Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Walailak Songsiri
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2022 เวลา 15:00 • ประวัติศาสตร์
ตั้งแต่ไปทำงานที่ยี่สาร ไปพบชิ้นส่วนภาชนะในชั้นดินและภาชนะแบบเต็มใบจากเตาบ้านบางปูน ซึ่งละแวกบางปูนนั้นก็สำคัญ ในบริบทของพื้นที่ริมแม่น้ำสุพรรณ เป็นกลุ่มฮินดูที่อยู่นอกเมือง
ลวดลายบนไหล่โอ่งขนาดใหญ่ จากโคกพริก ริมคลองแม่น้ำอ้อม ราชบุรี
ไปทำงานทางคาบสมุทร พบว่าเตาบางปูนถูกนำไปใช้งานตามหัวเมืองหรือชุมชนสำคัญๆ เช่นที่ทะเลสาบ มีทั้งทางวัดเขียนและเขาเมืองฯ ที่น่าจะเป็นรุ่นแรกเริ่มก่อนการกลับมาใช้งานช่วงอยุธยาปลาย พอมาเช็คกับแหล่งเรือจมก็พบว่าเรือสมัยหมิงแรกๆ ที่ลักลอบเดินทางออกมาค้าขายและเป็นเรือลูกผสมก็มักมีตุ่มจากเตาบางปูนเป็นภาชนะใส่สิ่งของอื่นๆ นอกเหนือไปจากน้ำจืด เช่น งาช้าง
แสดงถึงรุ่นหมิงต้นๆ นั้นคงใช้งานกันมานานพอสมควรแล้ว ด้วยความโดดเด่น การทำภาชนะเนื้อหนามาก แต่เผาแกร่งมากทั้งชิ้น ต้องทำในอุณหภูมิสูง เร่งไหตามช่องที่อาจจะไม่ใช่แค่เตาประทุน ควรมีการเร่งไฟตามด้านข้างด้วย วิธีแบบนี้ เตามังกรที่ใช้ตามแนวลาดเนินหรือบริเวณตลิ่งชันๆ ก็สามารถทำได้ดี น่าเสียดายที่การขุดค้นหรือทำงานโบราณคดีมีหลายรอบ แต่ข้อมูลก็ยังไม่เพียงพอจะมีข้อเสนอที่น่าสนใจ
ด้วยความเดา เราคิดนี่เป็นตัวกุญแจไขสู่ความคิดอะไรบางอย่าง ในยุคการค้าทางทะเลและเทคโนโลยีไหลสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งผู้คนชาวจีน (ใต้?) ที่นำเทคโนโลยีเข้ามา และอาจจะเป็นกลุ่มคนในรุ่นที่ทำให้เกิดตำนานเรื่องตาม่องไล่ทั้งบนบกและในห้วงท้องทะเล เจ้าอู่ พ่อค้าใหญ่ที่เดินทางไปทั่วลุ่มเจ้าพระยาและชายฝั่งทะเล
แม่กลองนั้นสำคัญ ทางเข้าคือบางตะบูนสู่เส้นทางแม่น้ำอ้อมสายใน และน่าจะขึ้นเหนือไปที่แม่น้ำสุพรรณได้ทางใดทางหนึ่งตามคลองขุดลัด กลุ่มเตาอยู่แถบนี้ แล้วไปทางลำน้ำที่ใช้ตัดข้ามไปยังลุ่มน้ำน้อยและสีบัวทองในกลุ่มสรรคบุรี กลุ่มนี้ต่อเนื่องไปสืบกับกลุ่มเมืองทวารวดีคู่กันได้จนถึงปากน้ำโพ แยกออกไปทางแม่น้ำยมทางเชียงไกรหรือลำน้ำน่านก็ได้
จากโคกพริก แควแม่น้ำอ้อม ราชบุรี
สินค้าสังคโลกในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่กำลังเฟื่องก็ลงมาทางเส้นทางเหล่านี้ และในช่วงนั้นผ่านการควบคุมที่กรุงศรีอยุธยา ที่กำลังจะกลายเป็นอาณาจักรรวมศูนย์ได้แล้วอีกภายในไม่กี่ปี
เตาและเครื่องปั้นดินเผาใหญ่ๆ แปลกๆ นี้เป็นนวัตกรรมในสมัยนั้น เพราะไม่เห็นมีที่ไหนทำได้ดีขนาดนี้ และใช้ต่อเนื่องถ้าไม่แตกไปก่อนก็หลายร้อยปีได้สบายๆ เคยมีผู้ไปพบถึงริวกิวในญี่ปุ่นและในเวียดนาม และนำไปใช้ในเรือต่างๆ จนถึงรุ่นหมิงต้นๆ ตามที่กล่าวไป
และเป็นสิ่งที่ยืนยันการมีอยู่ของบ้านเมืองในกึ่งกลาง จะว่าเป็นพวกเจนลีฟู ก็ไม่ผิดไปนัก น่าจะร่วมสมัยกัน เอาเข้าจริงๆ คิดว่าหลังซ่งใต้ และอยู่ในช่วงราชวงศ์หยวนจากจีนที่พยายามขยายอำนาจสู่หนานไห่ในหลายๆ ทาง เมื่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙
จากวัดเขาเมือง พัทลุง
บ้านเมืองตั้งแต่ล้านนา กลุ่มสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย สระหลวง-สองแคว ชัยนาท-สรรคบุรี มาจนถึงลพบุรี-สุพรรณภูมิ ราชบุรี-เพชรบุรี ก็กำลังสิ่งประกายกันคึกคัก
รวมถึงบ้านเมืองทางคาบสมุทร ที่เป็นกลุ่มเมืองท่าเก่าแก่อยู่แล้ว และสัมพันธ์กับการค้าแร่ธาตุ งาช้าง ฯลฯ กลุ่มทางเมืองสทิงพระและนครฯ มีแหล่งเตาทำกุณฑีแถบคลองปะโอ สทองพระก็พบว่าเป็นสินค้าส่งไปยังหมู่เกาะต่างๆ
จากวัดเขียน บางแก้ว พัทลุง
ความคึกคักในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ น่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เปลี่ยนภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองได้ชัดเจนมาก
ท่องเที่ยว
หนังสือ
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย