นการลดลงสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 2558
ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Moody's อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ของจีนมีสัดส่วนมากกว่า 25% ของ GDP การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3.8% YoY ในเดือน ก.ค. ลดลงจาก 3.9% ในเดือน มิ.ย. และน้อยกว่าคาดที่ 4.5% ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการชะลอตัวของการส่งออกของจีนในเดือนต่อๆ ไป
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจีนพุ่งสูงขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 1,664 ราย เมื่อวันที่ 14 ส.ค. และนำไปสู่การล็อกดาวน์รอบใหม่ในหลายเมืองจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนต่อไป
🧳การชะลอตัวของจีนน่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้า และ FDI ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงน่าจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
ผู้นำจีนไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเป้าการเติบโตปีนี้ที่ 5.5% จากการบังคับใช้นโยบายโควิด-19 ที่เป็นศูนย์อย่างต่อเนื่องและตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำ แนวโน้มขาลงดังกล่าวจะดำเนินต่อไปก่อนที่วัคซีน mRNA ที่ผลิตเองได้ในจีนจะพร้อมถูกใช้งาน
เราคาดว่าไทยจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการชะลอตัวของจีน การส่งออกไปจีนซึ่งคิดเป็น 12-15% ของการส่งออกของไทย ลดลง 2.7% YoY ในเดือน มิ.ย. เทียบกับ -7.3% YoY ในเดือน เม.ย. และ +3.8% YoY ในเดือน พ.ค.
การส่งออกไปยังจีนช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวเพียง 0.8% YoY เทียบกับ 25% YoY ในปี 2564 โดยมีปัจจัยฉุดที่สำคัญ ได้แก่
  • เคมีภัณฑ์
  • ชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์
  • รวมถึงผลิตภัณฑ์ยางพารา
จำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังคงต่ำที่ 2.4% ของยอดรวมในไตรมาส 2/2565 เทียบกับ 24% ในปี 2562 และเราคาดว่าจีนจะดำเนินนโยบายปลอดโควิดต่อไปและชะลอการเปิดประเทศจนกว่าชาวจีนจะมีภูมิคุ้มกันหมู่
ขณะที่ยอดการขอลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI ) สุทธิช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ลดลง -15% YoY เทียบกับ -50% YoY และจากการที่จีนเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในโลก
เราคาดว่าการชะลอตัวของจีนจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อของไทยได้ เนื่องจากราคาพลังงานโดยทั่วไปมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นมากกว่า 50%
📉กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกับสินค้าโภคภัณฑ์และผู้ส่งออกน่าจะเป็นผู้เสียประโยชน์
เราคาดว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงน่าจะเป็นแรงฉุดที่สำคัญของรายได้และอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ของกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่
กลุ่มเดินเรือและโลจิสติกส์ (PSL TTA และ RCL)
กลุ่มน้ำมันและก๊าซ (PTT และ PTTEP)
กลุ่มถ่านหิน (BANPU) และ
กลุ่มธุรกิจการเกษตร ( STA CPF และ TVO)
ขณะที่กลุ่มปิโตรเคมี (IVL PTTGC และ IRPC) น่าจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์เคมีภัณฑ์ที่ลดลงและส่วนต่างราคา เนื่องจากการส่งออกไปจีน คิดเป็น 30-50% ของการส่งของทั้ง 3 บริษัท
กลุ่มโรงกลั่นน่าจะได้รับผลกระทบจากการจำกัดค่าการกลั่น (GRM) ที่ 8-10 ดอลล่าร์สหรัฐฯ/บาร์เรล หลังมีอุปทานส่วนเกินจากจีน
ราคาเหล็กที่ลดลงจากการเบิกสต็อกสินค้าในประเทศน่าจะกดดัน GPM ของหุ้นกลุ่มปรับปรุงและซ่อมแซมบ้าน (DOHOME และ GLOBAL)
ขณะที่ HANA น่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบ เนื่องจาก 20% ของยอดขายจากจีน ผลกระทบต่อ SCGP น่าจะคละกัน หลังราคาขายที่ลดลงน่าจะถูกชดเชยด้วยอัตราค่าระวางเรือที่ลดลงเช่นกัน
#KS #KBankLive
 
เปิดพอร์ตลงทุน >> https://bit.ly/3eC98sz
⛳️Follow us :
📲 Facebook: http://bit.ly/2XwGoaa
📲 Instagram: http://bit.ly/332OqIT
📲 Twitter: http://bit.ly/344OVng
📲 YouTube: http://bit.ly/2QAdiFp
โฆษณา