Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tara Thow เปลี่ยนชีวิตให้เป๊ะปังด้วยพลังจากรูปภาพ
•
ติดตาม
1 ก.ย. 2022 เวลา 11:00 • ความคิดเห็น
อายุ 25+ เรียนรู้ยากเย็น ต้องทำแบบนี้ค่ะ
มีใครเป็นเหมือนกันมั้ยคะพออายุเยอะๆ แล้วรู้สึกว่าเรียนรู้อะไรได้น้อยลง มันรู้สึกเหมือนไม่เข้าหัว!! เมื่อก่อนทาร่าก็ไม่เข้าใจ และไม่รู้ว่าต้องทำยังไง ได้แต่โทษความแก่ของตัวเอง จนกระทั่งมาได้ยินเรื่องนี้ใน spotify ช่อง Huberman Lab ของ Dr.Andrew Huberman นักวิทยาศาสตร์สมองที่เอาเล่าเรื่องวิทยาศาสตร์ยากๆ มาย่อยให้คนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ เข้าใจได้ง่ายๆ
เค้าอธิบายไว้ว่า.. มันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า นิวโรพลาสติกซิตี (Neuroplasticity) ถ้าแปลเป็นภาษาไทยคือ เครือข่ายที่โยงใยอยู่ในสมองค่ะ
ทาร่าอยากให้ผู้อ่านหลับตาแล้วนึกภาพตามค่ะ ในสมองเรามีเซลล์เป็นร้อยเป็นพันเซลล์ และมีสิ่งที่เรียกว่า Neuroplasticity ซึ่งเป็นเส้นเครือข่ายที่โยงใยอยู่ในสมองของเรา
ในตอนที่เราเป็นเด็ก “ทุกอย่างคือความเป็นไปได้” เจ้า neuroplasticity ของเรามันก็เปรียบเสมือนเหมือนทุ่งนากว้างๆ ที่เราจะเดินจากไหนไปไหนก็ได้ จนกระทั่งเราเกิดกระบวนการเรียนรู้ เราเริ่มรู้ว่าในท้องนานั้นมันไม่ได้อุดมสมบูรณ์เท่ากันหมด
ถ้าเราอยากได้ปลาต้องไปตรงนี้นะ ถ้าเราอยากจะเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน เส้นทางที่เร็วที่สุดคือเส้นนี้นะ และเราก็เริ่มทิ้งรอยเท้าของตัวเองไว้ในนาผื้นนั้น และเหยียบย่ำไปทางเดิมทุกวัน ทุกวัน จนมันกลายเป็นเหมือนถนนเล็กๆ ขึ้นมา และก็มีพื้นที่บางส่วนที่ถูกลืมเลือนออกไปจากสติรับรู้ของเราไปโดยที่เราไม่ทันสังเกตุ
ฟันเราขึ้นครบตอนอายุ 18 ปี เราหยุดสูงตอนอายุ 18-20 ปีเหมือนกัน และหลังจากนั้นเราเริ่มกลายเป็นผู้ใหญ่ หลังจากนั้นร่างกายของเราหยุดเติบโต และพร้อมที่จะสืบพันธุ์ตอนอายุ 13-15 ปี
และนักวิทยาศาสตร์เค้าก็วิจัยมาแล้วว่าสมองที่รับผิดชอบเรื่องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ของเราก็เหมือนกันค่ะ มันจะหยุดการเรียนรู้ตอนอายุ 25 ปี (ถ้าไม่เกิดอะไรบางอย่างขึ้น) และเข้าสู่โหมดการใช้ชีวิตจริงๆ ซักที (แกเรียนมาพอแล้ว ถึงเวลาต้องไปใช้ชีวิตบ้าง!!!!)
ตอนเราเป็นเด็กน้อย สมองของเราก็เหมือนกับช่วงออกแบบเวลาจะสร้างบ้านอ่ะค่ะ มันเหมือนเราอยากสร้างบ้านสักหลังนึง แน่นอนว่าเราเริ่มจาก Draft ก่อน ในขั้นตอนนี้เรายังคุยกับสถาปนิกได้ว่า อันนี้ชอบ อันนั้นไม่ชอบ จะเพิ่มตรงนั้น จะลบตรงนี้ เราสั่งแก้ได้เพราะมันยังอยู่ในระหว่างการออกแบบ
แต่หลังจาก 25 ปีมาแล้ว มันเหมือนเราได้เซ็นต์สัญญายอมรับแบบที่ draft ไว้แล้ว (เราแก้กันมามากพอแล้ว) ฉันโอเคแล้ว ฉันแก้จนพอใจแล้ว นี่คือแบบบ้านที่เราอยากได้และจะอยู่ไปจนแก่ เราเริ่มสร้างกันเลยดีกว่า เย้ เย้
และหากเราสร้างไปซักพักแล้วเริ่มรู้สึกว่าตรงนั้นไม่ใช่ ตรงนี้ยังไม่ชอบ การที่เราจะไปแก้หน้างานมันยากกกกกกกกก!! อยู่ดีๆ จะย้ายห้องน้ำจากชั้น 2 ไปไว้ชั้น 1 แบบมันก็กระทบกับท่อน้ำอีก กันน้ำที่ปูไว้ชั้น 2 ก็จะเสียเปล่า ตรงชั้น 1 ก็ต้องไปปูกั้นน้ำเพิ่มอีกรอบ พอจะนึกภาพออกมั้ยคะ เพราะมันไม่ตรงกับ draft ที่เราเตรียมไว้
ในชีวิตจริงเราก็เหมือนกันค่ะ ถ้าเราเชื่อว่าคนจะรวยได้ต้องทำงานหนักมากๆๆๆๆ มาวันนึงเราอยากจะรวยโดยที่ไม่ต้องทำงานหนัก มันก็จะไปพังตรงนั้น พังตรงนี้ (และมักจะจบไม่สวย) เพราะสมองของเราไม่เข้าใจเรื่องนี้ และไม่ได้มีข้อมูลในการเรื่องนี้มาก่อน มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีมาตลอด 25 ปีแรกของชีวิต
2
Credit:Pixabay
และมันจะเป็นแบบนี้กับทุกๆ เรื่องที่เราพยายามจะเรียนรู้ ทั้งดนตรี กีฬา ภาษาใหม่ รวมไปถึงทัศนคติที่มีต่อผู้คน ความรัก ความสุข ครอบครัว งาน เงิน ความมั่งคั่ง มั่นคงในชีวิตด้วยเหมือนกัน… เรื่องไหนที่มันใหม่ เราจะรู้สึกฝืนไปหมด เพราะเจ้า neuroplasticity ของเรามันมีทางลัด ทางตรง ทางที่มันใช้บ่อยๆ ของมันอยู่แล้ว
ซึ่งเรื่องนี้ Dr Andrew เค้าแนะนำไว้ว่า.. วิธีที่เราจะสั่งเจ้า neuroplasticity ของเราให้เปิดรับข้อมูลใหม่ๆ และเรียนรู้เส้นทางใหม่ๆ สร้าง link ใหม่ๆ ในสมองของเราได้ต้องทำแบบนี้ค่ะ
1. ฝืนมันไปเรื่อยๆ ฝืนไปจนเรารู้สึกหงุดหงิด และเมื่อไหร่เราหงุดหงิด สมองของเราจะกลับมาตื่นตัวอีกครั้งว่า เอ้ย!! มันมีอะไรไม่ถูกต้อง เอ้ย!! อะไรกำลังเกิดขึ้นกับชีวิตเรา?? มันเหมือนการที่เราสร้างบ้านไปซักพักแล้วอ่านแพลนไม่รู้เรื่องอ่ะ เราจะกลับไปหาสถาปนิกอีกครั้งเพื่อถามว่า.. ตรงนี้แกเขียนไว้ว่าอะไรนะ?? แกเขียนมาผิดรึเปล่า??
2. ฝืนจนเลยจุดหงุดหงิดไปอย่างน้อย 10 นาที มันอาจจะฟังดูแปลกๆ หน่อยนะคะ แต่ช่วงเวลาที่สมองเรารับข้อมูลใหม่ได้ดีที่สุดเกิดขึ้นในตอนที่เราหงุดหงิดนั่นแหละ คนส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องนี้แล้วหยุดไป ไอ้เรื่องใหม่ที่พยายามเรียนรู้อยู่ก็เลยไม่เข้าหัวซักที ครั้งหน้าลองใหม่นะคะ หลังจากหงุดหงิดแล้วให้ฝืนต่อไปอีก 10 นาที แล้วคุณจะแปลกใจกับผลลัพธ์ที่ได้ 😎
2
Dr.Andrew Huberman
เพื่อนๆ อ่านแล้วคิดยังไง มาแชร์ความเห็นกันได้นะคะ ส่วนตัวทาร่าชอบเรื่องนี้มากๆ (ชอบ Dr. Andrew แหละ เค้าพูดอะไรก็น่าสนุกไปหมด) และพอเอามาปรับใช้ในชีวิตตัวเองก็รู้สึกว่าอะไรๆ มันเข้าหัวได้มากขึ้นจริงๆ ด้วยค่ะ
🤗🤗🤗🤗🤗
เกี่ยวกับเรา
Tara Thow อ่านว่า ทาร่า โถว เป็นมนุษย์แม่ลูกสองอยู่ที่ซิดนีย์ สนใจศาสตร์พัฒนาตัวเอง ปรัชญา ธุรกิจ ครอบครัว รักเสียงเพลง ไวน์แดง และนิยาย
#โค้ชชิ่งด้วยNLPสะกดจิตบำบัดเส้นเวลาบำบัด
#เวิร์กช็อปกฎแรงดึงดูดสูตรวิทยาศาสตร์สมอง
#คอร์สธุรกิจออนไลน์เริ่มง่ายไม่ต้องใช้เงินทุน
#หนังสือเปลี่ยนชีวิตให้เป๊ะปังด้วยพลังจากรูปภาพ
#สอนภาษาไทยให้เด็กๆที่เกิดต่างประเทศ
#อบรมครูสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ
💞 💞💞💞💞
ช่องทางในการติดตามเราจ้าา.. 😘
Facebook:
https://www.facebook.com/pagetarathow
IG: tarathow
Youtube:
https://www.youtube.com/c/TaraThow
Blockdit 1: มนุษย์แม่ลูกสองจากเมืองซิดนีย์ By Tara Thow
Blockdit 2: จุด by Tara Thow
Twitter: @tarathow
Blogspot:
tarathow.blogspot.com
Tiktok: @tarathow
Line: @tarathow
พัฒนาตัวเอง
แนวคิด
สุขภาพ
บันทึก
3
4
1
3
4
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย